Custom Search

December 24, 2010

การดัดแปลงทำท่อโค้งในงานตัดบรรท่อประปา ตอนที่ 3 (สุดท้าย)

และแล้วก็มาถึงบทสุดท้ายแล้วนะครับ ซึ่งหากเพื่อนๆ ได้อ่านต้นฉบับในตอนที่ 2 แล้วจะพบว่าหัวใจสำคัญคือการทำโค้งดัดแปลงนั่นเอง ความสำคัญอยู่ที่การสำรวจแนวศูนย์กลางท่อที่วางใหม่และท่อเดิมที่ทำการตัดบรรจบ รวมทั้งการพิจารณาแนวท่อที่จะเชื่อมต่อท่อทั้งสอง ดังนั้นจึงควรต้องใช้ความละเอียดมากในการสำรวจและวัดค่าต่างๆ ในสนามให้ถูกต้อง แม่นยำ ซึ่งจะมีผลทำให้การทำโค้งดัดแปลงสำหรับงานตัดบรรจบมีขนาดถูกต้องสอดคล้องกับแนวท่อที่จะเชื่อมต่อกัน

โดยทั่วไปแล้วการพิจารณาออกแนวท่อจะต้องพยายามออกแบบให้แนวมีค่ามุมเบี่ยงเบนน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามอาจพบกรณีที่มุมเบี่ยงเบนของแนวและ/หรือระดับต่อมีค่ามากได้ เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างจำกัดไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะท่อจ่ายน้ำขนาดเล็ก

นอกเหนือจากงานตัดบรรจบท่อประปาแล้ว ยังสามารถนำวิธีการทำโค้งดัดแปลงไปใช้กับงานวางท่อประปาทั่วไป เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคต่างๆ ที่กีดขวางแนว และ/หรือระดับท่อได้ และยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานวางท่อข้ามคลองเกี่ยวกับการหาตำแหน่งศูนย์กลางท่อโค้งใต้ดิน ซึ่งทราบมุมเบี่ยงเบนจากขนาดโค้งมาตรฐานแล้ว ก็สามารถกำหนดจุดกึ่งกลาง Anchorage ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับงานตอกเข็ม (ตำแหน่งของเสาเข็ม) ได้ ทำให้การดำเนินงานก่อสร้างต่อเนื่องกล่าวคืองานตอกเสาเข็มสำหรับ Anchorage ก็สามารถดำเนินการไปพร้อมกับงานตอกเสาเข็ม Abutment และงานวางท่อใต้ดินบริเวณใกล้งานวางท่อข้ามคลองได้

เพื่อนๆ สามารถ Download ต้นฉบับได้จาก "การดัดแปลงทำท่อโค้งในงานตัดบรรท่อประปา ตอนที่ 2" ครับ

No comments:

Post a Comment