Custom Search

November 2, 2009

การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Carbon Credit)


วันนี้ผมจะนำเสนอบทความที่เป็นวาระของโลก ณ ตอนนี้ ที่ทุกคนกำลังให้ความสำคัญเป้นอย่างมาก เรื่องอะไรเอ่ยดูกันเลย

การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Carbon Credit) เป็นการซื้อขายโดยผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ตาม พิธีสารเกียวโต หรือ Kyoto Protocol ซึ่งอยู่ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United nations Framework Convention on Climate hange: UNFCCC) เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 โดยในช่วงแรกระหว่างปี 2551-2555 ให้ประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นสมาชิก Kyoto Protocol ในกลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 1 (Annex I) มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5.2% จากปริมาณการปล่อยในปี 2533

สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็น สมาชิกในกลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 2 (Annex II) ปัจจุบันไม่มีพันธกรณีที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม พิธีสารเกียวโต มีกลไก 3 ประการที่กำหนดไว้ว่า ภาคีสมาชิกต้องดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัยหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในพิธีสารเกียวโต ได้กำหนดกลไกยืดหยุ่น (Flexibility Mechanisms) 3 กลไก ดังนี้

1. กลไกการทำโครงการร่วม (Joint Implementation: JI) กำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกันเองระหว่างประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ เรียกว่า ERUs (Emission Reduction Units)

2. กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) กำหนดให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศในกลุ่ม Non-Annex I ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ จะต้องผ่านการรับรองจึงเรียกว่า CERs (Certified Emission Reduction)

3. กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) กำหนดให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I) ที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศตามที่กำหนดไว้ได้สามารถซื้อสิทธิ์การปล่อยจากประเทศในภาคผนวกที่ 1 ด้วยกันเอง ที่มีสิทธปล่อยเหลือ (อาจเป็นเครดิตที่เหลือจากการทำโครงการ JI และ CDM หรือสิทธิ์การปล่อยที่เหลือ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจทำให้ปริมารการปล่อยในปัจจุบันน้อยกว่าปริมารการปล่อยเมื่อปี ค.ศ.1990 จึงมีสิทธิ์การปล่อยเหลือพร้อมที่จะขายได้) เราเรียกสิทธิ์ที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะขายกันนี้ว่า AAUs (Assigned Amount Units)

ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกมีพันธกรณีในการดำเนินตามกลไกพัฒนาที่สะอาด หรือ CDM ซึ่งเปิดช่องผ่านกลไกดังกล่าวให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกลุ่มประเทศในภาคผนวกที่ 1 สามารถเข้ามาดำเนินโครงการลดและเลิกปล่อยก๊าวเรือนกระจกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้ และให้นำปริมารก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้เป็น "คาร์บอนเครดิต" โดยไปหักจากจำนวนก๊าซเรือนกระจกที่มีพันธกรณีที่จะต้องลดลงในประเทศของตัวเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณกนกวรรณ วงศ์กวี กลุ่มงานคณะกรรมาธิการ การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักกรรมาธิการ 3

No comments:

Post a Comment