Custom Search

November 4, 2009

มารู้จัก "น้ำสูญเสีย" กันเถอะ ตอนที่ 2

ILI หรือ Infrastructure Leakage Index คือ ตัวชี้วัดตัวสำคัญ (KPI หรือ Key Performance Indicators) ที่สุดที่ IWA* และการประปาทั่วโลก ยอมรับให้ใช้ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลดน้ำสูญเสียระหว่าง DMA ซึ่ง ILI เป็นค่าไม่มีหน่วย หาได้จากการนำปริมาณน้ำสูญเสียที่เกิดขึ้นจริงใน DMA สำหรับช่วงเวลาหนึ่ง (เช่น หนึ่งปี) มาเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำสูญเสียที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเอาปริมาณน้ำสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง หารด้วย ปริมาณน้ำสูญเสียที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น DMA ที่มีค่า ILI ต่ำ จึงเป็น DMA ที่มีประสิทธิภาพในการลดน้ำสูญเสียสูง

ความพยายามในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลดน้ำสูญเสีย เริ่มจากตัวชี้วัดที่เรียกว่า NRW หรือ Non Revenue Water ซึ่งก็คือปริมาณน้ำที่ผลิตแต่ไม่ได้ขาย ปริมาณน้ำจำนวนนี้วัดง่ายแต่ไม่ตรงจุด กล่าวคือ NRW ผนวกน้ำสูญเสียที่ไม่ใช่น้ำสูญเสียจริง ได้แก่ น้ำที่จ่ายให้ผู้ใช้แต่ไม่มีใบรับ น้ำที่ถูกขโมย น้ำสูญเสียที่เกิดจากมาตรผิดพลาด (สองส่วนนี้รวมกันเรียกว่า Apparent Losses) ต่อมา ความนิยมในการใช้ NRW จึงเปลี่ยนไปเป็น UFW หรือ Unaccounted for Water ซึ่งก็คือปริมาณที่ตกสำรวจ แต่ปริมาณน้ำจำนวนนี้ ก็ยังไม่ใช่ปริมาณน้ำสูญเสียจริง เพราะไม่ได้หักน้ำที่ถูกขโมย และน้ำสูญเสียที่เกิดจากมาตรผิดพลาด UFW วัดได้ง่าย ด้วยการนำน้ำทั้งที่ออกใบรับและไม่ออกใบรับมารวมกัน แล้วหักออกจากน้ำที่ส่งให้กับ DMA (วัดโดยมาตร หรือ DM) ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำสูญเสียที่ กปน. ใช้เรียกในปัจจุบัน คือ ค่า UFW หารด้วยน้ำที่ส่งให้กับ DMA

ปริมาณน้ำสูญเสียจริง (Real Losses หรือน้ำสูญเสียทางเทคนิค) ได้จากการหัก Apparent Losses ออกจาก UFW ปริมาณน้ำสูญเสียจริง สะท้อนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน DMA ได้ดีกว่า NRW และ UFW ปริมาณน้ำสูญเสียจริง มีอีกชื่อหนึ่งว่า CARL (Current Annual** Real Losses) แต่เนื่องจาก DMA แต่ละอันมีขนาดไม่เท่ากัน การนำปริมาณน้ำสูญเสียจริงมาเปรียบเทียบระหว่าง DMA จึงไม่สะท้อนประสิทธิภาพในการลดน้ำสูญเสียในแต่ละ DMA ทำให้มีความจำเป็นต้องเปรียบเทียบปริมาณน้ำสูญเสียจริงกับปริมาณน้ำสูญเสียที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของ แต่ละ DMA ปริมาณน้ำสูญเสียที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นี้มีชื่อว่า UARL (Unavoidable Annual Real Losses) จึงเป็นที่มาของค่า ILI = CARL หารด้วย UARL หรือ LLI = CARL/UARL เกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างค่า ILI กับประสิทธิภาพการลดน้ำสูญเสียของ IWA เป็นดังนี้ (ILI = 1 ดีมาก, ILI = 5 สูงสุดต้องปรับปรุงการจัดการน้ำสูญเสีย) แต่เกณฑ์นี้ใช้ไม่ได้กับพื้นที่บริการที่มีลักษณะพิเศษ เช่น มีปัญหาแผ่นดินทรุด หรือสภาพการจราจรหนาแน่น

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไร ผมจะนำเสนออีกครั้งนะครับ หากเพื่อนๆ ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม เชิญเข้าไปที่
http://www.mwa.co.th หรือโทร 1125 ก็ได้นะครับ

* International Water Association เป็นสมาคมนานาชาติ ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
** คำว่า Annual แปลว่า ประจำปี แต่ในความหมายที่อธิบายนี้ หมายถึงช่วงเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งเดือน สองเดือน ก็ได้

November 3, 2009

มารู้จัก "น้ำสูญเสีย" กันเถอะ ตอนที่ 1


สวัสดีเพื่อนๆ วันนี้ผมจะขอนำเสนอความรู้ที่เกี่ยวกับ น้ำสูญเสีย (Water Loss) และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องมาเล่าสู่เพื่อนๆ ได้ทราบกัน เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญที่องค์กรเกี่ยวกับการบริการน้ำให้ความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศและในประเทศ ไม่อย่างนั้นเพื่อนๆ จะตาม การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค ไม่ทัน เริ่มกันเลยแล้วกันนะครับ

"น้ำสูญเสีย" คืออะไร องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำจำกัดความว่า คือน้ำที่สูญหายไปในระบบประปาโดยไม่สามารถระบุจำนวน เวลา สถานที่ได้ หากทราบว่าหายไปที่ไหน เท่าใด แม้ว่าจะเป็นท่อรั่วก็ไม่ถือว่าเป็นน้ำสูญเสีย โดยทั่วไปน้ำสูญเสีย คือ ปริมาณน้ำจ่ายหักด้วยปริมาณน้ำที่ออกบิลและน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น น้ำใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ซึ่งสามารถวัดหรือคำนวณได้ ซึ่งมาตรการลดน้ำสูญเสีย ประกอบด้วยหลักใหญ่คือ
-มาตรการพื้นฐาน (Fundamental Measures)
-มาตรการแก้ไข (Symptomatic Measures)
-มาตรการปรับปรุงป้องกัน (Preventive Measures)
เรามาทำความรู้จักคร่าวๆ กับ 3 มาตรการข้างต้นนะครับ

มาตรการพื้นฐาน (Fundamental Measures) ได้แก่
-การเตรียมงานขั้นพื้นฐานเพื่อจัดหาและเตรียมสถิติข้อมูลต่างๆ โดยจัดทำและปรับปรุงระบบ-แผนที่ระบบท่อประปา และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความถูกต้องของอุปกรณ์เครื่องวัดต่างๆ
-การตรวจสอบสภาพที่แท้จริงของแต่ละพื้นที่ โดยการหาปริมาณหรืออัตราการรั่วไหล ในระบบจ่ายน้ำและวัดแรงดันน้ำรอบพื้นที่
-ศึกษาเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานลดน้ำสูญเสียให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ศึกษาวิธีการและเทคนิคในการตรวจหาท่อรั่วใต้ดิน วิธีการซ่อมท่อ และขั้นตอนเพื่อการปรับปรุงท่อ ฯลฯ เป็นต้น

มาตรการแก้ไข (Symptomatic Measures) ได้แก่
-การสำรวจหาท่อรั่ว ทั้งบนดินและใต้ดิน โดยใช้เครื่องมือสำรวจหาท่อรั่วและบุคลาการที่มีประสิทธิภาพ
-ซ่อมท่อและอุปกรณ์ท่อที่ชำรุดแตกรั่ว

มาตรการปรับปรุงป้องกัน (Preventive Measures) ได้แก่
-ปรับปรุง/เปลี่ยนระบบท่อที่ชำรุดหมดสภาพการใช้งานออกจากระบบ
-ปรับปรุงระบบแผนที่ และจัดทำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อให้สามารถวางแผนและดำเนินงานลดน้ำสูญเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-ควบคุมการสูบจ่ายน้ำให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำที่แท้จริงในแต่ละช่วงเวลา
-จัดทำแบบจำลองระบบโครงข่ายระบบท่อประปา (Network Model) เพื่อให้สามารถวิเคราะหืปริมาณ แรงดัน และทิศทางการไหลของระบบท่อประปาในขอบเขตพื้นที่ดำเินินงาน และนำไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจ่ายนำ้ในอนาคต
-ติดตั้งระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบนำ้สูญเสีัยแบบพื้นที่ย่อย (District Metering Area : DMA) รวมทั้งประตูน้ำลดแรงดัน (Pressure Reducing Valve : PRV) ในจุดที่เหมาะสม
-ตรวจสอบมาตรผู้ใช้น้ำ
-ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจในการลดน้ำสูญเสีย

การดำเนินงานโดยทั่วไปเพื่อลดน้ำสูญเสีย จะประกอบด้วยการดำเนินงานดังนี้
1. ปรับปรุงท่อที่ชำรุดหมดสภาพการใช้งาน
2. สำรวจหาท่อรั่วใต้ดินปีละ 2 รอบ ของพื้นที่ให้บริการ
3. เร่งรัดงานซ่อมท่อแตกรั่วให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับแจ้งจุดแตกรั่ว
4. หากพื้นที่จ่ายน้ำมีขนาดใหญ่ ให้นำระบบพื้นที่เฝ้าระวังตรวจสอบน้ำสูญเสีย (District Metering Area : DMA) มาใช้งาน โดยการแบ่งพื้นที่จ่ายน้ำ ออกเป็นพื้นที่ย่อยๆ แล้วติดตั้งอุปกรณ์เพื่อวัดน้ำเข้า/น้ำออก/แรงดันน้ำ จากนั้นจึงส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านเครื่องส่งสัญญาณระยะไกลไปยังห้องควบคุมการ ปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้สามารถทราบอัตราการไหลตลอดจนแรงดันน้ำในแต่ละพื้นที่ได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงสามารถทราบอัตราการสูญเสียของน้ำประปา ในแต่ละพื้นที่ย่อยได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้การสำรวจ/ซ่อมท่อแตกรั่วมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://202.129.59.73/tn/october08/namloss.htm

November 2, 2009

มาทำความรู้จักกับ Carbon Credit ในเบื้องต้นกันดีกว่า (ต่อ)


"คาร์บอน เครดิต" หมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันดิน (Fossil Fue) ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือยานยนต์ รวมถึงก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Green House Gas) เช่น ก๊าซมีเทน (CH4) ที่เกิดจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ อันเป็นสาเหตุภาวะโลกร้อน (Global Warming) หากประเทศที่พัฒนาแล้วไม่สามารถลดมลพิษของตนได้อีกต่อไป ก็ต้องใช้วิธีช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อลดได้จะกลายเป็นคาร์บอนเครดิตของตนเองทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินค่าปรับ เช่น การปลูกป่าไม้ 2.5 ไร่ สามารถเก็บคาร์บอนเครดิตได้ 2 ตัน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนน้ำมัน 1 หน่วย จะได้เครดิตประมาณ 0.6 กิโลกรัม ซึ่งขณะนี้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ให้ดีขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุล (นาโนเทคโนโลยี) มาประยุกต์ใช้

ปัจจุบัน ประเทศไทยค่อนข้างตื่นตัวกับการพัฒนาโครงการรวมทั้งความพยายามสร้างโครงการเพื่อรองรับการซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังจะเห็นได้จากมีบริษัทเอกชนหลายแห่งเริ่มโครงการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าขอนแก่นในเครือ KSL เครือปูนซีเมนต์ไทย หรือกลุ่มบริษัทมิตรผลที่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติให้สามารถซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้แล้ว และในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีองค์กรมหาชน ชื่อว่า "องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) พ.ศ.2550" (Thailand Greenhouse Gas Management Organization, TGO) หรือ ที่มีชื่อย่อว่า อบก. มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจุกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดรวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับรอง รวมถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลดำเนินงานและให้การสนับสนุนการดำเนินการด้านก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

ตอนที่ 4 CSR ทำอย่างไร


หลักการที่สำคัญในการทำ CSR นั้นควรตั้งอยู่บนหลักการพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันต้องไม่เบียดเบียนสังคมที่อยู่ร่วมกัน สำหรับแนวปฏิบัติในเรื่อง CSR นั้น แบ่งเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่

1. การกำกับดูแลกิจการที่ดี : การจัดให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม : ดำเนินธุรกิจโดยให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ที่อาจได้มาจากการดำเนินงานที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

3. การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม : ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้พนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการยกระดับหรือเพิ่มพูนทักษะในการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น

4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค : สินค่าและบริการของธุรกิจไม่ควรก่อให้เกิดความเสี่ยงหรืออันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ควรปรับปรุงมาตรฐานสินค้าและการบริการให้มีความเป็นสากล

5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม : ภาคธุรกิจควรมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคมที่อยู่โดยรอบ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

6. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม : การจัดให้มีระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อม และควรศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบตลอดจนต้องมีการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

7. การเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม : สามารถนำแนวคิด CSR ไปประยุกต์รวมกับการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ โดยการพัฒนาความรู้จากประสบการ์การดำเนินงานด้าน CSR นำมาปรับใช้และคิดค้นให้เกิดนวัตกรรมของธุรกิจ ซึ่งสามารถขยายผลให้กับองค์กรอื่นๆ ได้อีกด้วย

8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม : ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติตามแนวทาง

CSR หรือทั่วไปนิยมเรียกว่า รายงานความยั่งยืน (Sustainability report) รวมทั้งจัดให้มีช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลที่หลากหลายเพื่อมั่นใจได้ว่าจะสามารถสื่อข้อมูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คุณเรืองฤทธิ์ ไชยสิงห์ ฝ่ายวิศวกรรมและเทคนิค บริษัท เอส ซี จี ซิเมนต์ จำกัด

การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Carbon Credit)


วันนี้ผมจะนำเสนอบทความที่เป็นวาระของโลก ณ ตอนนี้ ที่ทุกคนกำลังให้ความสำคัญเป้นอย่างมาก เรื่องอะไรเอ่ยดูกันเลย

การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Carbon Credit) เป็นการซื้อขายโดยผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ตาม พิธีสารเกียวโต หรือ Kyoto Protocol ซึ่งอยู่ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United nations Framework Convention on Climate hange: UNFCCC) เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 โดยในช่วงแรกระหว่างปี 2551-2555 ให้ประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นสมาชิก Kyoto Protocol ในกลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 1 (Annex I) มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5.2% จากปริมาณการปล่อยในปี 2533

สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็น สมาชิกในกลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 2 (Annex II) ปัจจุบันไม่มีพันธกรณีที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม พิธีสารเกียวโต มีกลไก 3 ประการที่กำหนดไว้ว่า ภาคีสมาชิกต้องดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัยหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในพิธีสารเกียวโต ได้กำหนดกลไกยืดหยุ่น (Flexibility Mechanisms) 3 กลไก ดังนี้

1. กลไกการทำโครงการร่วม (Joint Implementation: JI) กำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกันเองระหว่างประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ เรียกว่า ERUs (Emission Reduction Units)

2. กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) กำหนดให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศในกลุ่ม Non-Annex I ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ จะต้องผ่านการรับรองจึงเรียกว่า CERs (Certified Emission Reduction)

3. กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) กำหนดให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I) ที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศตามที่กำหนดไว้ได้สามารถซื้อสิทธิ์การปล่อยจากประเทศในภาคผนวกที่ 1 ด้วยกันเอง ที่มีสิทธปล่อยเหลือ (อาจเป็นเครดิตที่เหลือจากการทำโครงการ JI และ CDM หรือสิทธิ์การปล่อยที่เหลือ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจทำให้ปริมารการปล่อยในปัจจุบันน้อยกว่าปริมารการปล่อยเมื่อปี ค.ศ.1990 จึงมีสิทธิ์การปล่อยเหลือพร้อมที่จะขายได้) เราเรียกสิทธิ์ที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะขายกันนี้ว่า AAUs (Assigned Amount Units)

ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกมีพันธกรณีในการดำเนินตามกลไกพัฒนาที่สะอาด หรือ CDM ซึ่งเปิดช่องผ่านกลไกดังกล่าวให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกลุ่มประเทศในภาคผนวกที่ 1 สามารถเข้ามาดำเนินโครงการลดและเลิกปล่อยก๊าวเรือนกระจกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้ และให้นำปริมารก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้เป็น "คาร์บอนเครดิต" โดยไปหักจากจำนวนก๊าซเรือนกระจกที่มีพันธกรณีที่จะต้องลดลงในประเทศของตัวเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณกนกวรรณ วงศ์กวี กลุ่มงานคณะกรรมาธิการ การทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักกรรมาธิการ 3

ตอนที่ 3 สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำ CSR


CSR นั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ภายใต้หลักการบริหารงานที่ต้องสมดุลกัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องใส่ใจหรือคำนึงถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอีกด้วยการทำ CSR ที่ถูกต้อง ที่มีพื้นฐานจากความจริงใจนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจอย่างชัดเจนและวัดผลได้ ยกตัวอย่างเช่น

ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
(Competitiveness and Unique market Positioning)
ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจของสถาบันคีนันแห่งเอเชียที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พบว่า 60% ของผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการจากธุรกิจที่ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม และ 59% ที่มีความต้องการที่จะซื้อสินค้าแม้จะต้องจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น

เอื้อประโยชน์ด้านการบริหารความน่าเชื่อถือ
การบริหารความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจ จากการสำรวจการทำ CSR ในหลายประเทศพบว่า CSR เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ที่สำคัญ ซึ่งมูลค่าของ Intangible Asset นั้นจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับภาคธุรกิจ

เอื้อประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยง
ความซับซ้อนของเศรษฐกิจสมัยใหม่นำไปสู่ความเสี่ยงแบบใหม่ที่ยากเกินกว่าจะคาดเดา ดังนั้น การจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงสำคัญมากในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากความเสี่ยงที่ควบคุมได้ยาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเมื่อธุรกิจสามารถที่จะร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยการสร้างความยอมรับจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการสร้างความเจริญให้กับชุมชนที่อยู่ร่วมกัน ย่อมจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่จะนำไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงสภาวะวิกฤติได้

เอื้อประโยชน์ในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัท
จากการวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า42% ของผู้หางานจะพิจารณาประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ ในการเลือกสมัครเข้าทำงาน และพนักงานในบริษัทก็ให้ความสนใจด้านการรับผิดชอบต่อสังคม และใช้เป็นหัวข้อที่ตัดสินใจในการเลือกที่จะทำหรือเปลี่ยนไปทำกับบริษัทอื่นที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่า

ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Operational Efficiency)
การมุ่งเน้นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นจะนำไปสู่ความสำเร็จด้านการเงินของภาคธุรกิจได้ ด้วยการลดการใช้วัตถุดิบและ/หรือพลังงาน ลดการเกิดของเสียในกระบวนการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

เอื้อประโยชน์ด้านผลประกอบการ
จากหนังสือ "Built to Last" ของ James C. Collins ที่เปรียบเทียบผลประกอบการของ 18 บริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมา พบว่า บริษัทที่มีเป้าหมายมากกว่าการสร้างกำไรและร่วมรับผิดชอบต่อสังคมนั้นจะสร้างผลตอบแทนระยะยาวที่สูงถึง 6 เท่าของบริษัทที่มุ่งเน้นผลกำไรเพียงแค่อย่างเดียว

จากประโยชน์ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการทำ CSR นั้นเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญและดำเนินการเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คุณเรืองฤทธิ์ ไชยสิงห์ ฝ่ายวิศวกรรมและเทคนิค บริษัท เอส ซี จี ซิเมนต์ จำกัด

ตอนที่ 5 (ตอนสุดท้าย) กรณีตัวอย่าง CSR ในไทย


สำหรับกิจกรรม CSR ในประเทศไทยนั้นเริ่มมีความแพร่หลายมีหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญและนำไปเป็นแนวปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นยกตัวอย่าง เช่น

Microsoft ศูนย์คอมพิวเตอร์ชุมชน : สนับสนุนให้ชุมชนสามารถเข้าถึงและใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจเป็นตลาด IT ใหม่ในอนาคต

SCG (เอส ซี จี หรือเครือซิเมนต์ไทย) ที่มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจตามหลักการ "คุณภาพและเป็นธรรม" ต่อทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังได้ก่อตั้ง "มูลนิธิซิเมนต์ไทย" เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างจริงจังและตอ่เนื่องมาเป็นเวลานาน โดยมุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา การพัฒนาชุมชนและสาธารณะประโยชน์

บางจากปิโตรเลียม : ส่งเสริมในด้านการพัฒนาชุมชนโดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มน้ำมัน เป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน จัดกิจกรรมประกวด "ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย" ที่ทำขึ้นโดยชาวบ้าน/ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ปตท. ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ โดยมีพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมที่สำคัญในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับงานพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆ

INET Open CARE ระบบเตือนภัยวิกฤติแบบเปิด ซึ่งเข้ามาช่วยผสานการสื่อสารข้อมูลวิกฤติระหว่างหน่วยงานรัฐและผู้เกี่ยวข้องหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ โดยเป็นระบบเปิดไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้สนใจผ่านทางอินเทอร์เน็ต

จะเห็นได้ว่าเรื่องการทำ CSR นั้นมิได้เป็นเรื่องที่ยากเกินไปสำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงานขององค์กร ให้เป็นที่ยอมรับจากทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี ในการทำ CSR นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเห็นผลได้ชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องผสานประโยชน์ทั้งภายนอกและภายในองค์กรแต่หากองค์กรใดตั้งใจทำ CSR อย่างต่อเนื่องจริงจัง ก็จะทำให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกดีและอยากที่จะเลือกใช้สินค้าและบริการขององค์กรนั้นๆ (Brand Royalty) นั่นก็เปรียบเสมือน "License to Operate' ในเชิงสัญลักษณ์ เมื่อประชาชนสนับสนุนองค์กรก็เปรียบเสมือนการอนุญาตให้องค์กรนั้นๆ ดำเนินธุรกิจอยู่ในสังคมได้อย่างยั่งยืน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คุณเรืองฤทธิ์ ไชยสิงห์ ฝ่ายวิศวกรรมและเทคนิค บริษัท เอส ซี จี ซิเมนต์ จำกัด

ตอนที่ 2 CSR (ซี เอส อาร์) คืออะไร


Corporate Social Responsibility (CSR) หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่า "ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ" นั้น มีหลายหน่วยงานพยายามให้ความหมายหรือกำหนดคำนิยาม เช่น

"CSR คือ การปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างต่อเนื่องของบริษัทในการดำเนินธุรกิจโดยใช้พื้นฐานของจริยธรรมเข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปพร้อมๆ กันกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและคุณภาพชุมชนท้องถิ่น รวมถึงสภาพสังคมโดยรวม" จาก The World Business Council for Sustainable Development (WBCSD)

"CSR คือ การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการกำกับดูแลกิจการที่ดี ควบคู่ไปกับการใส่ใจและดูแลรักษาสังมคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน" จาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คุณเรืองฤทธิ์ ไชยสิงห์ ฝ่ายวิศวกรรมและเทคนิค บริษัท เอส ซี จี ซิเมนต์ จำกัด

November 1, 2009

ตอนที่ 1 การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยใช้หลัก CSR


สวัสดีเพื่อน ๆ วันนี้ผมนำเรื่องที่เป็นวิชาการมาเล่าสู่เพื่อนๆ อีกเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากบทความ "วิศวกรนักบริหารกับบรรษัทภิบาล (Engineer With Corporate governance:CG)" ผมอยากบอกเพื่อนๆ ว่าถึงแม้จะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ แต่อย่างไรก็ต้องทราบไว้ ไม่อย่างนั้นตกรถด่วนแน่ แล้วอย่ามาร้องให้ขี้มูกโป่งละ ผมจะนำบทความมาเสนอทั้งหมด 5 ตอนที่เกี่ยวกับ CSR วันนี้เริ่มตอนที่ 1 เลยแล้วกัน

"การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยใช้หลัก CSR"

CSR หรือ Corporate Social Responsibility
หากจะกล่าวถึงคำๆ นี้ คงจะไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเพราะเป็นอีกหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่น้อยไปกว่ากระแสปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรอิสระ ได้ให้ความสำคัญกันเพิ่มมากขึ้น

ในอดีตแต่ละภาคธุรกิจพยายามที่จะผลิตหรือขายสินค้าโดยมุ่งหวังให้เกิดผลกำไรที่สูงที่สุด ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดกับชุมชนสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกโครงการ เป็นผลให้มีหลายบริษัทที่ได้รับการต่อต้านหรือการไม่ยอมรับจากสังคมชุมชนที่อยู่โดยรอบ ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงเป็นที่มาที่ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องมาใส่ใจประเด็นสิ่งแวดล้อมหรือสังคมกันเพิ่มมากขึ้น

จากที่มาของแนวคิด CSR แบบเดิม ได้พัฒนามาสู่แนวคิดที่ว่า "ทุกองค์กร ควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม" โดยเฉพาะภาคธุรกิจ เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีกำลังทรัพย์และความสามารถในกาจัดการบริหารงานต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของประธานสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน (The World Business Council for Sustainable Development - WBCSD) ที่ระบุว่า "ธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว (Business cannot succeed in a society that fails)"

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คุณเรืองฤทธิ์ ไชยสิงห์ ฝ่ายวิศวกรรมและเทคนิค บริษัท เอส ซี จี ซิเมนต์ จำกัด

วิศวกรนักบริหารกับบรรษัทภิบาล (Engineer With Corporate governance:CG)


วันนี้ผมจะนำเรื่องที่ค่อนข้างเป็นวิชาการมาเล่าสู่เพื่อนๆ ให้ได้ทราบกัน สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมาก เพราะว่า ณ ตอนนี้ผมทำงานในระดับปฏิบัติการ เป็นส่วนใหญ่ คงอีกนานครับกว่าจะทำงานในระดับนโยยบาย (ไม่แน่ใจว่าอยู่ถึงหรือเปล่า) แต่คิดไปมาแล้ว รู้ไว้ก็คงไม่เสียหายครับ ยิ่งหากทำงานเกี่ยวกับราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ยิ่งสำคัญ แต่ที่นำมานี้เป็นของคนอื่นนะครับ ยังไม่ใด้สรุปเอง

ในโลกปัจจุบัน คำว่า “บรรษัทภิบาล หรือ Corporate Governance" หรือที่เรียกสั้นว่า CG กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงและได้รับความสำคัญมากขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ไม่เฉพาะแต่เพียงในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย (ไหนบอกว่าพัฒนาแล้วไง) แต่รวมไปถึงประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่องของการทุจริต การคอรัปชั่น การจงใจบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร หรือการบริหารจัดการที่ผิดพลาดของบริษัทขนาดใหญ่เกิดขึ้น และได้รับการเปิดเผยออกมาเป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ บริษัท เอนรอน หรือ บริษัท เวิลด์คอม ซึ่งส่งผลให้เกิดการล้มละลายของธุรกิจ คิดเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งยังไม่มีสิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น ในอนาคตอันใกล้ ยิ่งเป็นสิ่งที่ย้ำให้เห็นความสำคัญของบรรษัทภิบาลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า บรรษัทภิบาล จะเพิ่งมามีความสำคัญในระยะที่สังคมและเศรษฐกิจกำลังมีวิกฤติการณ์ (Crisis) เกิดขึ้นเท่านั้น เพียงแต่ว่า เมื่อวิกฤติการณ์เกิดขึ้น บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็มักจะมีการเรียกร้องให้มีการดูแลจัดการในองค์กรที่ดี ซึ่งดูแล้วก็อาจจะเปรียบได้เหมือนกรณีของวัวหายแล้วล้อมคอก ซึ่งน่าจะเป็นการดีกว่าถ้าจะมองว่าบรรษัทภิบาลคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกองค์กร ในทุกๆเวลา และทุกๆสังคม

เนื่องจากการขยายตัวของกิจการจากธุรกิจครอบครัว หรือการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากรัฐวิสาหกิจแล้วแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน เป็นสิ่งที่ถือได้ว่าเป็นวัฏจักรของธุรกิจโดยทั่วไปที่เมื่อมีการเจริญเติบโตขึ้น ก็มีความต้องการเงินทุนเพิ่มมากขึ้นจากแหล่งเงินทุนภายนอกของกิจการ หรือการที่ธุรกิจขยายใหญ่ขึ้นก็ทำให้ธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น จำต้องมีการจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาบริหารกิจการ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทางใดก็แล้วแต่ ก็จะก่อให้เกิดกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจมากขึ้น (Stakeholders) ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้ก็อาจจะมีความต้องการหรือผลประโยชน์ที่ไม่สอดคล้องกัน (Conflict of Interest)
ซึ่งจากการที่เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะการสื่อสารโทรคมนาคมเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิด Globalization ซึ่งทำให้โลกทางด้านธุรกิจมีขนาดเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน ในขณะเดียวกันธุรกิจต่างๆก็พากันขยายตัวใหญ่ขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงมีการเพิ่มขึ้นของการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการที่จะต้อง มีระบบการจัดการ กำกับดูแลที่ดี เนื่องจากว่าธุรกิจหนึ่งๆ ก็เปรียบได้กับประเทศหนึ่งที่ต้องมีการปกครอง ควบคุมดูแล เพื่อให้คนในประเทศนั้นๆ และบุคคลอื่นๆ เกี่ยวข้องได้รับการคุ้มครองเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบรรษัทภิบาลไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว หรือเป็นสิ่งที่กล่าวถึงเฉพาะในเชิงวิชาการเท่านั้น แต่บรรษัทภิบาลเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบกับทุกๆคนในสังคม เนื่องจากว่าคนเราทุกคนในสังคมก็ต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นเจ้าของของกิจการ เจ้าหนี้ของกิจการ คู่ค้าของกิจการ ลูกค้าของกิจการ พนักงานของกิจการ รวมถึงบุคคลต่างๆในสภาพแวดล้อมนั้นๆ ที่กิจการได้ตั้งอยู่ ซึ่งเราสามารถเรียกรวมกันได้ว่า กลุ่มบุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร (Stakeholders)

ในปัจจุบัน คำว่า Corporate Governance หรือ “การกำกับดูและกิจการ” ตามที่กล่าวมาในขั้นต้นนั้น มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย และถือว่าเป็นประเด็นที่ประสบความสำเร็จในการที่จะเป็นจุดสนใจของประชาชน(Public Interest) และนักวิชาการ ตลอดจนนักลงทุนต่างๆเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่มีบทบาทชัดเจนและมีความสำคัญต่อสถานภาพความแข็งแกร่งขององค์กรและสังคมต่างๆ โดยรวม ทั้งนี้ นักวิชาการ นักวิเคราะห์ หน่วยงานต่างๆ ต่างพยายามที่อธิบายคำว่า Corporate Governance หรือ “การกำกับดูและกิจการ” นี้ แต่ก็มักจะพบว่า การให้ความหมายมักจะเป็นการนิยามในลักษณะกว้างและพยายามครอบคลุมในหลายๆประเด็น ทำให้คำนิยามของคำว่า Corporate Governance หรือ “การกำกับดูและกิจการ” มีหลากหลายความหมาย ซึ่งนอกจากจะไม่มีความชัดเจนแล้ว ในบางครั้ง ยังสะท้อนกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือประเด็นที่นักวิเคราะห์ หรือหน่วยงานนั้นๆ สนใจเป็นพิเศษเท่านั้น ดังนั้น ทางกลุ่มจึงรวบรวม และคัดเลือกมาเป็นตัวอย่างเพื่อให้ได้เห็นถึงมุมมองในหลายๆ ด้าน ดังนี้ (เป็นภาษาประกิดนะ)

Corporate governance is about “the whole set of legal, cultural, and institutional arrangements that determine what public corporations can do, who controls them, how that control is exercised, and how the risks and return from the activities they undertake are allocated.”- Margaret Blair, Ownership and Control: Rethinking Corporate Governance for the Twenty-First Century , 1995.

Corporate governance is the relationship among various participants [chief executive officer, management, shareholders, employees] in determining the direction and performance of corporations”

- Monks and Minow, Corporate Governance, 1995.
Corporate governance deals with the way suppliers of finance assure themselves of getting a return on their investment.
- Shleifer and Vishny, 1997

Corporate governance is most often viewed as both the structure and the relationships which determine corporate direction and performance. The board of directors is typically central to corporate governance. Its relationship to the other primary participants, typically shareholders and management, is critical. Additional participants include employees, customers, suppliers, and creditors. The corporate governance framework also depends on the legal, regulatory, institutional and ethical environment of the community. Whereas the 20th century might be viewed as the age of management, the early 21st century is predicted to be more focused on governance. Both terms address control of corporations but governance has always required an examination of underlying purpose and legitimacy. -James McRitchie, 8/1999

“Corporate governance is the system by which business corporations are directed and controlled. The corporate governance structure specifies the distribution of rights and responsibilities among different participants in the corporation, such as, the board, managers, shareholders and other stakeholders, and spells out the rules and procedures for making decisions on corporate affairs. By doing this, it also provides the structure through which the company objectives are set, and the means of attaining those objectives and monitoring performance”, OECD April 1999. OECD’s definition is consistent with the one presented by Cadbury [1992, page 15].

The system by which companies are directed and controlled. (Sir Adrian Cadbury, The Committee on the Financial Aspects of Corporate Governance)
“Corporate governance is about promoting corporate fairness, transparency and accountability” J. Wolfensohn, president of the Word bank, as quoted by an article in Financial Times, June 21, 1999.

“Corporate Governance is concerned with holding the balance between economic and social goals and between individual and communal goals. The corporate governance framework is there to encourage the efficient use of resources and equally to require accountability for the stewardship of those resources. The aim is to align as nearly as possible the interests of individuals, corporations and society” (Sir Adrian Cadbury in ‘Global Corporate Governance Forum’, World Bank, 2000)

Corporate governance is about how companies are directed and controlled. Good governance is an essential ingredient in corporate success and sustainable economic growth. Research in governance requires an interdisciplinary analysis, drawing above all on economics and law, and a close understanding of modern business practice of the kind which comes from detailed empirical studies in a range of national systems.

- Simon Deakin, Robert Monks Professor of Corporate Governance
Corporate governance is the method by which a corporation is directed, administered or controlled. Corporate governance includes the laws and customs affecting that direction, as well as the goals for which the corporation is governed. The principal participants are the shareholders, management and the board of directors. Other participants include regulators, employees, suppliers, partners, customers, constituents (for elected bodies) and the general community. - Wikipedia

The in which a company organizes and manages itself to ensure that all financial stakeholders receive their fair share of a company’s earnings and assets. Standard and Poor’s Corporate governance is the system by which companies are directed and managed. It influences how the objectives of the company are set and achieved, how risk is monitored and assessed, and how performance is optimised. Good corporate governance structures encourage companies to create value (through enterpreneurism, innovation, development and exploration) and provide accountability and control systems commensurate with the risks involved. (ASX Principles of Good Corporate Governance and Best Practices Recommendations, 2003)

จากความหมายต่างๆ จะเห็นได้ว่า คำนิยามของ Corporate Governance มีวิวัฒนาการ จากการที่จะมองแค่การจัดการทางธุรกิจภายในองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆภายในองค์กร ก็หันมามองในด้านต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การมองด้านทรัพยากรบุคคล สังคม เป็นต้น

กลเม็ด....เกร็ดต่อเติมอาคาร

สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกคน ต้องขอโทษด้วยครับที่ ห่างหายกันไปนาน เพราะว่าช่วงนี้มีงานเข้ามามาก ทั้งงานหลวง งานราษ งาน... ทำกันไม่หวาดไม่ไหว และอีกอย่างคือประชุมบ่อย อย่างมาก หากว่าใครอยู่ในระบบราชการหรือกึ่งราชการคงรู้นะครับว่าช่วงนี้เป็นอย่างไร ก็ต้องปรับให้มากขึ้น แต่อย่างใครก็ตามผมจะพยายามนำเรื่องราวที่เกิด ในการเป็นวิศวกรโยธาของผมมาเล่าสู่เพื่อนๆ ได้ทราบกันอย่างต่อเนื่อง วันนี้ผมก็นำเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการต่อเติมบ้านที่ผมทราบมา และจากการสอบถามผู้รู้มาเล่าให้เพื่อนๆ ทราบเข้าเรื่องกันเลยครับ

หากจะต่อเติมอาคารขอให้คิดคำนึงถึงข้อคิดเอาไว้ดังนี้ (เพื่อป้องกัน ร้าว รั่ว ร้อน และงานไม่เสร็จ)

1. ให้แยกฐานราก แยกเสา คาน พื้น ผนัง หลังคาออกจากอาคารเดิมทุกๆ จุด ไม่อย่าวนั้นเกิดรอยร้าวแน่
2. อย่าปูกระเบื้องพื้นและผนังคร่อมรอยต่อที่อาคารต่อกัน

3. เว้นร่องแล้วใช้วัสดุยืดหยุ่นตัวประเภทโพลียูรีเทนอัดในร่องในจุดที่อาคารมาชนกัน
4. การต่อเติมอาคารจะต้องเกิดความเสียหายต่ออาคารเดิมบ้าง ต้องมีบางส่วนถูกตัด ถูกสลัดไปบ้างต้องทำใจเอาไว้ก่อน (ต้องบอกให้เจ้าของบ้านหรืออาคารทราบถึงจุดนี้ด้วย ต้องบอกให้เป็นด้วยนะ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะไม่ใด้งาน)

5. การต่อเติมอาคารระยะเวลาอาจบานปลาย เพราะปัญหาอุปสรรคที่พบอาจมาพบทีหลัง ถึงแม้ผู้ชำนาญการต่อเติมจะเก่งอย่างไร ก็อาจจะพบปัญหาได้ระยะเวลาเดิมกำหนดไว้ 45 วันเสร็จ อาจเพิ่มเป็นเท่าตัว คือ 90 วัน ก็เป็นไปได้ (เป็นเรื่องปกติครับ)
6. ทำใจกับการทำงานของช่างที่อาจไม่ได้ดั่งใจ เป็นเพราะงานต่อเติมเป็นงานที่ทำในขณะที่เราอาศัยอยู่ในบ้านเราเห็นความเคลื่อนไหวตลอดเวลา ช่างมีทักษะในการทำ แต่ไม่มีทักษะในการบริหารจัดการมากนักขอให้ทำใจ โดยมุ่งไปที่ความสำเร็จของงานจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องทุกข์ใจกับการทำงานของช่าง หากเราไปพูดมากเข้าช่างอาจจะเบื่อไม่อยากทำงานให้เรา ผลเสียตกอยู่กับเรา เพราะต้องไปหาช่างใหม่ พอได้มาใหม่ก็เหมือนเดิม งานต่อเติมจึงต้องใช้มืออาชีพจึงจะได้อะไรตามที่ใจเราคิด (ราคาก็เพิ่มมากขึ้นตามความสามารถช่างด้วย)

7. งบประมาณอาจบานปลาย หากกำหนดเอาไว้ 4 หมื่นบาท ต่อเติมเสร็จอาจเป็น 4.5 หมื่น หรือ 5 หมื่นก็เป็นไปได้ต้องทำใจเผื่อเอาไว้ จะได้ไม่กลุ้มใจ และในทางกลับอย่าแปลกใจหากช่างประเมินราคางานต่อเติมเอาไว้สูง เพราะช่างเองก็ไม่รู้ว่าจะต้องเจออะไรเช่นกัน
8. อย่าทะเลาะหรือขัดแย้งกันกับช่าง เพราะการถกเถียงกันระหว่างการทำงานจะส่งผลให้ทีมช่างเบื่อหน่ายไม่อยากทำไม่ว่าช่างฝีมือจะดีเพียงใด ช่างก็จะเบื่อหน่ายบรรยากาศในที่สุดงานออกมาไม่ดี เราอาจดูเป็นเรื่องเล็ก แต่เรื่องนี้มีสถิติและตัวอย่างมีมากในวงการต่อเติมอาคาร

9. อย่าเอาคนมาตรวจมากนัก งานต่อเติมเป็นงานเฉพาะเราพอใจจึงทำทำไปมีคนมาตรวจมาก แต่ละคนมาแต่ตำหนิไม่มีเสนอแนะอย่างนี้ งานออกมาไม่ดีแน่ๆ อย่าทำ
10. เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากฝากก็คือ เรื่องการมีน้ำใจต่อคนที่มาทำงานต่อเติมให้เราครับ เจ้าของบ้านส่วนมากคิดว่าได้จ่ายเงินไปแล้วไม่ต้องเสียอะไรอีก เรื่องนี้ผมบอได้เลยว่าเจ้าของบ้านพูดถูกครับแต่คิดผิด เพราะว่าบ้านเรา (ประเทศไทย) ยังแตกต่างจากต่างประเทศมากครับ ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ผมกล้าบอกได้เลยว่าคุณในฐานะเจ้าของบ้าน จะได้งานที่อยอกมาดีอย่างมากครับ

หากผมมีข้อมูลเพิ่มเติมอีก ผมจะนำมาเล่าสู่กันอ่านอีกนะครับ...............