Custom Search

January 6, 2011

Cold-Applied Tape Coating ตอนที่ 1 (มารู้จักการเคลือบผิวท่อด้วย Cold-Applied Tape Coating กันเถอะ)

จากบทความที่ผ่านมาได้นำความรู้เกี่ยวกับ วิธีการพันโมโนเทป (Monotape wrapping) มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน วันนี้จะขอเล่าเกี่ยว "การเคลือบผิวท่อด้วย Cold-Applied Tape Coating" สำหรับงานวางท่อเหล็กใต้ดิน ตามมาตรฐาน AWWA ให้ได้ทราบกัน รายละเอียดเป็นอย่างไร ลองติดตามกันนะครับ

การใช้งานท่อเหล็กเพื่อการส่งน้ำจำเป็นต้องมีการป้องกันการกัดกร่อน เนื่องจากท่อเหล็กจะเกิดสนิมและผุกร่อนได้ง่ายเนื่องจากต้องสำผัสกับน้ำและและของเหลวงอื่นตลอดเวลที่ใช้งาน สำหรับงานวางท่อเหล็กอาจแบ่งได้ 2 ประเภทกว้างๆ คือ 1.) งานวางท่อเหล็กบนดิน (ผิวท่อจะสัมผัสกับอากาศเป็นส่วนใหญ่ นอกเหนือจากเวลาฝนตกและน้ำค้างลง)และ 2.) งานวางท่อเหล็กใต้ดิน กรณีงานวางท่อเหล็กบนดิน โดยทั่วไปจะใช้ Liquid Epoxy ทาบนตัวท่อเพื่อป้องกันสนิมและการถูกกรัดกร่อน ส่วนกรณีงานวางท่อเหล็กใต้ดินจะมีวิธีป้องกันการกัดกร่อนที่หลากหลายกว่า เช่น การใช้ Coal Tar Enamel ตามมาตรฐาน AWWA C 203 (AWWA : American Waterworks Association ได้รับรองมาตรฐานนี้เมื่อปี 2483) การใช้ Cold Applied Tape Coating AWWA C 214 (AWWA รับรองมาตรฐาน C 214 ปี 2526)

ซึ่งการใช้ Pastic Tape เกิดขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีพลาสติกโพลิเมอร์ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นนั่นเองเหล่านี้เป็นวิธีการเคลือบผิวนอกบริเวณตัวท่อ แต่ในการใช้งานจริงจะไม่สามารถเคลือบผิวนอกของตัวท่อได้ทั้งหมด เนื่องจากท่อที่นำมาใช้งานจะต้องมีการเชื่อมต่อกันของแต่ละท่อน ดังนั้น จึงต้องเหลือบริเวณส่วนปลายสุดของแต่ละด้าน (Cut Back) ไว้ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อท่อแต่ละท่อนได้ และในบริเวณของการเชื่อมต่อท่อนี้ (Welede Joint) สามารถใช้ Coal Tar Enamel AWWA C 203 ตามเดิม หรือใช้ Cold-Applied Tape Coating ตาม AWWA C 209 ได้ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงวิธี Cold-Applied Tape Coating ทั้ง 2 แบบ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายในการใช้งานไม่มีมลภาวะการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพทำได้ดีกว่า


รูปแสดงท่อน้ำที่เคลือบผิวด้วยวิธี Cold-Applied Tape Coating จะเห็นว่าด้านซ้ายและขวา จะมีเว้นระยะ Cut Back ไว้

การป้องกันการกัดกร่อนด้วยวิธีนี้ จะใช้กับบริเวณ Welded Joint Fitting และชิ้นส่วนพิเศษอื่นๆ ที่อยู่ใต้ดินโดยการใช้ Monotape พันให้ครอบคลุมทั้งหมดบริเวณผิวด้านนอกของชิ้นส่วนที่เป็นโลหะและสามารถใช้งานร่วมกับท่อที่เคลือบผิวด้านนอกด้วยวิธี Coal-Tar Enamel ทั้งในกรณีใช้งานใหม่และงานซ่อมแซมผิวรวมทั้งยังมีข้อดีกว่าหลายด้าน เช่น ไม่ต้องเตรียมวัตถุดิบ (การใช้ AWWA C 203 Coal-Tar Enamel ต้องเตรียมวัตถุดิบหลายขั้นตอน) ใช้เวลาหน้างานเพื่อเคลือบผิวลดลงครึ่งหนึ่งจากเดิม ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะกลิ่นฉุน และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งประชาชนในบริเวณใกล้เคียง การเคลือบท่อด้วยวิธี AWWA C209 (Cold-Applied Tape Coatings For the exterior of special sections, connection, and fittings for steel water pipelines) ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ

1. Primer เป็นของเหลวมีส่วนผสมหลัก Resins และ Rubber โดยมี Heptane และ Toluene ทำหน้าที่เป็นตัวละลาย Primer เป็นสารรองพื้น มีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างผิวเหล็กกับเนื้อ Monotape และป้องกันการเกิดสนิมของเนื้อเหล็ก
2. Monotape จะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.)ส่วนผิวหน้า (Backing) เป็นอนุพันธ์ของ Polyolefin และ 2.)ส่วนของชั้นกาว (Adhesive Synthetic Resins) โดย Monotape ที่ใช้จะมีความหนา 40 mols (1 มิลลิเมตร) ซึ่ง Tape ที่ดีจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันการกัดกร่อน ซึมซับน้ำต่ำ ต้านทานแรงกระแทกมีการยึดติดของเนื้อเทปกับผิวท่อสูง คุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ต้องผ่านการทดสอบตามาตรฐานของ AWWA จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้

ติดตาม "การใช้งาน Coating Application" ในตอนที่ 2 นะครับ

No comments:

Post a Comment