เมื่อเกิดความเสียหายกับผิวท่อที่ได้รับการพันด้วย Monotape แล้วและจำเป็นต้องแก้ไข เนื่องจากไม่ผ่านการตรวจสอบด้วย Holiday Test จะต้องแก้ไขบริเวณที่ได้รับความเสียหายและต้องทำความสะอาดผิวใหม่พร้อมทั้งทา Primer ลงบนบริเวณที่ทำความสะอาดจากนั้นจึงพัน Monotape ลงบนบริเวณที่ได้รับความเสียหายรอบทั้งท่อและให้ทับแนวที่ไม่ได้รับความเสียหายออกไปข้างละประมาณ 2-4 นิ้ว เป็นอย่างน้อย ความหนาของเทปที่ใช้คือ 40 mils (1 มิลลิเมตร) จากนั้นจึงตรวจสอบด้วยการทำ Holiday Test อีกครั้ง (ทำไม่ดีก็ต้องแก้ไขและทำใหม่อีกครั้งเป็นเรื่องธรรมดา)
การป้องกันการกัดกร่อนวิธนี้จะใช้กับบริเวณตัวท่อ ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้งานที่มากกว่าวิธีอื่น คือ สามารถใช้ได้ทั้งที่โรงงานหรือจะใช้ที่หน้างานก็ได้และสามารถใช้งานแทนแบบเดิม คือ AWWA C 203 ได้ ซึ่งวิธี AWWA C 214 (Tape coating system for the exterior of steel water pipelines) จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. Primer เป็นของเหลวมีส่วนผสมหลัก Resins และ Rubber โดยมี Heptane และ Toluene ทำหน้าที่เป็นตัวละลาย Primer เป็นสารรองพื้น มีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างผิวเหล็กกับเนื้อ Wrapping Tape และป้องกันการเกิดสนิมของเนื้อเหล็ก
2. Inner Tape เป็น Tape ที่มีคุณสมบัติป้องกันการกัดกร่อนซึมซับน้ำต่ำ มีการยึดติดของเนื้อเทปกับผิวท่อสูง โดย Inner Tape ที่ใช้งานจะมีความหนา 20 mils (0.5 มิลลิเมตร) โดยส่วนมากจะเป็นเทปสีดำ
3. Outer Tape เป็น Tape ที่มีคุณสมบัติป้องกันแรงภายนอกที่มากระทำ ซึมซับน้ำต่ำ มีการยึดติดระหว่างเนื้อเทปสูง โดย Outer Tape ที่ใช้งานจะมีความหนา 30 mils (0.75 มิลลิเมตร) โดยส่วนมากจะเป็นเทปสีขาว
คุณสมบัติทั้ง Inner Tape และ Outer Tape จะต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของ AWWA จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้เช่นกัน
การใช้งาน (Coating Application)
1. การเตรียมผิว (Surface Preparation)
2. การทารองพื้น (Priming)
ทั้ง 2 ขั้นตอนนี้จะเหมือนกับมาตรฐาน AWWA C 209 ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
3. การพันเทปหุ้ม (Coating and Wroppping) เนื่องจากท่อเหล็กที่นำมาใช้งานจะมีตะเข็บแนวเชื่อมที่เกิดจากการขึ้นรูปของแผ่นเหล็ก นำมาม้วนเป็นตัวท่อและแนวตะเข็บนี้จะมี 2 แบบ คือ แบบตะเข็บตามแนวยาวของตัวท่อ (Longitudinal) และแบบตะเข็บเกลียว (Coil Splice Welds) ซึ่งจะต้องทารองพื้น (Primer) และติดแถบ Inner Tape หน้ากว้าง 4-6 นิ้ว ตามแนบตะเข็บเชื่อมนี้ก่อนแล้วจึงพันตัวท่อที่ได้ทา Primer แล้วโดยใช้เครื่องมือเพื่อการพัน Tape โดยเฉพาะกัน Inner Tape ซึ่งแรงดึงและรอยทางโค้งของแนว Tape จะสม่ำเสมอ และพันให้ทับแนวเดิมของ Inner Tape อย่างน้อย 1 นิ้ว (Overlap 1 นิ้ว) ไปจนตลอดหมดความยาวของท่อที่ต้องการพันเทป จากนั้นจึงใช้ Outer Tape พันทับบน Inner Tape โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นของ Inner Tape ใช้ใช้เครื่องมือเพื่อการพัน Tape โดยเฉพาะพันให้แรงดึงและรอยทางโค้งของแนวเทปสม่ำเสมอและพันให้ทับแนวเดิมของ Outer Tape อย่างน้อย 1 นิ้ว (Over Lap 1 นิ้ว) เช่นกัน พันไปจนตลอดความยาวของท่อตามที่ต้องการ ในกรณีที่เทปหมดม้วนแต่การพันยังไม่สิ้นสุดให้เริ่มม้วนใหม่ โดยทับส่วนปลายสุดของเทปเดิม 6 นิ้ว แล้วจึงพันต่อให้เสร็จตามแนวเดิม Inner Tape หนา 20 mils (0.5 มิลลิเมตร) Outer Tape หนา 30 mils (0.75 มิลลิเมตร) ซึ่งในปัจจุบันได้มีเครื่อง Wrapping Machine เพื่อใช้ในการพัน Inner Tape และ Outer Tape พร้อมกัน จึงสะดวกและเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก
ส่วนในกรณีของการตรวจสอบและการซ่อมผิวจะเหมือนกับมาตรฐาน AWWA C 209 ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
รูปแสดงการใช้ Cold-Applied Tape Coating จริงในสนาม
หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยลองสอบถามจากโรงงานผู้ผลิตดูนะครับ มีหลายเจ้าด้วยกันบาย คลิกที่ Link ด้านล่างเลยครับ
Siam Steel Works Co., Ltd.
No comments:
Post a Comment