Custom Search
November 1, 2009
วิศวกรนักบริหารกับบรรษัทภิบาล (Engineer With Corporate governance:CG)
วันนี้ผมจะนำเรื่องที่ค่อนข้างเป็นวิชาการมาเล่าสู่เพื่อนๆ ให้ได้ทราบกัน สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมาก เพราะว่า ณ ตอนนี้ผมทำงานในระดับปฏิบัติการ เป็นส่วนใหญ่ คงอีกนานครับกว่าจะทำงานในระดับนโยยบาย (ไม่แน่ใจว่าอยู่ถึงหรือเปล่า) แต่คิดไปมาแล้ว รู้ไว้ก็คงไม่เสียหายครับ ยิ่งหากทำงานเกี่ยวกับราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ยิ่งสำคัญ แต่ที่นำมานี้เป็นของคนอื่นนะครับ ยังไม่ใด้สรุปเอง
ในโลกปัจจุบัน คำว่า “บรรษัทภิบาล หรือ Corporate Governance" หรือที่เรียกสั้นว่า CG กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงและได้รับความสำคัญมากขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ไม่เฉพาะแต่เพียงในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย (ไหนบอกว่าพัฒนาแล้วไง) แต่รวมไปถึงประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่องของการทุจริต การคอรัปชั่น การจงใจบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร หรือการบริหารจัดการที่ผิดพลาดของบริษัทขนาดใหญ่เกิดขึ้น และได้รับการเปิดเผยออกมาเป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ บริษัท เอนรอน หรือ บริษัท เวิลด์คอม ซึ่งส่งผลให้เกิดการล้มละลายของธุรกิจ คิดเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งยังไม่มีสิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น ในอนาคตอันใกล้ ยิ่งเป็นสิ่งที่ย้ำให้เห็นความสำคัญของบรรษัทภิบาลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า บรรษัทภิบาล จะเพิ่งมามีความสำคัญในระยะที่สังคมและเศรษฐกิจกำลังมีวิกฤติการณ์ (Crisis) เกิดขึ้นเท่านั้น เพียงแต่ว่า เมื่อวิกฤติการณ์เกิดขึ้น บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็มักจะมีการเรียกร้องให้มีการดูแลจัดการในองค์กรที่ดี ซึ่งดูแล้วก็อาจจะเปรียบได้เหมือนกรณีของวัวหายแล้วล้อมคอก ซึ่งน่าจะเป็นการดีกว่าถ้าจะมองว่าบรรษัทภิบาลคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกองค์กร ในทุกๆเวลา และทุกๆสังคม
เนื่องจากการขยายตัวของกิจการจากธุรกิจครอบครัว หรือการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากรัฐวิสาหกิจแล้วแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน เป็นสิ่งที่ถือได้ว่าเป็นวัฏจักรของธุรกิจโดยทั่วไปที่เมื่อมีการเจริญเติบโตขึ้น ก็มีความต้องการเงินทุนเพิ่มมากขึ้นจากแหล่งเงินทุนภายนอกของกิจการ หรือการที่ธุรกิจขยายใหญ่ขึ้นก็ทำให้ธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น จำต้องมีการจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาบริหารกิจการ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทางใดก็แล้วแต่ ก็จะก่อให้เกิดกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจมากขึ้น (Stakeholders) ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้ก็อาจจะมีความต้องการหรือผลประโยชน์ที่ไม่สอดคล้องกัน (Conflict of Interest)
ซึ่งจากการที่เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะการสื่อสารโทรคมนาคมเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิด Globalization ซึ่งทำให้โลกทางด้านธุรกิจมีขนาดเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน ในขณะเดียวกันธุรกิจต่างๆก็พากันขยายตัวใหญ่ขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงมีการเพิ่มขึ้นของการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการที่จะต้อง มีระบบการจัดการ กำกับดูแลที่ดี เนื่องจากว่าธุรกิจหนึ่งๆ ก็เปรียบได้กับประเทศหนึ่งที่ต้องมีการปกครอง ควบคุมดูแล เพื่อให้คนในประเทศนั้นๆ และบุคคลอื่นๆ เกี่ยวข้องได้รับการคุ้มครองเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบรรษัทภิบาลไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว หรือเป็นสิ่งที่กล่าวถึงเฉพาะในเชิงวิชาการเท่านั้น แต่บรรษัทภิบาลเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบกับทุกๆคนในสังคม เนื่องจากว่าคนเราทุกคนในสังคมก็ต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นเจ้าของของกิจการ เจ้าหนี้ของกิจการ คู่ค้าของกิจการ ลูกค้าของกิจการ พนักงานของกิจการ รวมถึงบุคคลต่างๆในสภาพแวดล้อมนั้นๆ ที่กิจการได้ตั้งอยู่ ซึ่งเราสามารถเรียกรวมกันได้ว่า กลุ่มบุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร (Stakeholders)
ในปัจจุบัน คำว่า Corporate Governance หรือ “การกำกับดูและกิจการ” ตามที่กล่าวมาในขั้นต้นนั้น มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย และถือว่าเป็นประเด็นที่ประสบความสำเร็จในการที่จะเป็นจุดสนใจของประชาชน(Public Interest) และนักวิชาการ ตลอดจนนักลงทุนต่างๆเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่มีบทบาทชัดเจนและมีความสำคัญต่อสถานภาพความแข็งแกร่งขององค์กรและสังคมต่างๆ โดยรวม ทั้งนี้ นักวิชาการ นักวิเคราะห์ หน่วยงานต่างๆ ต่างพยายามที่อธิบายคำว่า Corporate Governance หรือ “การกำกับดูและกิจการ” นี้ แต่ก็มักจะพบว่า การให้ความหมายมักจะเป็นการนิยามในลักษณะกว้างและพยายามครอบคลุมในหลายๆประเด็น ทำให้คำนิยามของคำว่า Corporate Governance หรือ “การกำกับดูและกิจการ” มีหลากหลายความหมาย ซึ่งนอกจากจะไม่มีความชัดเจนแล้ว ในบางครั้ง ยังสะท้อนกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือประเด็นที่นักวิเคราะห์ หรือหน่วยงานนั้นๆ สนใจเป็นพิเศษเท่านั้น ดังนั้น ทางกลุ่มจึงรวบรวม และคัดเลือกมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้ได้เห็นถึงมุมมองในหลายๆ ด้าน ดังนี้ (เป็นภาษาประกิดนะ)
Corporate governance is about “the whole set of legal, cultural, and institutional arrangements that determine what public corporations can do, who controls them, how that control is exercised, and how the risks and return from the activities they undertake are allocated.”- Margaret Blair, Ownership and Control: Rethinking Corporate Governance for the Twenty-First Century , 1995.
Corporate governance is the relationship among various participants [chief executive officer, management, shareholders, employees] in determining the direction and performance of corporations”
- Monks and Minow, Corporate Governance, 1995.
Corporate governance deals with the way suppliers of finance assure themselves of getting a return on their investment.
- Shleifer and Vishny, 1997
Corporate governance is most often viewed as both the structure and the relationships which determine corporate direction and performance. The board of directors is typically central to corporate governance. Its relationship to the other primary participants, typically shareholders and management, is critical. Additional participants include employees, customers, suppliers, and creditors. The corporate governance framework also depends on the legal, regulatory, institutional and ethical environment of the community. Whereas the 20th century might be viewed as the age of management, the early 21st century is predicted to be more focused on governance. Both terms address control of corporations but governance has always required an examination of underlying purpose and legitimacy. -James McRitchie, 8/1999
“Corporate governance is the system by which business corporations are directed and controlled. The corporate governance structure specifies the distribution of rights and responsibilities among different participants in the corporation, such as, the board, managers, shareholders and other stakeholders, and spells out the rules and procedures for making decisions on corporate affairs. By doing this, it also provides the structure through which the company objectives are set, and the means of attaining those objectives and monitoring performance”, OECD April 1999. OECD’s definition is consistent with the one presented by Cadbury [1992, page 15].
The system by which companies are directed and controlled. (Sir Adrian Cadbury, The Committee on the Financial Aspects of Corporate Governance)
“Corporate governance is about promoting corporate fairness, transparency and accountability” J. Wolfensohn, president of the Word bank, as quoted by an article in Financial Times, June 21, 1999.
“Corporate Governance is concerned with holding the balance between economic and social goals and between individual and communal goals. The corporate governance framework is there to encourage the efficient use of resources and equally to require accountability for the stewardship of those resources. The aim is to align as nearly as possible the interests of individuals, corporations and society” (Sir Adrian Cadbury in ‘Global Corporate Governance Forum’, World Bank, 2000)
Corporate governance is about how companies are directed and controlled. Good governance is an essential ingredient in corporate success and sustainable economic growth. Research in governance requires an interdisciplinary analysis, drawing above all on economics and law, and a close understanding of modern business practice of the kind which comes from detailed empirical studies in a range of national systems.
- Simon Deakin, Robert Monks Professor of Corporate Governance
Corporate governance is the method by which a corporation is directed, administered or controlled. Corporate governance includes the laws and customs affecting that direction, as well as the goals for which the corporation is governed. The principal participants are the shareholders, management and the board of directors. Other participants include regulators, employees, suppliers, partners, customers, constituents (for elected bodies) and the general community. - Wikipedia
The in which a company organizes and manages itself to ensure that all financial stakeholders receive their fair share of a company’s earnings and assets. Standard and Poor’s Corporate governance is the system by which companies are directed and managed. It influences how the objectives of the company are set and achieved, how risk is monitored and assessed, and how performance is optimised. Good corporate governance structures encourage companies to create value (through enterpreneurism, innovation, development and exploration) and provide accountability and control systems commensurate with the risks involved. (ASX Principles of Good Corporate Governance and Best Practices Recommendations, 2003)
จากความหมายต่างๆ จะเห็นได้ว่า คำนิยามของ Corporate Governance มีวิวัฒนาการ จากการที่จะมองแค่การจัดการทางธุรกิจภายในองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆภายในองค์กร ก็หันมามองในด้านต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การมองด้านทรัพยากรบุคคล สังคม เป็นต้น
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment