Custom Search

September 26, 2009

Green Building (อาคารเขียว)

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการอาคารเขียว (Green Building) ขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.2551 โดยวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการอาคารเขียววาระ พ.ศ.2551-2553 มีดังต่อไปนี้
1.เพื่อจัดทำร่างหลักเกณฑ์ประเมินอาคารเขียว
2.เพื่อดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการ Thai Green Building Council ร่วมกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
3.เพื่อสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารเขียวในประเทศไทย
4.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านอาคารเขียว

สัดส่วนการประเมินอาคารเขียว (Green Building)
1.นวัตกรรม 5%
2.การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม 9%
3.สภาวะแวดล้อมภายในอาคาร 8%
4.วัสดุและการก่อสร้าง 11%
5.การบริหารจัดการอาคาร 5%
6.ผังบริเวณและ Land Scape 15%
7.การใช้น้ำ 15%
8.การใช้พลังงาน 32%

ปัจจุบันหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว (Green Building) ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมากเป็นของ USGBC (U.S.Green Building Council) ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Envirronmental Design Certification Program) ขณะเดียวกันร่างหลักเกณฑ์ฯ ที่คณะกรรมการอาคารเขียว (Green Building) จัดทำขึ้นมีการอิงหลักเกณฑ์เดียวกับ LEED เพียงแต่ในเบื้องต้นพยายามเน้นให้ใช้วัสดุภายในประเทศไทย เนื่องจากการใช้วัสดุที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีการขนส่งไกล ทำให้เสียค่าใช้จ่าย และขัดต่อหลักเกณฑ์การห้ามขนส่งสินค้าเกินกว่า 500 ไมล์ ดังนั้น ร่างฯ ดังกล่าวที่จัดทำขึ้นจะได้พยายามให้เป็นไปตามความเหมาะสม และความพร้อมของประเทศไทย ในความเป็นจริง การสร้างอาคารเขียว (Green Building) ไม่ใช่เรื่องที่สลับซับซ้อนแต่อย่างใด มีหลักการเบื้องต้น เช่น

- การออกแบบและก่อสร้างอาคารที่ห่างจากระบบจนส่งมวลชนไม่เกิน 500 เมตร และควรมีรถประจำทางผ่านอย่างน้อย 2 สาย
- มีพื้นที่โล่งไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่โครงการ
- บริเวณพื้นที่โล่งต้องมีต้นไม่อย่างน้อย 1 ต้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 100 ตารางเมตร โดยห้ามใช้ต้นไม้ที่ขุดย้ายมาจากที่อื่นแต่สามารถใช้ต้นไม้ที่มาจากการเพาะชำได้
- หากมี Roof garden ให้ปรับเป็นพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวด้วย
- มีโถสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ 90-100% ของจำนวนทั้งหมด
- ใช้ก๊อกน้ำปิด-เปิดอัตโนมัติกว่า 90%
- รีไซเคิลน้ำทิ้ง 30-75% ของปริมาณน้ำทิ้งทั้งหมด
- ไฟฟ้าและแสงสว่างของอาคารไม่เกิน 14 วัตต์ต่อตารางเมตร เป็นต้น
- และแนวคิดอื่นๆ ที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ

From: COE Newsletter Volume 7 ISSUE 3 May-June 2009

No comments:

Post a Comment