Custom Search
November 3, 2009
มารู้จัก "น้ำสูญเสีย" กันเถอะ ตอนที่ 1
สวัสดีเพื่อนๆ วันนี้ผมจะขอนำเสนอความรู้ที่เกี่ยวกับ น้ำสูญเสีย (Water Loss) และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องมาเล่าสู่เพื่อนๆ ได้ทราบกัน เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญที่องค์กรเกี่ยวกับการบริการน้ำให้ความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศและในประเทศ ไม่อย่างนั้นเพื่อนๆ จะตาม การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค ไม่ทัน เริ่มกันเลยแล้วกันนะครับ
"น้ำสูญเสีย" คืออะไร องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำจำกัดความว่า คือน้ำที่สูญหายไปในระบบประปาโดยไม่สามารถระบุจำนวน เวลา สถานที่ได้ หากทราบว่าหายไปที่ไหน เท่าใด แม้ว่าจะเป็นท่อรั่วก็ไม่ถือว่าเป็นน้ำสูญเสีย โดยทั่วไปน้ำสูญเสีย คือ ปริมาณน้ำจ่ายหักด้วยปริมาณน้ำที่ออกบิลและน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น น้ำใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ซึ่งสามารถวัดหรือคำนวณได้ ซึ่งมาตรการลดน้ำสูญเสีย ประกอบด้วยหลักใหญ่คือ
-มาตรการพื้นฐาน (Fundamental Measures)
-มาตรการแก้ไข (Symptomatic Measures)
-มาตรการปรับปรุงป้องกัน (Preventive Measures)
เรามาทำความรู้จักคร่าวๆ กับ 3 มาตรการข้างต้นนะครับ
มาตรการพื้นฐาน (Fundamental Measures) ได้แก่
-การเตรียมงานขั้นพื้นฐานเพื่อจัดหาและเตรียมสถิติข้อมูลต่างๆ โดยจัดทำและปรับปรุงระบบ-แผนที่ระบบท่อประปา และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความถูกต้องของอุปกรณ์เครื่องวัดต่างๆ
-การตรวจสอบสภาพที่แท้จริงของแต่ละพื้นที่ โดยการหาปริมาณหรืออัตราการรั่วไหล ในระบบจ่ายน้ำและวัดแรงดันน้ำรอบพื้นที่
-ศึกษาเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานลดน้ำสูญเสียให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ศึกษาวิธีการและเทคนิคในการตรวจหาท่อรั่วใต้ดิน วิธีการซ่อมท่อ และขั้นตอนเพื่อการปรับปรุงท่อ ฯลฯ เป็นต้น
มาตรการแก้ไข (Symptomatic Measures) ได้แก่
-การสำรวจหาท่อรั่ว ทั้งบนดินและใต้ดิน โดยใช้เครื่องมือสำรวจหาท่อรั่วและบุคลาการที่มีประสิทธิภาพ
-ซ่อมท่อและอุปกรณ์ท่อที่ชำรุดแตกรั่ว
มาตรการปรับปรุงป้องกัน (Preventive Measures) ได้แก่
-ปรับปรุง/เปลี่ยนระบบท่อที่ชำรุดหมดสภาพการใช้งานออกจากระบบ
-ปรับปรุงระบบแผนที่ และจัดทำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อให้สามารถวางแผนและดำเนินงานลดน้ำสูญเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-ควบคุมการสูบจ่ายน้ำให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำที่แท้จริงในแต่ละช่วงเวลา
-จัดทำแบบจำลองระบบโครงข่ายระบบท่อประปา (Network Model) เพื่อให้สามารถวิเคราะหืปริมาณ แรงดัน และทิศทางการไหลของระบบท่อประปาในขอบเขตพื้นที่ดำเินินงาน และนำไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจ่ายนำ้ในอนาคต
-ติดตั้งระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบนำ้สูญเสีัยแบบพื้นที่ย่อย (District Metering Area : DMA) รวมทั้งประตูน้ำลดแรงดัน (Pressure Reducing Valve : PRV) ในจุดที่เหมาะสม
-ตรวจสอบมาตรผู้ใช้น้ำ
-ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจในการลดน้ำสูญเสีย
การดำเนินงานโดยทั่วไปเพื่อลดน้ำสูญเสีย จะประกอบด้วยการดำเนินงานดังนี้
1. ปรับปรุงท่อที่ชำรุดหมดสภาพการใช้งาน
2. สำรวจหาท่อรั่วใต้ดินปีละ 2 รอบ ของพื้นที่ให้บริการ
3. เร่งรัดงานซ่อมท่อแตกรั่วให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับแจ้งจุดแตกรั่ว
4. หากพื้นที่จ่ายน้ำมีขนาดใหญ่ ให้นำระบบพื้นที่เฝ้าระวังตรวจสอบน้ำสูญเสีย (District Metering Area : DMA) มาใช้งาน โดยการแบ่งพื้นที่จ่ายน้ำ ออกเป็นพื้นที่ย่อยๆ แล้วติดตั้งอุปกรณ์เพื่อวัดน้ำเข้า/น้ำออก/แรงดันน้ำ จากนั้นจึงส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านเครื่องส่งสัญญาณระยะไกลไปยังห้องควบคุมการ ปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้สามารถทราบอัตราการไหลตลอดจนแรงดันน้ำในแต่ละพื้นที่ได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงสามารถทราบอัตราการสูญเสียของน้ำประปา ในแต่ละพื้นที่ย่อยได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้การสำรวจ/ซ่อมท่อแตกรั่วมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://202.129.59.73/tn/october08/namloss.htm
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment