บทความนี้ผมได้สรุปคำแนะนำและประสบการณ์จากวิศวกรอาวุโสที่วิศวกรสมัยใหม่อย่างกระผม (และท่านอื่นๆ) น่าจะนำมาเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการปฏิบัติ ถูกผิดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
การบริหารโครงการวัตถุประสงค์หลัก คือ มุ่ง ผลสำเร็จของงานที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ยอมรับกันได้โดยทั่วไป ด้วยคุณธรรมและจริยธรรมภายใต้งบประมาณและกรอบเวลาที่กำหนดไว้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะนำมาซึ่งรายเหลืออันเป็นหัวใจทางด้านธุรกิจ (นี่คือความคิดที่เป็นวิศวกร ผู้ก้าวล่วงไปเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ)
จากข้อความข้างต้นคือบทนำที่เป็นหลักใหญ่ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติ เพราะเมื่อคราวใดที่คิดว่าตัวเองกำลังหลงทางผิดมุ่งแต่กำไรจนเลือดขึ้นหน้า (จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม) ให้ดูหลักข้างต้นแล้วจะไม่หลงทางขยายความเพิ่มเติมได้ ดังนี้
“อย่างมุ่งรวย จนลืมหลัก” นี่คือหลักของการบริหารโครงการก่อสร้าง
1. ผลงานต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิศวกรรม (ถ้ามันจะแย่จริงๆ ขอเป็นตามหลักวิชาช่างที่ดีก็เยี่ยมแล้ว)
2. คุณธรรมและจริยธรรม ตามหลักจรรยาบรรณของสภาวิศวกร
3. งบประมาณและกรอบเวลาควบคุมไม่ได้ ใช้ไม่เป็น อย่ามาคุยกว่าเก่ง
4. ทำและคิดอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (อย่าเอาเปรียบคนรุ่งหลัง ให้เขามีโอกาสสุขสบายในการอาศัยพักพิงบนโลกใบนี้บ้าง) ข้อนี้ กระผมชอบมาก
5. ทำเสร็จแล้ว.....นายชม.....เพื่อนชอบ.....ลูกน้องรัก.....ผู้รักคนเชียร์ (หากแต่ละ Project ทำเสร็จแล้ว คนส่วนมากที่เกี่ยวข้องกับตัวเราไม่เป็นเช่นนี้แสดงว่า Project ต่อไป เราต้องแก้ตัวหรือทำการบ้านให้มากขึ้น)
6. รายเหลือ ก็กำไรนั้นแหละ สมควรรับเท่าที่เป็นธรรม มีมากไปอาจไร้ที่ยืน (และไม่มีคนคุยด้วย จะว่าง่าย ๆ ก็ถือเอาเปรียบเขามากเกินไป)
โดยส่วนตัวผมแล้วผมเห็นคนส่วนมากคิดข้อ 6 ก่อนข้อ 1 เสมอ จนบางครั้งก็อดสูใจแทนไม่ได้ (อันนี้โดยส่วนตัวนะครับ) แต่อย่างไรก็ตามผมว่าคนเราทุกคนในโลกนี้ไมว่าจะมีอาชีพอะไรก็ตาม ตั้งแต่ขอทานจนถึงผู้บริหารระดับสูง) ก็ขอให้เป็นคนดีของสังคมนะครับ อย่าเบียดเบียนและทำให้คนอื่นเดือดร้อน เท่านี้ผมว่าก็ประเสริฐมากแล้วไม่แน่ใจว่าผมคิดถูกหรือเปล่านะครับ แล้วพบกันใหม่นะครับ
ข้อมูลอ้างอิง : COE Newsletter Volume 7 ISSUE 3 May-June 2009
No comments:
Post a Comment