Custom Search
September 10, 2011
ไม่มีเขา เราจะทำได้หรือเปล่า (Without him we do not) _2
พูดเรื่องของ"คนงาน" ตอนที่ 2
มาต่อเล่าต่อกันเลยนะครับ
6. ดูอารมณ์ของเขาด้วย หากอารมณ์ไม่ดีอย่าเข้าใกล้เดี๋ยวเจอลูกหลง
7. นอกเรื่องงานหากช่วยเหลือเขาได้ก็จงช่วย >> มีครั้งหนึ่งนายช่างเอ นั่งทำงานอยู่ที่แคมป์งานถึงประมาณ 4 ทุ่ม (ตัดเนื้องานเพื่อจะส่งงานให้ผู้รับจ้าง) จะกลับที่พักอยู่แล้ว มีคนงานคนหนึ่งเดินมาแคะประตูแล้วบอกว่า "เจ้านายพาผมไปรับเมียหน่อย เมียมีปัญหากับเพื่อน ตบตีกันใหญ่เลย" นายช่างเอ ก็ถามเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นเขาก็เล่าให้ฟังอย่างละเอียด แล้วถามเขาว่าลูกพี่ของช่าง (ผมจะให้เกียรติคนงานทุกคนโดยเรียกเขาว่าช่าง หรือไม่ก็พี่ หรือไม่ก็น้อง)ไม่อยู่เหรอ คนงานก็ตอบงานไม่อยู่ออกไปตั้งแต่ตอนเย็น ติดต่อไม่ใด้เลย ตอนนั้นคิดว่าถ้าเขาไม่เดือดร้อนคงไม่มารบกวนเราหรอก เลยพาเขาไปรับเมียมาที่แคมป์ ผลที่ได้ภายหลังคือ คนงานคนนั้นเกรงใจนายช่างเอมากกว่าเดิมอีก ขอร้องให้ทำอะไรไม่เคยเกี่ยงเลย **คุ้มค่าจริงๆ กับค่าน้ำมันที่เสียไป**
8. หากทำได้ให้ดูแลคนที่เกี่ยวข้องกับคนงานด้วย >> มีครั้งหนึ่งเกิดปัญหาต่อเนื่องจากงานที่ควบคุมอยู่ ซึ่งไม่เกี่ยวกับงานที่เราทำโดยตรง แต่คิดว่าหากบอกปฏิเสธไปคงเป็นเรื่องไม่ดีแน่ แต่ตอนที่ทราบเรื่องนี่สิก็ประมาณ 17.30 น.แล้ววันนั้นจำได้ว่าคนงานไม่ลง เพราะฝนตกทั้งวันและคนที่แจ้งมาเขาก็เดือดร้อนมาก นายช่างเอเองก็ติดต่อใครไม่ใด้เลย (แบบว่าไม่มีใครเปิดมือถือเลย) ก็เลยเดินไปหาคนงานที่เรามีพระเดชพระคุณกับเขาอยู่ เล่าปัญหาที่เกิดขึ้นให้เขาคนงานฟัง คนงานบอกว่าไม่เป็นไรแค่นี้เอง จะไปทำให้ตอนนี้เลย (ตอนนั้น 18.00 น. นอกเวลาทำงานของเขาแล้ว หากทำก็คือโอที) ก็เลยพาคนงานขับรถออกไป วันนั้นทำงานกลางฝน คนงานก็เปียก นายช่างเอก็เปียก แก้ไขงานเสร็จ 22.00 น. ขากลับพาเขาแวะกินข้าวก่อน และบอกว่าสั่งไปฝากเมียด้วยนะ คนงานเองก็ไม่กล้าสั่ง นายช่างเอก็พอดูออกว่าเขาเกรงใจ ก็เลยสั่งให้เขาเลย เบ็ดเสร็จค่าใช้จ่ายวันนั้น 195 บาท แต่สิ่งที่ได้มาคือ คนงานเขาพูดกันทั้งแคมป์ถึงความมีน้ำใจของนายช่างเอ (อันนี้ตอนลงทุนไม่ใด้คิดอะไรเลย แต่เมื่อมันออกดอกออกผลมา แหม๋ ชื่นใจจริงๆ เลย)
9. หากใช้เขาทำอะไร พยายามให้ค่าตอบแทนเขา แต่อย่าให้เงินสดนะ ส่วนจะให้อะไรต้องแล้วแต่สถานการณ์ ไม่มีคำตอบตายตัว
10. คนงานส่วนใหญ่ เป็นคนอีสาน นายช่างเอก็เป็นคนอีสานเลยเข้ากันง่าย แต่งานคนงานภาคอื่นไม่เคยเจอมา นายช่างเอก็เข้ากับเขาได้นะ แนะนำว่าหาช่องเข้าให้เจอแล้วกัน
11. หากอยากจะใช้เขาอย่าทำตัวแบบเจ้าขุนมูลนายเด็ดขาด เขาจะไม่ทำให้เราหรอก (แต่เขารับปากนะ แต่ไม่ทำ) เพราะคนที่จะใช้เขาได้คือคนที่จ่ายเงินเขา (ลูกพี่เขา) หากคิดว่าเราเป็นใครละเขาถึงจะยอมให้ใช้ ????
12. จงจำไว้ คนงานคือคนที่หาเช้ากินค่ำ เขาต้องทำงานรายวัน ไม่ได้ลงงานก็ไม่ใด้เงิน และรับเงินเมื่อสิ้นเดือน และระหว่างเดือนก็เบิกเงินใช้ ตกเย็นมาก็สังสรรค์ด้วยเหล้าขาว (เหล้าอื่นไม่ถึงคอ) ตอนเช้ามาก็ทำงาน นี่แหละคือชีวิตคนงาน
13. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับคนงาน เพราะไม่ปลอดภัยต่อชีวิตของเราตอนออกไปตรวจหน้างาน ***ให้ระวังข้อนี้ให้มาก***
14......
15..... นับไม่ถ้วน
ยังมีอีหลายข้อที่ไม่สามารถบรรยายได้หมดเกี่ยวเรื่องของ"คนงาน" ในการทำงานขอให้ใช้ศาสตร์และศิลป์ นะครับ หลีกเลี่ยงพระเดช ให้ใช้พระคุณเป็นส่วนมาก นี่คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ Bye....
September 9, 2011
ไม่มีเขา เราจะทำได้หรือเปล่า (Without him we do not)
พูดเรื่องของ"คนงาน" ตอนที่ 1
ในการทำงานทุกแห่งจะมีสายงานหลายลำดับชั้น และในวงการก่อสร้างก็เช่นกัน หากเรียงจากใหญ่ไปเล็กหลักๆ (ไม่รวมตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท) จะประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการโครงการ
2. ผู้จัดการโครงการ
3. วิศวกรโครงการ
4. วิศวกรสนาม
5. โฟร์แมน
6. หัวหน้าชุดงาน
7. คนงาน.....
ที่ผมจะพูดถึงวันนี้ก็คือลำดับที่ 7 คนงาน (Worker) ครับ ว่าไปแล้วมันคือ 1 ใน 5 M ที่สำคัญสุด //ก็ Man = มนุษย์ // สำหรับนายช่างเอ โครงการนี้ที่ควบคุมมีโอกาสใกล้ชิดกับคนงานมาก ก็ได้ข้อคิดหลายอย่างเหมือนกัน บางวันเห็นเขาทำงานก็นึกสงสารและเห็นใจเขาเหมือนกัน เลยอยากนำมาถ่ายทอดไว้เผื่อจะเป็นประโยชน์
1. ทำตัวสนิทได้ แต่อย่าให้เขาตีสนิทเราได้ (เราต้องตีสนิทเขา) ให้มีระยะห่างระหว่างความใกล้ชิด เพราะไม่อย่างนั้นเขาจะพูดเล่นหัวเล่นหาง
2. เห็นใจเขาอย่างญาติคนสนิทของเรา แล้วเขาจะรับรู้ความรู้สึกดีๆ นั้นเอง
3. ให้ใช้ "พระคุณ" เป็นใหญ่ ใช้ "พระเดช" เป็นรอง (พระเดชไม่จำเป็นอย่าใช้)
4. อย่าคิดว่าเราไม่ต้องพึ่งเขา เพราะเรื่องเกี่ยวเนื่องกับงาน (ไม่ใช่เรื่องงานโดยตรง) สักวันเราต้องพึ่งเขา นายช่างเอเจอมาหลายครั้งแล้ว
5. มีน้ำใจกับเขาบ้างตามอัตภาพ (เป็นความสามารถเฉพาะตัวและจิตใจที่จะทำ เพราะต้องใช้เงิน) ให้เขารู้สึกดี เช่น ซื้อกาแฟหรือ เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะเขาเป็นคนใช้แรงงานหากทำงานเหนื่อยๆ แล้วได้กินของพวกนี้จะสดชื่น หากคิดจะซื้อให้ต้องซื้อให้ครบทุกคน ถ้าไม่อย่างนั้นก็อย่าซื้อ เพราะมันจะเสียหายต่อเรามากกว่าที่จะได้ อันนี้คิดเองนะ...
- ปกติ 1 ชุดงาน จะมีคนงานอยู่ไม่เกิน 10 คน หากชุดงานมีผู้หญิงควรซื้อน้ำอัดลมขวดเล็กให้ด้วย นอกนั้นก็กระทิงแดง M-150 สปอนเซอร์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 150 บาท/ครั้ง นายช่างเอจะทำประมาณ 1 เดือนครั้ง หรือ 2 เดือนครั้ง แต่สิ่งที่ได้กลับมาทุกวันนี้คิดว่าคุ้มมาก *** เหล้า เบียร์ ไม่ควรซื้อไปนะ ดูโอกาสด้วย !!!!***
- ให้ดูหัวหน้าชุดงานของเขา ว่าเราเข้าได้หรือเปล่า หากเราเข้าไม่ใด้ (หมายความว่าเราพยายามเข้าแล้วนะ) ให้เลี่ยง
ติดตามอ่าน พูดเรื่องของ"คนงาน" ตอนที่ 2 นะครับ
August 30, 2011
การเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมภายใน (Management Internal Control)
เมื่อวาน (29 ส.ค. 54) นายช่างเอ ตั้งใจจะเข้าที่ สนญ. เพื่อจะไปรับฟังการบรรยาย การเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมภายใน (Management Internal Control) ที่หน่วยงานจัดขึ้น เพราะทุกวันนี้นานๆ ถึงจะได้เข้ามาที่ สนญ. ไปถึงประมาณ 11.30 น. เลยไปเคลียร์ธุระส่วนตัวก่อน เสร็จแล้วก็ไปลงชื่อรับเอกสารจะเข้าอบรมแล้ว ก็มีประชาชนโทรเข้ามาสอบถามเกี่นวกับงานที่นายช่างเอควบคุมอยู่ ก็เลยไม่มีใจจะเข้าอบรมเลย แหม...นะคนเราลองให้ไฟในใจมันจะมอดแล้ว ก็จะไม่อยากทำอะไรเลย คิดได้ดังนั้นก็เลยบึ่งรถกลับมาที่หน้างานเลย (เพราะคิดว่าหากเข้าอบรมแล้วก็คงไม่รู้เรื่องอยู่ดี)
ตื่นเช้าวันนี้เลยนั่งอ่านเอกสารที่เขาแจกเพื่อไม่ให้เสียของเลยนำมาเล่าสู่เพื่อนๆ ได้ทราบกัน แม้คิดว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างโดยตรง แต่ก็เกี่ยวแบบอ้อมครับ และจะออกเชิงวิชาการหน่อยนะครับ สรุปเป็นข้อๆ ดังนี้
1. Governance - Risk Management Internal Control คือส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงที่ต้องทำ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการทำงานทุกวันอยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้เป็นระบบมากขึ้น ตรวจสอบย้อนหลังได้ กันลืมได้ ส่งต่อให้คนที่เกี่ยวดำเนินการ ต่อได้ ฯลฯ
2. ทำไมต้องมีการควบคุม ? คำตอบที่ได้จะมาจากคำถามพื้นๆ ดังนี้ 1. ทำไมต้องทำรั้วบ้าน 2. ทำไมต้องล็อคประตูรถก่อนขึ้นไปทำงาน ฯลฯ
3. การทำ Soft Control ในหน่วยงาน จะประกอบด้วยดังนี้
- กำหนดคุณสมบัติของพนักงานแต่ละตำแหน่ง ให้ชัดเจน และเหมาะสมกับงานที่ต้องรับผิดชอบ (ไม่ใช้เลือกใช้ระบบแบบเด็กของกู (CG)) เข้ามาทำงานก่อนอย่างอื่นค่อยว่ากัน
- คุณสมบัติของพนักงานที่อยู่แล้ว ต้องปรับปรุงให้ตรงตามที่ระบุไว้จัดให้เขาอบรมเพื่อให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ต้องทำกันทั้งระบบ ไม่ใช่ว่าคนนี้ทำคนนั้นไม่ทำ
- และก็มีอีกหลายข้อ
นายช่างเอ คิดว่าหากทำได้อย่างที่ระบุไว้ในเอกสารก็ดีมาก แต่ไม่แน่ใจว่าในทางปฏิบัติจริงทำได้กันแค่ไหน คิดว่าน่าจะมี 2 ประเภทคือไม่ทำอะไรเลยและก็ทำบ้างเพื่อสาบานไม่ตาย
สร้างโดยตรง แต่ก็เกี่ยวแบบอ้อมครับ และจะออกเชิงวิชาการหน่อยนะครับ สรุปเป็นข้อๆ ดังนี้
1. Governance - Risk Management Internal Control คือส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงที่ต้องทำ แต่ก็
เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการทำงานทุกวันอยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้เป็นระบบมากขึ้น ตรวจสอบย้อนหลังได้ กันลืมได้ ส่งต่อให้
คนที่เกี่ยวดำเนินการ ต่อได้ ฯลฯ
2. ทำไมต้องมีการควบคุม ? คำตอบที่ได้จะมาจากคำถามพื้นๆ ดังนี้ 1. ทำไมต้องทำรั้วบ้าน 2. ทำไมต้องล็อคประตูรถก่อน
ขึ้นไปทำงาน ฯลฯ
3. การทำ Soft Control ในหน่วยงาน จะประกอบด้วยดังนี้
- กำหนดคุณสมบัติของพนักงานแต่ละตำแหน่ง ให้ชัดเจน และเหมาะสมกับงานที่ต้องรับผิดชอบ (ไม่ใช้เลือกใช้ระบบแบบ
เด็กของกู (CG)) เข้ามาทำงานก่อนอย่างอื่นค่อยว่ากัน
- คุณสมบัติของพนักงานที่อยู่แล้ว ต้องปรับปรุงให้ตรงตามที่ระบุไว้จัดให้เขาอบรมเพื่อให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ต้องทำกันทั้งระบบ
ไม่ใช่ว่าคนนี้ทำคนนั้นไม่ทำ
- และก็มีอีกหลายข้อ
นายช่างเอ คิดว่าหากทำได้อย่างที่ระบุไว้ในเอกสารก็ดีมาก แต่ไม่แน่ใจว่าในทางปฏิบัติจริงทำได้กันแค่ไหน คิดว่าน่าจะมี 2
ประเภทคือไม่ทำอะไรเลยและก็ทำบ้างเพื่อสาบานไม่ตาย
June 19, 2011
ข้อสงสัยน้ำดื่มตราปาป้า ของการประปานครหลวง
เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นระหว่างที่เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเลื่อนระดับ เพราะเจ้าหน้าที่เขาจะนำน้ำดื่มของการประปานครหลวงมาตั้งไว้ที่โต๊ะวันละ 1 ขวดทุกวัน (หากใครดื่มหมดแล้วสามารถเติมได้) มาอยู่วันหนึ่งนายช่างเอ ไปถึงห้องอบรมแต่เช้า เลยหยิบขวดน้ำมาสำรวจที่ฝาขวด มีตัวหนังสือพิมพ์ไว้ 3 แถว ทุกแถวก็รู้ว่าเขาสื่อถึงอะไรเพราะเป็นตัวย่อทั่วไป แต่แถวแรกที่พิมพ์ไว้ว่า MWA 15:48:11 (ขอยกตัวอย่างตามรูปเลยนะ) ดูยังไงก็ไม่รู้ว่าเขาสื่อถึงอะไร ลองถามเพื่อนเข้าอบรมที่นั่งข้างๆ (ผู้ชาย) ก็ไม่ทราบว่าคืออะไร (ไม่แน่ใจว่าถามถูกคนหรือเปล่า) เลยมั่นใจเข้าไปใหญ่ว่ามีคนไม่ทราบมากกว่า 1 คนแน่นอน ดังนั้นต้องหาคำตอบให้ได้ และต้องหาจากคนที่ทำงานใกล้ชิดกับการผลิตน้ำ จึงน่าจะพอได้คำตอบบ้าง >>>>
นายช่างเอจึงมาเปิดดูรายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม และก็เจอคนเป็นผู้หญิงที่มาจากกองวิเคราะห์คุณภาพน้ำ (ส่วนงานอะไรจำไม่ใด้) คิดว่าคงพอให้คำตอบได้ (จริงๆ คนนี้ก็อยากรู้จักมาตั้งแต่เข้าฝึกอบรมวันแรกแล้ว เพราะเธอน่ารัก....แต่นายช่างเอเป็นคนขี้อายเลยอยู่เฉยๆ ดีกว่า) เมื่อหาเรื่องได้อย่างนี้แล้วโอกาสที่จะได้คุยกับเธอก็มาถึง นายช่างเอก็เลยบุกเลย 555...
เลยสะกิดเพื่อนที่นั่งข้างๆ แล้วทำเป็นบอกเขาว่าคนนี้น่าจะพอทราบ พร้อมทั้งชี้ไปที่รายชื่อ เขาก็เออห่อหมกด้วยและเพื่อนที่นั่งข้างๆ ก็เลยเดินไปถามเธอให้ พร้อมทั้งถือขวดน้ำไปด้วย คำตอบที่ได้คือ ไม่ทราบเหมือนกัน ?????? โอ้แม่เจ้าขนาดคนใกล้ชิดยังไม่ทราบเลย แล้วใครจะทราบเนี่ย แต่เธอทิ้งท้ายไว้ว่าจะถามพี่ที่ทำงานให้คาดว่าคงจะทราบ รอ....อีก 3 วัน
เธอฝากคำตอบกับเพื่อนที่นั่งข้างๆ มาว่า ข้อความ MWA 15:48:11 คือเวลาที่ผลิตน้ำดื่ม แต่นายช่างเอแอบสงสัยต่อ (ไม่แน่ใจมีประโยชน์ที่จะสงสัยหรือเปล่า) ว่า "เวลาที่ผลิตน้ำดื่ม" คือเวลาที่กรอกลงขวดน้ำหรือเปล่า ??? แต่นายช่างเอคิดว่าเธอน่าจะทราบว่าคำถามมาจากใครเพราะวันที่เธอฝากคำตอบมาให้มีครั้งหนึ่งสบตากัน (ต้องบอกว่าโดยบังเอิญจริงๆ เพราะนายช่างเอไม่ได้ตั้งใจ ) ประมาณในสายตานั้นสื่อบอกว่า "สงสัยแล้วทำไมไม่ถามเอง ให้คนอื่นมาถามให้ทำไม" 5555.....
เพื่อนๆ อย่าลืมติดตามความรู้ที่นายช่างเอได้จากการเข้ารับฝึกอบรมนะครับ ส่วนเธอก็ให้เธอหยุดตรงนั้นพอครับ....อยู่อย่างนั้นของเธอดีแล้ว บาย.........
นายช่างเอจึงมาเปิดดูรายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม และก็เจอคนเป็นผู้หญิงที่มาจากกองวิเคราะห์คุณภาพน้ำ (ส่วนงานอะไรจำไม่ใด้) คิดว่าคงพอให้คำตอบได้ (จริงๆ คนนี้ก็อยากรู้จักมาตั้งแต่เข้าฝึกอบรมวันแรกแล้ว เพราะเธอน่ารัก....แต่นายช่างเอเป็นคนขี้อายเลยอยู่เฉยๆ ดีกว่า) เมื่อหาเรื่องได้อย่างนี้แล้วโอกาสที่จะได้คุยกับเธอก็มาถึง นายช่างเอก็เลยบุกเลย 555...
เลยสะกิดเพื่อนที่นั่งข้างๆ แล้วทำเป็นบอกเขาว่าคนนี้น่าจะพอทราบ พร้อมทั้งชี้ไปที่รายชื่อ เขาก็เออห่อหมกด้วยและเพื่อนที่นั่งข้างๆ ก็เลยเดินไปถามเธอให้ พร้อมทั้งถือขวดน้ำไปด้วย คำตอบที่ได้คือ ไม่ทราบเหมือนกัน ?????? โอ้แม่เจ้าขนาดคนใกล้ชิดยังไม่ทราบเลย แล้วใครจะทราบเนี่ย แต่เธอทิ้งท้ายไว้ว่าจะถามพี่ที่ทำงานให้คาดว่าคงจะทราบ รอ....อีก 3 วัน
เธอฝากคำตอบกับเพื่อนที่นั่งข้างๆ มาว่า ข้อความ MWA 15:48:11 คือเวลาที่ผลิตน้ำดื่ม แต่นายช่างเอแอบสงสัยต่อ (ไม่แน่ใจมีประโยชน์ที่จะสงสัยหรือเปล่า) ว่า "เวลาที่ผลิตน้ำดื่ม" คือเวลาที่กรอกลงขวดน้ำหรือเปล่า ??? แต่นายช่างเอคิดว่าเธอน่าจะทราบว่าคำถามมาจากใครเพราะวันที่เธอฝากคำตอบมาให้มีครั้งหนึ่งสบตากัน (ต้องบอกว่าโดยบังเอิญจริงๆ เพราะนายช่างเอไม่ได้ตั้งใจ ) ประมาณในสายตานั้นสื่อบอกว่า "สงสัยแล้วทำไมไม่ถามเอง ให้คนอื่นมาถามให้ทำไม" 5555.....
เพื่อนๆ อย่าลืมติดตามความรู้ที่นายช่างเอได้จากการเข้ารับฝึกอบรมนะครับ ส่วนเธอก็ให้เธอหยุดตรงนั้นพอครับ....อยู่อย่างนั้นของเธอดีแล้ว บาย.........
April 30, 2011
อบรมเพื่อเลื่อนระดับและเพิ่มสมรรถนะให้องค์การ
ดีครับเพื่อนๆ ช่วงก่อนและหลังสงกรานต์ที่ผ่านมานายช่างเอ มีภาระกิจที่ถือว่าสำคัญกับชีวิตมากคือมีกำหนดการเข้ารับการอบรมเพื่อเลื่อนระดับให้สูงขึ้นจากเดิม และหากคิดลึกๆ แล้วจะเห็นว่าเป็นการเพิ่มสมรรถนะ (Competency) ให้องค์การด้วย ซึ่งการอบรมครั้งนี้หน่วยงานฯ ได้ว่าจ้างให้ นิด้า (...) มาฝึกอบรมให้เป็นการเฉพาะทั้งนี้วิทยากรที่มาบรรยายแต่ละท่านเห็นเป็นผู้ทรงภูมิทั้งนั้น (นายช่างเอมองเองนะ) ที่เด็ดสุดๆ ก็คือมีการเลี้ยงอาหารกลางวันด้วย (ประทับใจอย่างมากครับที่องค์การ ลงทุนให้ขนาดนี้) ซึ่งจะสอดคล้องกับการวัดผลการปฏิบัติงานแบบใหม่ด้วย (คิดว่าหลายคนๆ คงยังไม่ทราบ) นายช่างเอก็เพิ่งทราบตอนที่เข้ารับการอบรมนี่ละครับ ครั้งนี้ใช้เวลาทั้งหมด 9 วันทำการ โดยส่วนตัวแล้วได้ความรู้ที่จะมาประยุกต์ใช้กับการทำงานอย่างมากครับทั้งในส่วนของ Project Function และ Line Function
นายช่างเอ เป็นคนคุยไม่เก่ง (เข้าหาคนไม่เป็น) เลยรู้จักเพื่อนๆ ระดับเดียวกันไม่มาก แต่ถ้าเจอหน้าจะจำได้ แต่ไม่รู้จักชื่อ ใจจริงแล้วอยากจะรู้จักและได้พูดคุยกับทุกคนนะครับแต่ว่าไม่รู้ติดอะไรถึงไม่คุย ???? (ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ คนอื่นอยากคุยกับเราหรือเปล่าน้า....) แต่ช่างเถอะผ่านมาแล้ว ครั้งหน้าค่อยปรับปรุงตัวเองแล้วกัน
นายช่างเอ คิดว่าความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้จะนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้รับทราบเช่นเคยเผื่อว่าจะมีประโยชย์บ้าง
ซึ่งทั้งหมดจะมี 16 วิชา (แนวความคิด) ส่วนมากจะบรรยายวิชาละ 3 ชั่วโมง โดยทุกวิชาเพิ่งสอบวัดผลเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 54 ที่ผ่านมานี่เอง แบบว่าก่อนสอบนายช่างเอ ติวสุดๆ ยังกับสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลย จะทยอยนำมาลงให้ครบทุกวิชาครับ อาจต้องใช้เวลาหน่อยนะตามสไตร์นายช่างเอ
Bye.. ครับ
นายช่างเอ เป็นคนคุยไม่เก่ง (เข้าหาคนไม่เป็น) เลยรู้จักเพื่อนๆ ระดับเดียวกันไม่มาก แต่ถ้าเจอหน้าจะจำได้ แต่ไม่รู้จักชื่อ ใจจริงแล้วอยากจะรู้จักและได้พูดคุยกับทุกคนนะครับแต่ว่าไม่รู้ติดอะไรถึงไม่คุย ???? (ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ คนอื่นอยากคุยกับเราหรือเปล่าน้า....) แต่ช่างเถอะผ่านมาแล้ว ครั้งหน้าค่อยปรับปรุงตัวเองแล้วกัน
นายช่างเอ คิดว่าความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้จะนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้รับทราบเช่นเคยเผื่อว่าจะมีประโยชย์บ้าง
ซึ่งทั้งหมดจะมี 16 วิชา (แนวความคิด) ส่วนมากจะบรรยายวิชาละ 3 ชั่วโมง โดยทุกวิชาเพิ่งสอบวัดผลเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 54 ที่ผ่านมานี่เอง แบบว่าก่อนสอบนายช่างเอ ติวสุดๆ ยังกับสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลย จะทยอยนำมาลงให้ครบทุกวิชาครับ อาจต้องใช้เวลาหน่อยนะตามสไตร์นายช่างเอ
Bye.. ครับ
February 11, 2011
การควบคุมงานก่อสร้างวางท่อประปาอย่างมีความสุข
ดีครับเพื่อนๆ ช่วงนี้นายช่างเอ ปีที่ผ่านมาทำงานด้านเอกสารค่อนข้างเยอะ ปีนี้ได้ออกมาควบคุมงานวางท่อในสนามก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของการเป็นวิศวกรโยธา งานในสนามเจอปัญหาที่หลากหลายมากครับ การแก้ไขต้องดูเป็นกรณีๆ ไปโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ในบทความต่อไปนายช่างเอ จะเขียนเล่าประสบการณ์เรื่องราวในสนามให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปฟังบรรยายเรื่อง "การควบคุมงานก่อสร้างวางท่อประปาอย่างมีความสุข" ก็ได้ข้อคิดอะไรมาหลายอย่างจำได้เป็นบางส่วนจึงอยากนำมาถ่ายทอดให้ได้ทราบกัน หลักๆ ก็อย่าเครียด เพราะชีวิตมนุษย์เราไม่ได้มีอะไรมากมายเราเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งในจักรวาลเท่านั้น เพราะฉะนั้นจะเครียดไปทำไม บางอย่างก็ปล่อยวางหรือปล่อยให้มันเป็นไปตามที่จะเป็นเถิด ที่เล่ามาไม่ใช่ให้เพื่อนๆ ปลงนะครับแต่ว่าบางเรื่องต้องทำใจ
ประเด็นสำคัญสำหรับกระผมสำหรับการอบรมครั้งนี้คือ "Work Hard & Work Smart" โดยนายช่างเอจะขอแยกอธิบายดังนี้
Work Hard คือการทำงานหนัก ทำงานเยอะ ทำงานมากใช่ว่าจะได้งานที่ดี ทำงานมากแต่ไม่ใด้งาน ทุกอย่างมีแต่งาน ชีวิตนี้มีแต่งาน จนหาความสุขในชีวิตไม่ใด้
Work Smart คือไม่ต้องทำงานเยอะแต่ผลงานออกมาดี และไม่จำเป็นต้องทำงานแบบไม่ลืมหูลืมตา
ส่วนแนวคิดดีๆ เพิ่มเติมจะออกแนวกลางๆ มีดังนี้
1. บางครั้งหากเราเกิดปัญหา แล้วอยากเล่าให้คนอื่นฟังอย่าหวังว่าคนอื่นจะช่วยเราได้ แค่เขารับฟังเราก็ดีมากแล้ว
2. ต้องมีความเมตตาและมีความเป็นธรรม ชีวิตถึงจะมีความสุข
3. การมีงานมาก เพียงแต่หมายความว่า คุณยังไม่ใด้ลงมือทำเท่านั้นเอง
4. จัดโต๊ะของคุณให้เรียบร้อยชะ บุคคลที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ จะมีโต๊ะทำงานที่ว่างโล่ง
5. จงหาเวลา แทนที่จะรอให้มีเวลา
6. จงถือว่าสุขภาพคือทรัพย์สมบัติประการแรกที่มีค่าที่สุด
7. จงมีความเพียรอันบริสุทธ์ สติปัญญาที่เฉียบแหลม และร่างกายที่สมบูรณ์ จะนำมาซึ่งความสำเร็จตามเป้าหมาย
เนี่ยละครับการมีชีวิตของมนุษย์ทั่วไป ไม่เพียงแต่วิศวกรโยธา อย่างนายช่างเอเพื่อนๆ เป็นกัน บาย......
January 7, 2011
Cold-Applied Tape Coating ตอนที่ 4 (ตอนสุดท้าย) (ขั้นตอนการซ่อม Monotape หากเกิดความเสียหาย (Coating Repair))
เมื่อเกิดความเสียหายกับผิวท่อที่ได้รับการพันด้วย Monotape แล้วและจำเป็นต้องแก้ไข เนื่องจากไม่ผ่านการตรวจสอบด้วย Holiday Test จะต้องแก้ไขบริเวณที่ได้รับความเสียหายและต้องทำความสะอาดผิวใหม่พร้อมทั้งทา Primer ลงบนบริเวณที่ทำความสะอาดจากนั้นจึงพัน Monotape ลงบนบริเวณที่ได้รับความเสียหายรอบทั้งท่อและให้ทับแนวที่ไม่ได้รับความเสียหายออกไปข้างละประมาณ 2-4 นิ้ว เป็นอย่างน้อย ความหนาของเทปที่ใช้คือ 40 mils (1 มิลลิเมตร) จากนั้นจึงตรวจสอบด้วยการทำ Holiday Test อีกครั้ง (ทำไม่ดีก็ต้องแก้ไขและทำใหม่อีกครั้งเป็นเรื่องธรรมดา)
การป้องกันการกัดกร่อนวิธนี้จะใช้กับบริเวณตัวท่อ ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้งานที่มากกว่าวิธีอื่น คือ สามารถใช้ได้ทั้งที่โรงงานหรือจะใช้ที่หน้างานก็ได้และสามารถใช้งานแทนแบบเดิม คือ AWWA C 203 ได้ ซึ่งวิธี AWWA C 214 (Tape coating system for the exterior of steel water pipelines) จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. Primer เป็นของเหลวมีส่วนผสมหลัก Resins และ Rubber โดยมี Heptane และ Toluene ทำหน้าที่เป็นตัวละลาย Primer เป็นสารรองพื้น มีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างผิวเหล็กกับเนื้อ Wrapping Tape และป้องกันการเกิดสนิมของเนื้อเหล็ก
2. Inner Tape เป็น Tape ที่มีคุณสมบัติป้องกันการกัดกร่อนซึมซับน้ำต่ำ มีการยึดติดของเนื้อเทปกับผิวท่อสูง โดย Inner Tape ที่ใช้งานจะมีความหนา 20 mils (0.5 มิลลิเมตร) โดยส่วนมากจะเป็นเทปสีดำ
3. Outer Tape เป็น Tape ที่มีคุณสมบัติป้องกันแรงภายนอกที่มากระทำ ซึมซับน้ำต่ำ มีการยึดติดระหว่างเนื้อเทปสูง โดย Outer Tape ที่ใช้งานจะมีความหนา 30 mils (0.75 มิลลิเมตร) โดยส่วนมากจะเป็นเทปสีขาว
คุณสมบัติทั้ง Inner Tape และ Outer Tape จะต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของ AWWA จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้เช่นกัน
การใช้งาน (Coating Application)
1. การเตรียมผิว (Surface Preparation)
2. การทารองพื้น (Priming)
ทั้ง 2 ขั้นตอนนี้จะเหมือนกับมาตรฐาน AWWA C 209 ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
3. การพันเทปหุ้ม (Coating and Wroppping) เนื่องจากท่อเหล็กที่นำมาใช้งานจะมีตะเข็บแนวเชื่อมที่เกิดจากการขึ้นรูปของแผ่นเหล็ก นำมาม้วนเป็นตัวท่อและแนวตะเข็บนี้จะมี 2 แบบ คือ แบบตะเข็บตามแนวยาวของตัวท่อ (Longitudinal) และแบบตะเข็บเกลียว (Coil Splice Welds) ซึ่งจะต้องทารองพื้น (Primer) และติดแถบ Inner Tape หน้ากว้าง 4-6 นิ้ว ตามแนบตะเข็บเชื่อมนี้ก่อนแล้วจึงพันตัวท่อที่ได้ทา Primer แล้วโดยใช้เครื่องมือเพื่อการพัน Tape โดยเฉพาะกัน Inner Tape ซึ่งแรงดึงและรอยทางโค้งของแนว Tape จะสม่ำเสมอ และพันให้ทับแนวเดิมของ Inner Tape อย่างน้อย 1 นิ้ว (Overlap 1 นิ้ว) ไปจนตลอดหมดความยาวของท่อที่ต้องการพันเทป จากนั้นจึงใช้ Outer Tape พันทับบน Inner Tape โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นของ Inner Tape ใช้ใช้เครื่องมือเพื่อการพัน Tape โดยเฉพาะพันให้แรงดึงและรอยทางโค้งของแนวเทปสม่ำเสมอและพันให้ทับแนวเดิมของ Outer Tape อย่างน้อย 1 นิ้ว (Over Lap 1 นิ้ว) เช่นกัน พันไปจนตลอดความยาวของท่อตามที่ต้องการ ในกรณีที่เทปหมดม้วนแต่การพันยังไม่สิ้นสุดให้เริ่มม้วนใหม่ โดยทับส่วนปลายสุดของเทปเดิม 6 นิ้ว แล้วจึงพันต่อให้เสร็จตามแนวเดิม Inner Tape หนา 20 mils (0.5 มิลลิเมตร) Outer Tape หนา 30 mils (0.75 มิลลิเมตร) ซึ่งในปัจจุบันได้มีเครื่อง Wrapping Machine เพื่อใช้ในการพัน Inner Tape และ Outer Tape พร้อมกัน จึงสะดวกและเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
ส่วนในกรณีของการตรวจสอบและการซ่อมผิวจะเหมือนกับมาตรฐาน AWWA C 209 ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
รูปแสดงการใช้ Cold-Applied Tape Coating จริงในสนาม
หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยลองสอบถามจากโรงงานผู้ผลิตดูนะครับ มีหลายเจ้าด้วยกันบาย คลิกที่ Link ด้านล่างเลยครับ
Siam Steel Works Co., Ltd.
การป้องกันการกัดกร่อนวิธนี้จะใช้กับบริเวณตัวท่อ ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้งานที่มากกว่าวิธีอื่น คือ สามารถใช้ได้ทั้งที่โรงงานหรือจะใช้ที่หน้างานก็ได้และสามารถใช้งานแทนแบบเดิม คือ AWWA C 203 ได้ ซึ่งวิธี AWWA C 214 (Tape coating system for the exterior of steel water pipelines) จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. Primer เป็นของเหลวมีส่วนผสมหลัก Resins และ Rubber โดยมี Heptane และ Toluene ทำหน้าที่เป็นตัวละลาย Primer เป็นสารรองพื้น มีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างผิวเหล็กกับเนื้อ Wrapping Tape และป้องกันการเกิดสนิมของเนื้อเหล็ก
2. Inner Tape เป็น Tape ที่มีคุณสมบัติป้องกันการกัดกร่อนซึมซับน้ำต่ำ มีการยึดติดของเนื้อเทปกับผิวท่อสูง โดย Inner Tape ที่ใช้งานจะมีความหนา 20 mils (0.5 มิลลิเมตร) โดยส่วนมากจะเป็นเทปสีดำ
3. Outer Tape เป็น Tape ที่มีคุณสมบัติป้องกันแรงภายนอกที่มากระทำ ซึมซับน้ำต่ำ มีการยึดติดระหว่างเนื้อเทปสูง โดย Outer Tape ที่ใช้งานจะมีความหนา 30 mils (0.75 มิลลิเมตร) โดยส่วนมากจะเป็นเทปสีขาว
คุณสมบัติทั้ง Inner Tape และ Outer Tape จะต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของ AWWA จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้เช่นกัน
การใช้งาน (Coating Application)
1. การเตรียมผิว (Surface Preparation)
2. การทารองพื้น (Priming)
ทั้ง 2 ขั้นตอนนี้จะเหมือนกับมาตรฐาน AWWA C 209 ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
3. การพันเทปหุ้ม (Coating and Wroppping) เนื่องจากท่อเหล็กที่นำมาใช้งานจะมีตะเข็บแนวเชื่อมที่เกิดจากการขึ้นรูปของแผ่นเหล็ก นำมาม้วนเป็นตัวท่อและแนวตะเข็บนี้จะมี 2 แบบ คือ แบบตะเข็บตามแนวยาวของตัวท่อ (Longitudinal) และแบบตะเข็บเกลียว (Coil Splice Welds) ซึ่งจะต้องทารองพื้น (Primer) และติดแถบ Inner Tape หน้ากว้าง 4-6 นิ้ว ตามแนบตะเข็บเชื่อมนี้ก่อนแล้วจึงพันตัวท่อที่ได้ทา Primer แล้วโดยใช้เครื่องมือเพื่อการพัน Tape โดยเฉพาะกัน Inner Tape ซึ่งแรงดึงและรอยทางโค้งของแนว Tape จะสม่ำเสมอ และพันให้ทับแนวเดิมของ Inner Tape อย่างน้อย 1 นิ้ว (Overlap 1 นิ้ว) ไปจนตลอดหมดความยาวของท่อที่ต้องการพันเทป จากนั้นจึงใช้ Outer Tape พันทับบน Inner Tape โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นของ Inner Tape ใช้ใช้เครื่องมือเพื่อการพัน Tape โดยเฉพาะพันให้แรงดึงและรอยทางโค้งของแนวเทปสม่ำเสมอและพันให้ทับแนวเดิมของ Outer Tape อย่างน้อย 1 นิ้ว (Over Lap 1 นิ้ว) เช่นกัน พันไปจนตลอดความยาวของท่อตามที่ต้องการ ในกรณีที่เทปหมดม้วนแต่การพันยังไม่สิ้นสุดให้เริ่มม้วนใหม่ โดยทับส่วนปลายสุดของเทปเดิม 6 นิ้ว แล้วจึงพันต่อให้เสร็จตามแนวเดิม Inner Tape หนา 20 mils (0.5 มิลลิเมตร) Outer Tape หนา 30 mils (0.75 มิลลิเมตร) ซึ่งในปัจจุบันได้มีเครื่อง Wrapping Machine เพื่อใช้ในการพัน Inner Tape และ Outer Tape พร้อมกัน จึงสะดวกและเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
ส่วนในกรณีของการตรวจสอบและการซ่อมผิวจะเหมือนกับมาตรฐาน AWWA C 209 ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
รูปแสดงการใช้ Cold-Applied Tape Coating จริงในสนาม
หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยลองสอบถามจากโรงงานผู้ผลิตดูนะครับ มีหลายเจ้าด้วยกันบาย คลิกที่ Link ด้านล่างเลยครับ
Siam Steel Works Co., Ltd.
January 6, 2011
Cold-Applied Tape Coating ตอนที่ 3 (การตรวจสอบและทดสอบ (Inspeciton and Testing))
หลังจากพัน Monotape เสร็จแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ก่อนการใช้งานจริงเพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยวิธีที่เรียกว่า Holiday Test เป็นการทดสอบโดยใช้ความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า (High Voltage) ตรวจสอบหลังจากที่ได้ผ่านการพันตามวิธีที่ถูกต้องมาแล้ว ในกรณีที่ทำ Holiday Test แล้วเกิดการ Spark ของกระแสไฟฟ้าลงบนบริเวณผิวท่อแสดงว่าบริเวณนั้นไม่สามารถป้องกันการกัดกร่อนได้ (ความหนาของ Monotape หนาไม่พอหรือเกิดความบกพร่องขึ้น) และโดยทั่วไปท่อที่ฝังใต้ดินจะต้องผ่านการตรวจสอบโดยใช้ Holiday Test 100% เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถป้องกันการกัดกร่อนได้ เพราะการซ่อมแซมท่อหลังจากที่ได้ใช้งานไปแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น สำหรับบริเวณที่ผ่าน Holiday Test แล้วมีการ Spark จะต้องซ่อมแซมใหม่ตามวิธีการซ่อมและทำ Holiday Test อีกครั้งจนกระทั่งไม่มีการ Spark จึงจะใช้ได้แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการทดสอบสามารถหาได้จากสูตรดังนี้
โดยการใช้ความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า ของเครื่อง Holiday Test ใช้สมการหาค่าดังต่อไปนี้
>>> V = 1250 t <<<
เมื่อ
V = Voltage ในการทดสอบ (โวลต์)
t = ความหนาของ Monotape (mil)
รูปแสดงการใช้ Holiday Test ตรวจสอบท่อปากระฆัง Dia 1000 mm ที่พันด้วย Monotape
ติดตาม "ขั้นตอนการซ่อม Monotape หากเกิดความเสียหาย (Coating Repair)" ในตอนที่ 4 นะครับ
โดยการใช้ความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า ของเครื่อง Holiday Test ใช้สมการหาค่าดังต่อไปนี้
>>> V = 1250 t <<<
เมื่อ
V = Voltage ในการทดสอบ (โวลต์)
t = ความหนาของ Monotape (mil)
รูปแสดงการใช้ Holiday Test ตรวจสอบท่อปากระฆัง Dia 1000 mm ที่พันด้วย Monotape
ติดตาม "ขั้นตอนการซ่อม Monotape หากเกิดความเสียหาย (Coating Repair)" ในตอนที่ 4 นะครับ
Cold-Applied Tape Coating ตอนที่ 2 (การใช้งาน Coating Application)
ต่อกันเลยนะครับ สำหรับการใช้งาน Coating Application ในสนาม ต้องเตรียมอะไรบ้าง เพื่อให้การซ่อมรอยเชื่อมมีประสิทธิภาพสูงสุด
1. การเตรียมผิว (Surface Preparation) ท่อเหล็กที่นำมาใช้งานโดยมากมักจะมีคราบน้ำมัน แว๊กส์ และคราบสกปรกอย่างอื่น จึงต้องผ่านการทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกต่างๆ ออกก่อน โดยใช้การพ่นทราย แปรงลวดไฟฟ้าทำความสะอาดนอกจากนี้ในส่วนของแนวเชื่อมท่อ รอยต่อระหว่างท่อจะต้องไม่มี Slag ซึ่งต้องตรวจสอบก่อนทา Primer
รูปแสดงการเตรียมพื้นผิวให้สะอาดก่อนที่จะทารองพื้น
2. การทารองพื้น (Primming) โดยปกติ Primer จะสามารถใช้ได้โดยวิธีการทาลงบนผิวท่อหรือพ่นสเปร์ย์ได้ แต่จะต้องทำหลังจากได้ทำความสะอาดผิวท่อดีแล้ว ซึ่งในพื้นที่ 1 ตารางเมตรจะใช้ Primer ประมาณ 0.1-0.22 Litre และควรทาให้เลยเข้าไปในแนวเคลือบทั้งด้านซ้ายและขวาข้างละประมาณ 2-4 นิ้ว หลังจากที่ได้ทา Primer แล้วสามารถพันเทปทับได้ทันที
รูปแสดงการทา Primer บริเวณ Welded Joint ซึ่งต้องทาเลยแนวเคลือบผิว
3. การพันเทปหุ้ม (Coating and Wrapping) การพันท่อบริเวณ Welded Joint ด้วย Monotape จะพันลงบนผิวที่ได้ผ่านขั้นตอนที่ 1 และ 2 มาเรียบร้อยแล้ว โดยพันให้แรงดังและรอยทางโค้งของแนว Monotape สม่ำเสมอ พันให้ครอบคลุมบริเวณผิวด้านนอกทั้งหมดที่เป็นเนื้อเหล็ก นอกจากนี้ต้องพันให้เลยแนว Welede Joint ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาออกไปข้างละประมาณ 2-4 นิ้ว และขณะใช้งานถ้า Monotape หมดม้วนแต่การพันยังไม่สิ้นสุดให้ขึ้นม้วนใหม่ โดยทับส่วนปลายสุดของ Monotape ม้วนเดิมประมาณ 4-6 นิ้ว เป็นอย่างน้อยแล้วจึงพันต่อให้เสร็จตามแนวเดิม ซึ่ง Monotape ที่ใช้จะมีความหนาไม่ต่ำกว่า 40 mils (1 มิลลิเมตร) หรือบางครั้งจะใช้ Wrapping Maching ในการพัน Inner Outer Tape นะครับ เพื่อความรวดเร็ว
ลองอ่าน "วิธีการพันโมโนเทป (Monotape wrapping)" เพิ่มเติมนะครับ
รูปแสดงการเริ่มใช้ Monotape พันท่อปากระฆัง Dia 1000 mm
5 ท่อปากระฆัง Dia 1000 mm ที่พัน Monotape เรียบร้อย
ติดตาม "การตรวจสอบและทดสอบ (Inspeciton and Testing) Coating Application" ในตอนที่ 3 นะครับ
1. การเตรียมผิว (Surface Preparation) ท่อเหล็กที่นำมาใช้งานโดยมากมักจะมีคราบน้ำมัน แว๊กส์ และคราบสกปรกอย่างอื่น จึงต้องผ่านการทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกต่างๆ ออกก่อน โดยใช้การพ่นทราย แปรงลวดไฟฟ้าทำความสะอาดนอกจากนี้ในส่วนของแนวเชื่อมท่อ รอยต่อระหว่างท่อจะต้องไม่มี Slag ซึ่งต้องตรวจสอบก่อนทา Primer
รูปแสดงการเตรียมพื้นผิวให้สะอาดก่อนที่จะทารองพื้น
2. การทารองพื้น (Primming) โดยปกติ Primer จะสามารถใช้ได้โดยวิธีการทาลงบนผิวท่อหรือพ่นสเปร์ย์ได้ แต่จะต้องทำหลังจากได้ทำความสะอาดผิวท่อดีแล้ว ซึ่งในพื้นที่ 1 ตารางเมตรจะใช้ Primer ประมาณ 0.1-0.22 Litre และควรทาให้เลยเข้าไปในแนวเคลือบทั้งด้านซ้ายและขวาข้างละประมาณ 2-4 นิ้ว หลังจากที่ได้ทา Primer แล้วสามารถพันเทปทับได้ทันที
รูปแสดงการทา Primer บริเวณ Welded Joint ซึ่งต้องทาเลยแนวเคลือบผิว
3. การพันเทปหุ้ม (Coating and Wrapping) การพันท่อบริเวณ Welded Joint ด้วย Monotape จะพันลงบนผิวที่ได้ผ่านขั้นตอนที่ 1 และ 2 มาเรียบร้อยแล้ว โดยพันให้แรงดังและรอยทางโค้งของแนว Monotape สม่ำเสมอ พันให้ครอบคลุมบริเวณผิวด้านนอกทั้งหมดที่เป็นเนื้อเหล็ก นอกจากนี้ต้องพันให้เลยแนว Welede Joint ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาออกไปข้างละประมาณ 2-4 นิ้ว และขณะใช้งานถ้า Monotape หมดม้วนแต่การพันยังไม่สิ้นสุดให้ขึ้นม้วนใหม่ โดยทับส่วนปลายสุดของ Monotape ม้วนเดิมประมาณ 4-6 นิ้ว เป็นอย่างน้อยแล้วจึงพันต่อให้เสร็จตามแนวเดิม ซึ่ง Monotape ที่ใช้จะมีความหนาไม่ต่ำกว่า 40 mils (1 มิลลิเมตร) หรือบางครั้งจะใช้ Wrapping Maching ในการพัน Inner Outer Tape นะครับ เพื่อความรวดเร็ว
ลองอ่าน "วิธีการพันโมโนเทป (Monotape wrapping)"
รูปแสดงการเริ่มใช้ Monotape พันท่อปากระฆัง Dia 1000 mm
5 ท่อปากระฆัง Dia 1000 mm ที่พัน Monotape เรียบร้อย
ติดตาม "การตรวจสอบและทดสอบ (Inspeciton and Testing) Coating Application" ในตอนที่ 3 นะครับ
Cold-Applied Tape Coating ตอนที่ 1 (มารู้จักการเคลือบผิวท่อด้วย Cold-Applied Tape Coating กันเถอะ)
จากบทความที่ผ่านมาได้นำความรู้เกี่ยวกับ วิธีการพันโมโนเทป (Monotape wrapping) มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน วันนี้จะขอเล่าเกี่ยว "การเคลือบผิวท่อด้วย Cold-Applied Tape Coating" สำหรับงานวางท่อเหล็กใต้ดิน ตามมาตรฐาน AWWA ให้ได้ทราบกัน รายละเอียดเป็นอย่างไร ลองติดตามกันนะครับ
การใช้งานท่อเหล็กเพื่อการส่งน้ำจำเป็นต้องมีการป้องกันการกัดกร่อน เนื่องจากท่อเหล็กจะเกิดสนิมและผุกร่อนได้ง่ายเนื่องจากต้องสำผัสกับน้ำและและของเหลวงอื่นตลอดเวลที่ใช้งาน สำหรับงานวางท่อเหล็กอาจแบ่งได้ 2 ประเภทกว้างๆ คือ 1.) งานวางท่อเหล็กบนดิน (ผิวท่อจะสัมผัสกับอากาศเป็นส่วนใหญ่ นอกเหนือจากเวลาฝนตกและน้ำค้างลง)และ 2.) งานวางท่อเหล็กใต้ดิน กรณีงานวางท่อเหล็กบนดิน โดยทั่วไปจะใช้ Liquid Epoxy ทาบนตัวท่อเพื่อป้องกันสนิมและการถูกกรัดกร่อน ส่วนกรณีงานวางท่อเหล็กใต้ดินจะมีวิธีป้องกันการกัดกร่อนที่หลากหลายกว่า เช่น การใช้ Coal Tar Enamel ตามมาตรฐาน AWWA C 203 (AWWA : American Waterworks Association ได้รับรองมาตรฐานนี้เมื่อปี 2483) การใช้ Cold Applied Tape Coating AWWA C 214 (AWWA รับรองมาตรฐาน C 214 ปี 2526)
ซึ่งการใช้ Pastic Tape เกิดขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีพลาสติกโพลิเมอร์ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นนั่นเองเหล่านี้เป็นวิธีการเคลือบผิวนอกบริเวณตัวท่อ แต่ในการใช้งานจริงจะไม่สามารถเคลือบผิวนอกของตัวท่อได้ทั้งหมด เนื่องจากท่อที่นำมาใช้งานจะต้องมีการเชื่อมต่อกันของแต่ละท่อน ดังนั้น จึงต้องเหลือบริเวณส่วนปลายสุดของแต่ละด้าน (Cut Back) ไว้ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อท่อแต่ละท่อนได้ และในบริเวณของการเชื่อมต่อท่อนี้ (Welede Joint) สามารถใช้ Coal Tar Enamel AWWA C 203 ตามเดิม หรือใช้ Cold-Applied Tape Coating ตาม AWWA C 209 ได้ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงวิธี Cold-Applied Tape Coating ทั้ง 2 แบบ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายในการใช้งานไม่มีมลภาวะการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพทำได้ดีกว่า
รูปแสดงท่อน้ำที่เคลือบผิวด้วยวิธี Cold-Applied Tape Coating จะเห็นว่าด้านซ้ายและขวา จะมีเว้นระยะ Cut Back ไว้
การป้องกันการกัดกร่อนด้วยวิธีนี้ จะใช้กับบริเวณ Welded Joint Fitting และชิ้นส่วนพิเศษอื่นๆ ที่อยู่ใต้ดินโดยการใช้ Monotape พันให้ครอบคลุมทั้งหมดบริเวณผิวด้านนอกของชิ้นส่วนที่เป็นโลหะและสามารถใช้งานร่วมกับท่อที่เคลือบผิวด้านนอกด้วยวิธี Coal-Tar Enamel ทั้งในกรณีใช้งานใหม่และงานซ่อมแซมผิวรวมทั้งยังมีข้อดีกว่าหลายด้าน เช่น ไม่ต้องเตรียมวัตถุดิบ (การใช้ AWWA C 203 Coal-Tar Enamel ต้องเตรียมวัตถุดิบหลายขั้นตอน) ใช้เวลาหน้างานเพื่อเคลือบผิวลดลงครึ่งหนึ่งจากเดิม ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะกลิ่นฉุน และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งประชาชนในบริเวณใกล้เคียง การเคลือบท่อด้วยวิธี AWWA C209 (Cold-Applied Tape Coatings For the exterior of special sections, connection, and fittings for steel water pipelines) ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
1. Primer เป็นของเหลวมีส่วนผสมหลัก Resins และ Rubber โดยมี Heptane และ Toluene ทำหน้าที่เป็นตัวละลาย Primer เป็นสารรองพื้น มีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างผิวเหล็กกับเนื้อ Monotape และป้องกันการเกิดสนิมของเนื้อเหล็ก
2. Monotape จะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.)ส่วนผิวหน้า (Backing) เป็นอนุพันธ์ของ Polyolefin และ 2.)ส่วนของชั้นกาว (Adhesive Synthetic Resins) โดย Monotape ที่ใช้จะมีความหนา 40 mols (1 มิลลิเมตร) ซึ่ง Tape ที่ดีจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันการกัดกร่อน ซึมซับน้ำต่ำ ต้านทานแรงกระแทกมีการยึดติดของเนื้อเทปกับผิวท่อสูง คุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ต้องผ่านการทดสอบตามาตรฐานของ AWWA จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้
ติดตาม "การใช้งาน Coating Application" ในตอนที่ 2 นะครับ
การใช้งานท่อเหล็กเพื่อการส่งน้ำจำเป็นต้องมีการป้องกันการกัดกร่อน เนื่องจากท่อเหล็กจะเกิดสนิมและผุกร่อนได้ง่ายเนื่องจากต้องสำผัสกับน้ำและและของเหลวงอื่นตลอดเวลที่ใช้งาน สำหรับงานวางท่อเหล็กอาจแบ่งได้ 2 ประเภทกว้างๆ คือ 1.) งานวางท่อเหล็กบนดิน (ผิวท่อจะสัมผัสกับอากาศเป็นส่วนใหญ่ นอกเหนือจากเวลาฝนตกและน้ำค้างลง)และ 2.) งานวางท่อเหล็กใต้ดิน กรณีงานวางท่อเหล็กบนดิน โดยทั่วไปจะใช้ Liquid Epoxy ทาบนตัวท่อเพื่อป้องกันสนิมและการถูกกรัดกร่อน ส่วนกรณีงานวางท่อเหล็กใต้ดินจะมีวิธีป้องกันการกัดกร่อนที่หลากหลายกว่า เช่น การใช้ Coal Tar Enamel ตามมาตรฐาน AWWA C 203 (AWWA : American Waterworks Association ได้รับรองมาตรฐานนี้เมื่อปี 2483) การใช้ Cold Applied Tape Coating AWWA C 214 (AWWA รับรองมาตรฐาน C 214 ปี 2526)
ซึ่งการใช้ Pastic Tape เกิดขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีพลาสติกโพลิเมอร์ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นนั่นเองเหล่านี้เป็นวิธีการเคลือบผิวนอกบริเวณตัวท่อ แต่ในการใช้งานจริงจะไม่สามารถเคลือบผิวนอกของตัวท่อได้ทั้งหมด เนื่องจากท่อที่นำมาใช้งานจะต้องมีการเชื่อมต่อกันของแต่ละท่อน ดังนั้น จึงต้องเหลือบริเวณส่วนปลายสุดของแต่ละด้าน (Cut Back) ไว้ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อท่อแต่ละท่อนได้ และในบริเวณของการเชื่อมต่อท่อนี้ (Welede Joint) สามารถใช้ Coal Tar Enamel AWWA C 203 ตามเดิม หรือใช้ Cold-Applied Tape Coating ตาม AWWA C 209 ได้ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงวิธี Cold-Applied Tape Coating ทั้ง 2 แบบ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายในการใช้งานไม่มีมลภาวะการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพทำได้ดีกว่า
รูปแสดงท่อน้ำที่เคลือบผิวด้วยวิธี Cold-Applied Tape Coating จะเห็นว่าด้านซ้ายและขวา จะมีเว้นระยะ Cut Back ไว้
การป้องกันการกัดกร่อนด้วยวิธีนี้ จะใช้กับบริเวณ Welded Joint Fitting และชิ้นส่วนพิเศษอื่นๆ ที่อยู่ใต้ดินโดยการใช้ Monotape พันให้ครอบคลุมทั้งหมดบริเวณผิวด้านนอกของชิ้นส่วนที่เป็นโลหะและสามารถใช้งานร่วมกับท่อที่เคลือบผิวด้านนอกด้วยวิธี Coal-Tar Enamel ทั้งในกรณีใช้งานใหม่และงานซ่อมแซมผิวรวมทั้งยังมีข้อดีกว่าหลายด้าน เช่น ไม่ต้องเตรียมวัตถุดิบ (การใช้ AWWA C 203 Coal-Tar Enamel ต้องเตรียมวัตถุดิบหลายขั้นตอน) ใช้เวลาหน้างานเพื่อเคลือบผิวลดลงครึ่งหนึ่งจากเดิม ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะกลิ่นฉุน และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งประชาชนในบริเวณใกล้เคียง การเคลือบท่อด้วยวิธี AWWA C209 (Cold-Applied Tape Coatings For the exterior of special sections, connection, and fittings for steel water pipelines) ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
1. Primer เป็นของเหลวมีส่วนผสมหลัก Resins และ Rubber โดยมี Heptane และ Toluene ทำหน้าที่เป็นตัวละลาย Primer เป็นสารรองพื้น มีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างผิวเหล็กกับเนื้อ Monotape และป้องกันการเกิดสนิมของเนื้อเหล็ก
2. Monotape จะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.)ส่วนผิวหน้า (Backing) เป็นอนุพันธ์ของ Polyolefin และ 2.)ส่วนของชั้นกาว (Adhesive Synthetic Resins) โดย Monotape ที่ใช้จะมีความหนา 40 mols (1 มิลลิเมตร) ซึ่ง Tape ที่ดีจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันการกัดกร่อน ซึมซับน้ำต่ำ ต้านทานแรงกระแทกมีการยึดติดของเนื้อเทปกับผิวท่อสูง คุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ต้องผ่านการทดสอบตามาตรฐานของ AWWA จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้
ติดตาม "การใช้งาน Coating Application" ในตอนที่ 2 นะครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)