สวัสดีทุกท่าน ผมได้ไปสิ่งก่อสร้างตอนที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ โอลิมปิค 2008 คิดว่าเพื่อนๆ หลายท่านคงยังไม่ทราบว่า สุดยอดสิ่งก่อสร้างที่ประเทศจีน เตรียมไว้ให้ชาวโลกได้ยลโฉม สู่การเปิดประตูต้อนรับสู่ประเทศจีนมีอะไรบ้าง ผมก็เลยจะพาเพื่อนๆ ไปชมกันเลยนะครับ ว่าเขามีสถาปัตยกรรมอะไรเริ่ดๆ ไว้อวดสายตาชาวโลกกันบ้าง
1. สนามบินนานาชาติปักกิ่ง (Beijing Capital International Airport)
ด้วยสนามบินโฉมใหม่ที่มีขนาดกว่า 1 ล้านตารางเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริกานี้ เป็นฝีมือของผู้ออกแบบสนามบินเช็กแลพก๊อกของฮ่องกงด้วย นั่นคือ Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทาง ที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด Foster ได้แบ่งอาคารที่กว้างขว้างใหญ่โตของสนามบินนานาชาติปักกิ่งออกเป็น 2 ข้าง ทอดตัวจากทิศใต้ไปสู่ทิศตะวันออก เพื่อช่วยลดไอร้อนจากแสงอาทิตย์ แต่ติดสกายไลท์ให้แสงแดดละมุนละไมได้ฉายส่องเข้ามา พร้อมทั้งใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัว สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 43 ล้านคนในปีแรก และเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015
2. เดอะคอมมูน (The Commune) – กรุงปักกิ่ง
เดอะคอมมูน (The Commune) เกิดขึ้นตามความตั้งใจของคู่รักนักพัฒนาเรียลเอสเตท จางซิน และพานซื่ออี๋ ที่ลงทุนควักกระเป๋าให้นักสถาปัตย์ชั้นนำชาวเอเชีย 12 คน คนละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเนรมิตเฮาส์คอมเพล็กซ์หรูที่มีกลิ่นอายกำแพงเมืองจีนขึ้น ปัจจุบัน เดอะคอมมูน เปิดให้บริการแล้วในส่วนที่เป็นโฮเทลบูติค ภายใต้การบริหารของเครือโรงแรมเคมปินสกี้ จากเยอรมนี ซึ่งยังมีโครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีก เฟสแรกสร้างเสร็จเมื่อ 2002 และทั้งโครงการจะเสร็จสิ้นในปี 2010
3. ศูนย์กลางการเงินของโลกเซี่ยงไฮ้ (The world's financial hub Shanghai.)
ศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ของโลก กำลังจะอุบัติขึ้นที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ที่เขตการเงินหลู่เจียจุ้ย ในเขตผู่ตง ในรูปโฉมของตึกกระจกสูงเสียดฟ้า 101 ชั้น Kohn Pedersen Fox Architects ผู้ออกแบบเล่าว่า การสร้างให้ตึกต้านทานแรงลมได้ ถือเป็นความท้าทายของงานนี้ ในที่สุดจึงได้ออกแบบให้ยอดตึกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมเจาะช่องตรงชั้นที่ 100 ซึ่งนอกจากจะปรับเป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดในโลกแล้ว ยังสามารถบรรเทาแรงลม ลดการแกว่งตัวไปมาของตัวตึกได้ด้วย
4. สระว่ายน้ำแห่งชาตินครปักกิ่ง (National Swimming Pool Beijing)
สระว่ายน้ำแห่งชาตินี้ สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 โดยมีรูปลักษณ์เหนือจินตนาการคล้าย “ก้อนน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่” ซึ่ง PTW and Ove Arup ออกแบบโดยใช้วัสดุเทฟลอนทำเป็นโครงร่าง เน้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะนำมาใช้เดินเครื่องกรองน้ำเสียของสระน้ำที่ใช้เติมในสระจะถูกกักเก็บ ไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ฝั่งไว้ใต้ดิน นอกจากนั้น เพื่อให้ดูเหมือนน้ำที่สุด สถาปนิกยังใช้เทคโนโลยีจากงานวิจัยของนักฟิสิกส์จาก Dublin’s Trinity College ที่สามารถทำให้กำแพงอาคารดูเหมือนฟองน้ำที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนอกจากจะทำสระว่ายน้ำแห่งแดนมังกรนี้ดูดีเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังสามารถต้านทานกับแรงสั่นสะเทือนอันเกิดจากแผ่นดินไหวได้ด้วย
5. สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งชาติ (CCTV) – นครปักกิ่ง
อาคารสำนักงานใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี มีรูปลักษณ์ที่แหวกแนวไปจากตึกระฟ้าทั่วไป โดยเกิดจากสองอาคารที่ตั้งมุมฉากต่อเข้าหากัน มองดูเหมือนอุโมงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยกระจายแรงลมที่ปะทะกับตึกได้เป็นอย่างดี ตึกใหม่นี้ออกแบบโดย Rem Koolhass และ Ole Scheeren ส่วนวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้างคือ Ove Arup
6. Linked Hybid – นครปักกิ่ง
สถาปัตยกรรมแห่งที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ Linked Hybid เป็นที่ตั้งของบ้าน 2,500 หลัง อพาร์ทเม้นท์ 700 ห้อง บนเนื้อที่ขนาด 1.6 ล้านตารางฟุต ถือเป็นตึกใหญ่สุดในโลกที่มีใช้ระบบชีวภาพในการทำความเย็นและให้ความอุ่น เพื่อรักษาอากาศทั้ง 8 ตึกให้คงที่ ในชั้นที่ 20 สร้างเป็นวงแหวน ‘บริการ’ ที่เชื่อมต่อกันทุกตึก ครบครันด้วยบริการต่างๆ ทั้งซักผ้ายันร้านกาแฟ Steven Holl และ Li Hu ยังออกแบบให้ ฝั่งท่อน้ำสองสายลึกลงไปใต้ดิน 100 เมตร สำหรับให้น้ำไหลเวียน ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องกระจายความร้อน และเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ ที่ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าทำน้ำเดือดหรือแอร์ทำความเย็น ขณะเดียวกัน ยังมีระบบบำบัดน้ำเสีย ที่จะรวบรวมน้ำจากห้องครัวและอ่างน้ำทั่วอาคาร มาหมุนเวียนใช้ใหม่ในห้องส้วม
7. เมืองเศรษฐกิจตงถัน –เจียงซู
เมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่ของแดนมังกรอยู่ระหว่างวางแผน คาดว่าเฟสแรกจะเสร็จปี 2010 ออกแบบและพัฒนาโดย ซ่างไห่ อินตัสเทรียล คอร์ป ที่คาดว่าจะมีขนาดเทียบเท่ากับเกาแมนฮัตตัน ตั้งอยู่บนเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน กลางลำน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ใกล้กับมหานครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2040
อย่างไรก็ตาม เฟสแรกของโครงการนี้ จะเรียบร้อยก่อนที่งานเอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้จะเปิดฉากขึ้นในปี 2010 ซึ่งจะมีประชากรราว 50,000 คน เข้าอยู่อาศัยที่นี้ จากนั้นอีก 5 ปี ระบบพิเศษต่างๆจะเริ่มใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบจัดการน้ำเสีย และการหมุนเวียนพลังงานมาใช้ใหม่พร้อมด้วยถนนสายใหญ่ที่จะเชื่อตรงสู่นคร เซี่ยงไฮ้อย่างสะดวกสบาย
8. สนามกีฬาโอลิมปิก – นครปักกิ่ง
สนามกีฬานานาชาติของ Herzog & de Meuron ในปักกิ่งนี้พยายามที่จะคิดออกแบบใหม่ให้เอื้ออำนวยต่อสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน มากขึ้น สถาปนิกจากสวิสเซอร์แลนด์ Herzog & de Meuron ต้องการที่จะช่องระบายอากาศตามธรรมชาติ ในสนามกีฬาโครงสร้าง 91,000 ที่นั่ง อาจถือได้ว่าเป็นสนามกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ สนามกีฬาดังกล่าวจะเป็นที่ซึ่งใช้จัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันโอลิมปิก 2008 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ ”รังนก” (Bird Net) ที่มีโครงตาข่ายเหล็กสีเทาๆเหมือนกิ่งไม้ ห่อหุ้มเพดานและผนังอาคารที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใส อัฒจันทร์มีลักษณะรูปทรงชามสีแดง ซึ่งดูคล้ายกับพระราชวังต้องห้ามของจีน ภาพโครงสร้างของสนามกีฬาแห่งนี้ จึงดูคล้ายพระราชวังสีแดง ที่อยู่ภายในรั้วกำแพงสีเทาเขียว ซึ่งให้กลิ่นอายงดงามแบบตะวันออก สำหรับบันไดภายในสนามกีฬาถูกสร้างให้กลมกลืนกับโครงตาข่าย ซึ่งให้ภาพลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเอกภาพ
9. สะพานตงไห่ –เชื่อมเซี่ยงไฮ้ กับ เกาะหยังซัน
สะพานข้ามทะเลแห่งแรกของจีน ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อเดือนธันวาคมปี 2005 สะพานดังกล่าวเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เกียง ใช้เงินลงทุนราว 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนโครงสร้างหลักมีความยาว 32.5 กิโลเมตร กว้าง 31.5 เมตร มีทางรถวิ่ง 6 เลน และเพื่อความปลอดภัยในการรับมือกับพายุไต้ฝุ่นและคลื่นลมแรง สะพานตงไห่ถูกออกแบบให้เป็นรูปตัวเอส (S) เชื่อมจากอ่าวหลู่หูในเขตหนันฮุ่ยเมืองเซี่ยงไฮ้ ข้ามอ่าวหังโจว ไปยังเกาะเสี่ยวหยังซันในมณฑลเจ้อเจียง ที่ได้วางแผนไว้ให้เป็นท่าเรือการค้าเสรีแห่งแรกของจีน (และจะเป็นท่าคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก) ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2010
10. โรงละครแห่งชาตินครปักกิ่ง (Beijing National Theater)
ตั้งอยู่กลางนครปักกิ่ง ใกล้กับจัตุรัสเทียนอันเหมิน มีเนื้อที่ 490,485 ตารางฟุต มีกำหนดเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2008 โครงสร้างภายนอกประกอบขึ้นจากกระจกผสมไทเทเนี่ยม ดูคล้ายกับทะเลสาบ
Custom Search
September 30, 2009
September 27, 2009
การบริหารโครงการของ Old Engineer (Project Management of old Engineer)
บทความนี้ผมได้สรุปคำแนะนำและประสบการณ์จากวิศวกรอาวุโสที่วิศวกรสมัยใหม่อย่างกระผม (และท่านอื่นๆ) น่าจะนำมาเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการปฏิบัติ ถูกผิดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
การบริหารโครงการวัตถุประสงค์หลัก คือ มุ่ง ผลสำเร็จของงานที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ยอมรับกันได้โดยทั่วไป ด้วยคุณธรรมและจริยธรรมภายใต้งบประมาณและกรอบเวลาที่กำหนดไว้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะนำมาซึ่งรายเหลืออันเป็นหัวใจทางด้านธุรกิจ (นี่คือความคิดที่เป็นวิศวกร ผู้ก้าวล่วงไปเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ)
จากข้อความข้างต้นคือบทนำที่เป็นหลักใหญ่ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติ เพราะเมื่อคราวใดที่คิดว่าตัวเองกำลังหลงทางผิดมุ่งแต่กำไรจนเลือดขึ้นหน้า (จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม) ให้ดูหลักข้างต้นแล้วจะไม่หลงทางขยายความเพิ่มเติมได้ ดังนี้
“อย่างมุ่งรวย จนลืมหลัก” นี่คือหลักของการบริหารโครงการก่อสร้าง
1. ผลงานต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิศวกรรม (ถ้ามันจะแย่จริงๆ ขอเป็นตามหลักวิชาช่างที่ดีก็เยี่ยมแล้ว)
2. คุณธรรมและจริยธรรม ตามหลักจรรยาบรรณของสภาวิศวกร
3. งบประมาณและกรอบเวลาควบคุมไม่ได้ ใช้ไม่เป็น อย่ามาคุยกว่าเก่ง
4. ทำและคิดอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (อย่าเอาเปรียบคนรุ่งหลัง ให้เขามีโอกาสสุขสบายในการอาศัยพักพิงบนโลกใบนี้บ้าง) ข้อนี้ กระผมชอบมาก
5. ทำเสร็จแล้ว.....นายชม.....เพื่อนชอบ.....ลูกน้องรัก.....ผู้รักคนเชียร์ (หากแต่ละ Project ทำเสร็จแล้ว คนส่วนมากที่เกี่ยวข้องกับตัวเราไม่เป็นเช่นนี้แสดงว่า Project ต่อไป เราต้องแก้ตัวหรือทำการบ้านให้มากขึ้น)
6. รายเหลือ ก็กำไรนั้นแหละ สมควรรับเท่าที่เป็นธรรม มีมากไปอาจไร้ที่ยืน (และไม่มีคนคุยด้วย จะว่าง่าย ๆ ก็ถือเอาเปรียบเขามากเกินไป)
โดยส่วนตัวผมแล้วผมเห็นคนส่วนมากคิดข้อ 6 ก่อนข้อ 1 เสมอ จนบางครั้งก็อดสูใจแทนไม่ได้ (อันนี้โดยส่วนตัวนะครับ) แต่อย่างไรก็ตามผมว่าคนเราทุกคนในโลกนี้ไมว่าจะมีอาชีพอะไรก็ตาม ตั้งแต่ขอทานจนถึงผู้บริหารระดับสูง) ก็ขอให้เป็นคนดีของสังคมนะครับ อย่าเบียดเบียนและทำให้คนอื่นเดือดร้อน เท่านี้ผมว่าก็ประเสริฐมากแล้วไม่แน่ใจว่าผมคิดถูกหรือเปล่านะครับ แล้วพบกันใหม่นะครับ
ข้อมูลอ้างอิง : COE Newsletter Volume 7 ISSUE 3 May-June 2009
ได้รับแล้ว!!! เช็คช่วยชาติ 2000 (check 2000)
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมไม่ได้เขียนความรู้เกี่ยวกับทางด้านวิศวกรรมใดๆ เนื่องมาจาก วันนี้ผมปลื้มสุดๆ ได้รับเงิน 2000 บาท จาก check 2000 หรือ cheque 2000 หรือ 2000 baht cheque หรือ เช็ค ช่วย ชาติ 2000 หรือ .... ที่มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่จะเรียก ที่ทางหน่วยงานต้นสังกัดรับมาแล้วแจกให้พนักงานทุกท่านที่มีสิทธิ์ได้รับเช่นผม ผมเพิ่งได้รับเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมานี่เองครับ กะว่าจะยังไม่นำไปขึ้นเงิน รอไว้ให้นานที่สุด (เท่าที่จะทำได้ แต่ก็คงไม่เกิน 60 วัน 555..) ผมคิดว่าเงินจำนวนนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก กับผู้มีรายได้น้อยอย่างผม ผมก็ขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะนายกรัฐมนตรี รมว.คลัง หน่วยงานต้นสังกัด เจ้าหน้าที่ธุรการที่ไปรับมาแจก มา ณ โอกาศนี้ครับ
อธิบายเกี่ยวกับ "เช็คช่วยชาติ 2000 (check 2000)" นิดหนึ่งครับ ออกให้โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ระบุชื่อผู้รับและหมายเลขประจำตัวประชาชน, หน่วยงานต้นสังกัด, ส่วนผู้มีอำนาจลงนามก็เป็นหัวหน้าสูงสุดของหน่วยงาน และที่สำคัญคือ ระบุคำว่า ยกเว้นอากร อยู่ด้านช้ายมือด้วยนะครับ ดูรูปประกอบนะครับ
หากท่านใดต้องการ check ใบนี้เพื่อไปเพิ่มมูลค่าหรือนำไปร่วมโปรโมชั่นอื่นๆ ติดต่อนะครับ Bye...
อธิบายเกี่ยวกับ "เช็คช่วยชาติ 2000 (check 2000)" นิดหนึ่งครับ ออกให้โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ระบุชื่อผู้รับและหมายเลขประจำตัวประชาชน, หน่วยงานต้นสังกัด, ส่วนผู้มีอำนาจลงนามก็เป็นหัวหน้าสูงสุดของหน่วยงาน และที่สำคัญคือ ระบุคำว่า ยกเว้นอากร อยู่ด้านช้ายมือด้วยนะครับ ดูรูปประกอบนะครับ
หากท่านใดต้องการ check ใบนี้เพื่อไปเพิ่มมูลค่าหรือนำไปร่วมโปรโมชั่นอื่นๆ ติดต่อนะครับ Bye...
September 26, 2009
Green Building (อาคารเขียว)
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการอาคารเขียว (Green Building) ขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ.2551 โดยวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการอาคารเขียววาระ พ.ศ.2551-2553 มีดังต่อไปนี้
1.เพื่อจัดทำร่างหลักเกณฑ์ประเมินอาคารเขียว
2.เพื่อดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการ Thai Green Building Council ร่วมกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
3.เพื่อสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารเขียวในประเทศไทย
4.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านอาคารเขียว
สัดส่วนการประเมินอาคารเขียว (Green Building)
1.นวัตกรรม 5%
2.การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม 9%
3.สภาวะแวดล้อมภายในอาคาร 8%
4.วัสดุและการก่อสร้าง 11%
5.การบริหารจัดการอาคาร 5%
6.ผังบริเวณและ Land Scape 15%
7.การใช้น้ำ 15%
8.การใช้พลังงาน 32%
ปัจจุบันหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว (Green Building) ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมากเป็นของ USGBC (U.S.Green Building Council) ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Envirronmental Design Certification Program) ขณะเดียวกันร่างหลักเกณฑ์ฯ ที่คณะกรรมการอาคารเขียว (Green Building) จัดทำขึ้นมีการอิงหลักเกณฑ์เดียวกับ LEED เพียงแต่ในเบื้องต้นพยายามเน้นให้ใช้วัสดุภายในประเทศไทย เนื่องจากการใช้วัสดุที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีการขนส่งไกล ทำให้เสียค่าใช้จ่าย และขัดต่อหลักเกณฑ์การห้ามขนส่งสินค้าเกินกว่า 500 ไมล์ ดังนั้น ร่างฯ ดังกล่าวที่จัดทำขึ้นจะได้พยายามให้เป็นไปตามความเหมาะสม และความพร้อมของประเทศไทย ในความเป็นจริง การสร้างอาคารเขียว (Green Building) ไม่ใช่เรื่องที่สลับซับซ้อนแต่อย่างใด มีหลักการเบื้องต้น เช่น
- การออกแบบและก่อสร้างอาคารที่ห่างจากระบบจนส่งมวลชนไม่เกิน 500 เมตร และควรมีรถประจำทางผ่านอย่างน้อย 2 สาย
- มีพื้นที่โล่งไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่โครงการ
- บริเวณพื้นที่โล่งต้องมีต้นไม่อย่างน้อย 1 ต้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 100 ตารางเมตร โดยห้ามใช้ต้นไม้ที่ขุดย้ายมาจากที่อื่นแต่สามารถใช้ต้นไม้ที่มาจากการเพาะชำได้
- หากมี Roof garden ให้ปรับเป็นพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวด้วย
- มีโถสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ 90-100% ของจำนวนทั้งหมด
- ใช้ก๊อกน้ำปิด-เปิดอัตโนมัติกว่า 90%
- รีไซเคิลน้ำทิ้ง 30-75% ของปริมาณน้ำทิ้งทั้งหมด
- ไฟฟ้าและแสงสว่างของอาคารไม่เกิน 14 วัตต์ต่อตารางเมตร เป็นต้น
- และแนวคิดอื่นๆ ที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ
From: COE Newsletter Volume 7 ISSUE 3 May-June 2009
1.เพื่อจัดทำร่างหลักเกณฑ์ประเมินอาคารเขียว
2.เพื่อดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการ Thai Green Building Council ร่วมกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
3.เพื่อสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารเขียวในประเทศไทย
4.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านอาคารเขียว
สัดส่วนการประเมินอาคารเขียว (Green Building)
1.นวัตกรรม 5%
2.การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม 9%
3.สภาวะแวดล้อมภายในอาคาร 8%
4.วัสดุและการก่อสร้าง 11%
5.การบริหารจัดการอาคาร 5%
6.ผังบริเวณและ Land Scape 15%
7.การใช้น้ำ 15%
8.การใช้พลังงาน 32%
ปัจจุบันหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว (Green Building) ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมากเป็นของ USGBC (U.S.Green Building Council) ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Envirronmental Design Certification Program) ขณะเดียวกันร่างหลักเกณฑ์ฯ ที่คณะกรรมการอาคารเขียว (Green Building) จัดทำขึ้นมีการอิงหลักเกณฑ์เดียวกับ LEED เพียงแต่ในเบื้องต้นพยายามเน้นให้ใช้วัสดุภายในประเทศไทย เนื่องจากการใช้วัสดุที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีการขนส่งไกล ทำให้เสียค่าใช้จ่าย และขัดต่อหลักเกณฑ์การห้ามขนส่งสินค้าเกินกว่า 500 ไมล์ ดังนั้น ร่างฯ ดังกล่าวที่จัดทำขึ้นจะได้พยายามให้เป็นไปตามความเหมาะสม และความพร้อมของประเทศไทย ในความเป็นจริง การสร้างอาคารเขียว (Green Building) ไม่ใช่เรื่องที่สลับซับซ้อนแต่อย่างใด มีหลักการเบื้องต้น เช่น
- การออกแบบและก่อสร้างอาคารที่ห่างจากระบบจนส่งมวลชนไม่เกิน 500 เมตร และควรมีรถประจำทางผ่านอย่างน้อย 2 สาย
- มีพื้นที่โล่งไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่โครงการ
- บริเวณพื้นที่โล่งต้องมีต้นไม่อย่างน้อย 1 ต้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 100 ตารางเมตร โดยห้ามใช้ต้นไม้ที่ขุดย้ายมาจากที่อื่นแต่สามารถใช้ต้นไม้ที่มาจากการเพาะชำได้
- หากมี Roof garden ให้ปรับเป็นพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวด้วย
- มีโถสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ 90-100% ของจำนวนทั้งหมด
- ใช้ก๊อกน้ำปิด-เปิดอัตโนมัติกว่า 90%
- รีไซเคิลน้ำทิ้ง 30-75% ของปริมาณน้ำทิ้งทั้งหมด
- ไฟฟ้าและแสงสว่างของอาคารไม่เกิน 14 วัตต์ต่อตารางเมตร เป็นต้น
- และแนวคิดอื่นๆ ที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ
From: COE Newsletter Volume 7 ISSUE 3 May-June 2009
Micro Hydro Turbine Generator (MHTG)
สวัสดีเพื่อนๆ ทุกท่านนะครับ ผมต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้เข้ามาอัพเดทข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มเติมให้เพื่อนๆ เพราะว่าช่วงนี้ผมงานเยอะเหลือเกิน เพราะงานโครงการฯ เข้ามาใหม่ 2-3 สัญญา ต้องเตรียมงานงานเอกสารเยอะมาก แบบว่าเมื่อมีงานก็ต้องทำนะ และตัวผมเองก็มองว่าการทำงานเป็นกำไรของชีวิต วันนี้ผมมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ ของการประปานครหลวงมาให้เพื่อนได้ลองอ่านกัน แต่ถ้าดูจากหัวข้อเรื่องแล้วเพื่อนๆ อาจจะงงกันว่า...คืออะไรหว่า ว่าแล้วก็ลองอ่านพร้อมกันเลยนะครับ
ระบบการจ่ายน้ำของการประปานครหลวง
สถานีสูบจ่ายน้ำเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจ่ายน้ำประปาซึ่งมีความสำคัญ โดยเป็นสถานีที่เก็บและสำรองน้ำประปาที่ได้จากระบบผลิต เพื่อนำเข้าสู่ระบบสูบส่งน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ ตามพฤติกรรมการใช้น้ำที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา โดยทำให้ผู้ใช้น้ำสามารถใช้น้ำประปาได้อย่างไม่ติดขัดและสม่ำเสมอ
สำหรับสถานีสูบจ่ายน้ำของการประปานครหลวง ประกอบด้วย สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว ลาดกระบัง พหลโยธิน มีนบุรี บางพลี สำโรง คลองเตย ลุมพินี เพชรเกษม ท่าพระ และราษฎร์บูรณะ เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของฝ่ายสถานีสูบจ่ายน้ำ สายงานผลิตและส่งน้ำ (ฝสน.ชวก.(สจ.))
ภาพแสดงระบบการจ่ายน้ำของการประปานครหลวง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
Micro Hydro Turbine Generator : MHTG
เนื่องด้วยนโยบายการอนุรักษ์พลังงานของการประปานครหลวง สายงานผลิตและส่งน้ำจึงมีความคิดในการลดค่าพลังงานที่ใช้ในระบบการจ่ายน้ำ ซึ่งต้องมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบอย่างมาก
ภาพแสดงระบบส่งน้ำของการประปานครหลวงไปยังสถานีสูบจ่ายน้ำต่างๆ
เมื่อทำการพิจารณาถึงระบบส่งน้ำ จากโรงงานผลิตน้ำบางเขนผ่านระบบส่งน้ำบางเขน 02 ซึ่งระบบการส่งน้ำนี้จะทำการส่งน้ำประปาในระบบผลิตจากบางเขนมีปลายทางยังสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง (ระยะทางในระบบส่งมากกว่า 28 กิโลเมตร) โดยในเส้นทางระบบส่งน้ำนี้ มีสถานีจูบจ่ายน้ำลาดพร้าว คลองเตย และลาดกระบัง รับน้ำระหว่างทาง ก่อนถึงปลายทางที่สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง
ภาพแสดงกราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันน้ำและระยะทางจากสถานีสูบส่งน้ำบางเขน ถึงสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง (Energy-Hydraulic Grade Line)
จากกราฟ
ระบบส่งน้ำต้องมีการสร้างแรงดันในระบบส่งน้ำของบางเขน มากกว่า 37 เมตร* (น้ำ) (*เปรียบเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง) ซึ่งมีการสูญเสียแรงดันในเส้นท่อตลอดจนมีแรงดันมาถึงปลายทางสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรงที่ประมาณ 5 ถึง 6 เมตร (น้ำ) สำหรับสถานีสูบจ่ายน้ำที่อยู่ระหว่างทางนั้น พบว่า แรงดันน้ำในระบบก่อนเข้าสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว มีค่าประมาณ 17 เมตร (น้ำ) สถานีสูบจ่ายน้ำคลองเตยมีค่าประมาณ 15 เมตร (น้ำ) ค่าแรงดันในอุโมงค์ส่งน้ำนี้ จัดเป็นพลังงานสูญเสีย
เพื่อลดพลังงานที่สูญเปล่าจากแรงดันน้ำสายงานการผลิตและส่งน้ำ การประปานครหลวง จึงได้จัดทำโครงการผลิตไฟฟ้า จากแรงดันน้ำในระบบส่งน้ำ ด้วยเครื่อง Generator โดยมีหลักการอาศัยแรงดันน้ำในระบบส่งน้ำ ซึ่งมีเพียงพอขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า และนำพลังงานที่ได้กลับมาใช้ในระบบ หรือจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้านครหลวงต่อไป
ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลระบบส่งน้ำ ข้อมูลการจ่ายน้ำและปัจจัยต่างๆ จึงสามารถสรุปได้ว่าบริเวณสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว สามารถนำแรงดันน้ำในระบบส่งมาผลิตไฟฟ้าได้ ผ่านชุดใบพัด (Hydro Turbine) ขับเคลื่อนด้วยแรงดันน้ำภายในเส้นท่อส่งน้ำ (ระบบปิด) ซึ่งต่อเข้าสู่เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็ก (Micro Generator) มีการประสานงานการออกแบบและการติดตั้งโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเตรียมการจำหน่ายไฟฟ้าโดยการไฟฟ้านครหลวง
การประปานครหลวงจึงกำหนดโครงการติดตั้งเครื่อง Micro Hydro Turbine Generator : MHTG ภายในสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว จำนวน 3 เครื่อง ที่กำลังการผลิตไฟฟ้า 150 kW ต่อเครื่องหรือรวม 450 kW ด้วยเงินลงทุนโครงการประมาณ 20 ล้านบาท
การดำเนินการติดตั้งเครื่อง
Micro Hydro Turbine Generator : MHTG
ได้มีการดำเนินการติดตั้งและทดสอบประสิทธิภาพของเครื่อง MHTG ตั้งแต่กลางปี 2549 และเริ่มดำเนินการติดตั้งในเดือนธันวาคม 2549 จนเสร็จสิ้น สามารถใช้งานได้ปกติในเดือนมิถุนายน 2550 (ระยะเวลาดำเนินงานโครงการติดตั้ง รวม 7 เดือน)
ข้อมูลเบื้องต้นเครื่อง MHTG สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว ในการใช้งานจริง
- ช่วงกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ 50-150 kWH ต่อเครื่อง
- ช่วงการปฏิบัติงานที่แรงดัน 0.80 ถึง 1.40 kg/cm3
- เมื่อทำการเดินเครื่อง มีอัตรารับน้ำระหว่าง 5,300 ถึง 6,000 ลบ.ม. ต่อชั่วโมง ต่อเครื่อง
ทั้งนี้ แรงดันน้ำในระบบส่งตามปกติมีค่า 1.20 kg/cm3 ซึ่งให้ค่ากำลังไฟฟ้าเฉลี่ย 120 kWH (สามารถอ่านค่าแรงดันในระบบได้ 17-18 เมตร (น้ำ))
องค์ประกอบด้านไฟฟ้า
Generator : 3 Motor 50 Hz 160 kW with 400V
Transformer : CAPACITY 630 kVA Primary 6600 V./Secondary 400/230 V.
HV.Cable : Type by XLPE Rated 17.5 kV. 200 A.70 Sq.mm.
RelayPanel : Type by P341 Interconnection Protection
Switchgear : Model RM6 Type 3 Phase 17.5 kV. 200A.
ผลการใช้งานเครื่อง
Micro Hydro Turbine Generator : MHTG
ภายหลังการติดตั้งเครื่อง MHTG แล้วเสร็จครบทั้ง 3 เครื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 (ผ่านช่วงทดลองและปรับแต่งระบบให้เหมาะสม) ได้มีการใช้งานเครื่อง MHTG ร่วมกับระบบการสูบจ่ายน้ำตามปกติของสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว โดยปัจจุบันมีการเดินเครื่องเฉลี่ย 61 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากต้องควบคุมปริมาณน้ำเข้าถังเก็บน้ำให้เหมาะสม
ทั้งนี้ อัตราส่วนปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้เฉลี่ยในช่วง On-Peak คิดเป็น 47.20% และช่วง Off-Peak คิดเป็น 52.80% (รวม 100% ) และเมื่อนำข้อมูลปริมาณไฟฟ้าที่เครื่อง MHTG ผลิตได้ในแต่ละเดือนไปเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด เฉลี่ยเท่ากับ 18.25% ต่อเดือน คำนวณเป็นจำนวนเงินค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้จากการใช้งานเครื่อง MHTG โดยถือเป็นผลตอบแทนของโครการ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 368,835 บาท ต่อเดือน หรือ 4,424,020 บาท ต่อปี
นอกจากผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรม การลงทุนในโครงการติดตั้งเครื่อง MHTG นี้ ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ และกระตุ้นให้พนักงานเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน มีการเรียนรู้ใหม่ในการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรต่อการอนุรักษ์พลังงาน
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
ฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง
400 ถ.ประชาชื่น เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทร.0 2504 0123 โทรสาร 0 2503 9456
e-mail : mwa1125@mwa.co.th
www.mwa.co.th
เพื่อนๆ อย่าลืมติดตามบทความต่อไปของผมนะครับ B..Bye
ระบบการจ่ายน้ำของการประปานครหลวง
สถานีสูบจ่ายน้ำเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจ่ายน้ำประปาซึ่งมีความสำคัญ โดยเป็นสถานีที่เก็บและสำรองน้ำประปาที่ได้จากระบบผลิต เพื่อนำเข้าสู่ระบบสูบส่งน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ ตามพฤติกรรมการใช้น้ำที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา โดยทำให้ผู้ใช้น้ำสามารถใช้น้ำประปาได้อย่างไม่ติดขัดและสม่ำเสมอ
สำหรับสถานีสูบจ่ายน้ำของการประปานครหลวง ประกอบด้วย สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว ลาดกระบัง พหลโยธิน มีนบุรี บางพลี สำโรง คลองเตย ลุมพินี เพชรเกษม ท่าพระ และราษฎร์บูรณะ เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของฝ่ายสถานีสูบจ่ายน้ำ สายงานผลิตและส่งน้ำ (ฝสน.ชวก.(สจ.))
ภาพแสดงระบบการจ่ายน้ำของการประปานครหลวง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
Micro Hydro Turbine Generator : MHTG
เนื่องด้วยนโยบายการอนุรักษ์พลังงานของการประปานครหลวง สายงานผลิตและส่งน้ำจึงมีความคิดในการลดค่าพลังงานที่ใช้ในระบบการจ่ายน้ำ ซึ่งต้องมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบอย่างมาก
ภาพแสดงระบบส่งน้ำของการประปานครหลวงไปยังสถานีสูบจ่ายน้ำต่างๆ
เมื่อทำการพิจารณาถึงระบบส่งน้ำ จากโรงงานผลิตน้ำบางเขนผ่านระบบส่งน้ำบางเขน 02 ซึ่งระบบการส่งน้ำนี้จะทำการส่งน้ำประปาในระบบผลิตจากบางเขนมีปลายทางยังสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง (ระยะทางในระบบส่งมากกว่า 28 กิโลเมตร) โดยในเส้นทางระบบส่งน้ำนี้ มีสถานีจูบจ่ายน้ำลาดพร้าว คลองเตย และลาดกระบัง รับน้ำระหว่างทาง ก่อนถึงปลายทางที่สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง
ภาพแสดงกราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันน้ำและระยะทางจากสถานีสูบส่งน้ำบางเขน ถึงสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง (Energy-Hydraulic Grade Line)
จากกราฟ
ระบบส่งน้ำต้องมีการสร้างแรงดันในระบบส่งน้ำของบางเขน มากกว่า 37 เมตร* (น้ำ) (*เปรียบเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง) ซึ่งมีการสูญเสียแรงดันในเส้นท่อตลอดจนมีแรงดันมาถึงปลายทางสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรงที่ประมาณ 5 ถึง 6 เมตร (น้ำ) สำหรับสถานีสูบจ่ายน้ำที่อยู่ระหว่างทางนั้น พบว่า แรงดันน้ำในระบบก่อนเข้าสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว มีค่าประมาณ 17 เมตร (น้ำ) สถานีสูบจ่ายน้ำคลองเตยมีค่าประมาณ 15 เมตร (น้ำ) ค่าแรงดันในอุโมงค์ส่งน้ำนี้ จัดเป็นพลังงานสูญเสีย
เพื่อลดพลังงานที่สูญเปล่าจากแรงดันน้ำสายงานการผลิตและส่งน้ำ การประปานครหลวง จึงได้จัดทำโครงการผลิตไฟฟ้า จากแรงดันน้ำในระบบส่งน้ำ ด้วยเครื่อง Generator โดยมีหลักการอาศัยแรงดันน้ำในระบบส่งน้ำ ซึ่งมีเพียงพอขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า และนำพลังงานที่ได้กลับมาใช้ในระบบ หรือจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้านครหลวงต่อไป
ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลระบบส่งน้ำ ข้อมูลการจ่ายน้ำและปัจจัยต่างๆ จึงสามารถสรุปได้ว่าบริเวณสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว สามารถนำแรงดันน้ำในระบบส่งมาผลิตไฟฟ้าได้ ผ่านชุดใบพัด (Hydro Turbine) ขับเคลื่อนด้วยแรงดันน้ำภายในเส้นท่อส่งน้ำ (ระบบปิด) ซึ่งต่อเข้าสู่เครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็ก (Micro Generator) มีการประสานงานการออกแบบและการติดตั้งโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเตรียมการจำหน่ายไฟฟ้าโดยการไฟฟ้านครหลวง
การประปานครหลวงจึงกำหนดโครงการติดตั้งเครื่อง Micro Hydro Turbine Generator : MHTG ภายในสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว จำนวน 3 เครื่อง ที่กำลังการผลิตไฟฟ้า 150 kW ต่อเครื่องหรือรวม 450 kW ด้วยเงินลงทุนโครงการประมาณ 20 ล้านบาท
การดำเนินการติดตั้งเครื่อง
Micro Hydro Turbine Generator : MHTG
ได้มีการดำเนินการติดตั้งและทดสอบประสิทธิภาพของเครื่อง MHTG ตั้งแต่กลางปี 2549 และเริ่มดำเนินการติดตั้งในเดือนธันวาคม 2549 จนเสร็จสิ้น สามารถใช้งานได้ปกติในเดือนมิถุนายน 2550 (ระยะเวลาดำเนินงานโครงการติดตั้ง รวม 7 เดือน)
ข้อมูลเบื้องต้นเครื่อง MHTG สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว ในการใช้งานจริง
- ช่วงกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ 50-150 kWH ต่อเครื่อง
- ช่วงการปฏิบัติงานที่แรงดัน 0.80 ถึง 1.40 kg/cm3
- เมื่อทำการเดินเครื่อง มีอัตรารับน้ำระหว่าง 5,300 ถึง 6,000 ลบ.ม. ต่อชั่วโมง ต่อเครื่อง
ทั้งนี้ แรงดันน้ำในระบบส่งตามปกติมีค่า 1.20 kg/cm3 ซึ่งให้ค่ากำลังไฟฟ้าเฉลี่ย 120 kWH (สามารถอ่านค่าแรงดันในระบบได้ 17-18 เมตร (น้ำ))
องค์ประกอบด้านไฟฟ้า
Generator : 3 Motor 50 Hz 160 kW with 400V
Transformer : CAPACITY 630 kVA Primary 6600 V./Secondary 400/230 V.
HV.Cable : Type by XLPE Rated 17.5 kV. 200 A.70 Sq.mm.
RelayPanel : Type by P341 Interconnection Protection
Switchgear : Model RM6 Type 3 Phase 17.5 kV. 200A.
ผลการใช้งานเครื่อง
Micro Hydro Turbine Generator : MHTG
ภายหลังการติดตั้งเครื่อง MHTG แล้วเสร็จครบทั้ง 3 เครื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 (ผ่านช่วงทดลองและปรับแต่งระบบให้เหมาะสม) ได้มีการใช้งานเครื่อง MHTG ร่วมกับระบบการสูบจ่ายน้ำตามปกติของสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว โดยปัจจุบันมีการเดินเครื่องเฉลี่ย 61 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากต้องควบคุมปริมาณน้ำเข้าถังเก็บน้ำให้เหมาะสม
ทั้งนี้ อัตราส่วนปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้เฉลี่ยในช่วง On-Peak คิดเป็น 47.20% และช่วง Off-Peak คิดเป็น 52.80% (รวม 100% ) และเมื่อนำข้อมูลปริมาณไฟฟ้าที่เครื่อง MHTG ผลิตได้ในแต่ละเดือนไปเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด เฉลี่ยเท่ากับ 18.25% ต่อเดือน คำนวณเป็นจำนวนเงินค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้จากการใช้งานเครื่อง MHTG โดยถือเป็นผลตอบแทนของโครการ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 368,835 บาท ต่อเดือน หรือ 4,424,020 บาท ต่อปี
นอกจากผลการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรม การลงทุนในโครงการติดตั้งเครื่อง MHTG นี้ ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ และกระตุ้นให้พนักงานเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน มีการเรียนรู้ใหม่ในการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรต่อการอนุรักษ์พลังงาน
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
ฝ่ายสื่อสารองค์กร การประปานครหลวง
400 ถ.ประชาชื่น เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทร.0 2504 0123 โทรสาร 0 2503 9456
e-mail : mwa1125@mwa.co.th
www.mwa.co.th
เพื่อนๆ อย่าลืมติดตามบทความต่อไปของผมนะครับ B..Bye
ตึกระฟ้า มหานคร (Mahanakhon The Tallest Building)
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมต้องขออนุญาตินำเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์มาบอกกล่าวกับเพื่อนๆ แต่จะขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างที่เป็น "อาคารสูงสุดฮิป" ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย แห่งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน เผื่อว่าบางท่านยังไม่ทราบข้อมูลครับ จะเป็นอะไรไปไม่ใด้สิ่งนั้นก็คือ "มหานคร [MAHA NAKHON]"ตึกที่จะทำลายสถิติตึกใบหยกในอีก 3 ปีข้างหน้า
"อาคารสูงดังกล่าว" คือ โครงการแบบ mixed-use สูง 310 เมตร 77 ชั้น บนพื้นที่ขนาด 9 ไร่ ใจกลางศูนย์กลางธุรกิจติดกับสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี เชื่อมโยงระหว่างถนนสีลมและสาทรที่จะเป็นดั่งโอเอซิสใจกลางกรุงเทพฯ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพลาซ่าเรียกว่ามหานครแสควร์ เป็นพวกร้านค้าภัตตาคารหรูเชื่อมต่อกับเมืองอยู่บริเวณโพเดียมด้านล่างถัดมากลางๆเป็นคอนโดประกอบไปด้วย เดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส บางกอก, พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่, ไลฟสไตล์พลาซ่าระดับ ไฮเอนด์ และบางกอกเอดิชั่นโรงแรมหรูระดับห้าดาว ด้านบนสุดเป็น โรงแรม Boutigue และสุดท้ายภัตตาคารบนดาดฟ้า sky bar นั่นเอง พร้อมเสร็จ สมบูรณ์ในปี 2555
สำหรับห้องพักมีการใช้ระบบหน้าต่างแบบ cassette ที่สามารถดันช่องหน้าต่างด้านบนขึ้นไปเก็บแนบกับฝ้าเพดาน ทำให้สเปซภายในกลายเป็นเหมือนระเบียงที่เชื่อมต่อกับภายนอกทันที (หรือกล่าวอีกนับก็คือ ซึ่งหน้าต่างแบบพับขึ้นติดเพดาน สามารถทำให้พื้นที่ภายในทั้งหมดเป็นระเบียงได้ ไม่แน่ใจว่าผู้ออกแบบได้พิจารณาแรงลมไว้ด้วยหรือเปล่า ว่าจะสามารถเปิดหน้าได้จริงหรือไม่)
โครงการนี้ออกแบบโดยออฟฟิศออกแบบระดับโลกจากเนเธอแลนด์ Office for Metropolitan Architecture หรือ OMA
แต่สถาปนิกงานนี้เป็นสถาปนิกเยอรมัน เป็นหุ้นส่วนของออฟฟิศ Ole Scheeren (โอเล)เป็นผู้ออกแบบอาคาร CCTV หนึ่งในอาคารที่เด่นสุดๆตอนโอลิมปิค 2008 นั่นเอง ส่วนคอนเซปต์การออกแบบก็คือ เป็นอาคารที่มีความเป็นเมือง (Metropolis) แบบสุดๆเลยขึ้นมาเป็นแท่งเดี่ยวตั้งเด่แบบโมเดิร์นสุดๆ แล้วค่อยทลายความเพอร์เฟกต์ลงเหมือนไวรัสคอมพิวเตอร์ที่กินรูปภาพแบบ pixel (pixilated) สร้างความเป็นดิจิตอลและคว้านรอบแมสรอบอาคารออกเป็นเกลียวม้วนขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด
ด้วยความสูงใหญ่ของอาคาร ผู้ออกแบบเลยลดทอนความใหญ่ยักษ์ลงมา ด้วยการสร้างกลิตเตอร์จากแสงไฟเล็กๆ และมีการยื่น หดตัวผิวหน้าของอาคาร ที่เป็นส่วนพักอาศัยทำให้เกิด terrace และประโยชน์ใช้สอย outdoor ต่าง ๆ ขึ้น ทั้งนี้ยังสร้างแพทเทิร์นแบบที่ไม่สมำเสมอ ( irregularity ) ให้กับพื้นผิวอาคาร
"มหานคร" อยู่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี มูลค่าโครงการ 18,000 ล้านบาทเป็นของไทยและนักลงทุนอิสราเอล (บริหารโดย Ritz-Carlton ราคาขายออกมาแล้ว ตร.ม.ละ 250,000 บาท)
ผมว่าเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ต้องสวยงานมากนะครับ และอาจเป็นอาคารที่เป็นสัญญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครก็ได้ แล้วเจอกันใหม่นะครับ ....
"อาคารสูงดังกล่าว" คือ โครงการแบบ mixed-use สูง 310 เมตร 77 ชั้น บนพื้นที่ขนาด 9 ไร่ ใจกลางศูนย์กลางธุรกิจติดกับสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี เชื่อมโยงระหว่างถนนสีลมและสาทรที่จะเป็นดั่งโอเอซิสใจกลางกรุงเทพฯ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพลาซ่าเรียกว่ามหานครแสควร์ เป็นพวกร้านค้าภัตตาคารหรูเชื่อมต่อกับเมืองอยู่บริเวณโพเดียมด้านล่างถัดมากลางๆเป็นคอนโดประกอบไปด้วย เดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส บางกอก, พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่, ไลฟสไตล์พลาซ่าระดับ ไฮเอนด์ และบางกอกเอดิชั่นโรงแรมหรูระดับห้าดาว ด้านบนสุดเป็น โรงแรม Boutigue และสุดท้ายภัตตาคารบนดาดฟ้า sky bar นั่นเอง พร้อมเสร็จ สมบูรณ์ในปี 2555
สำหรับห้องพักมีการใช้ระบบหน้าต่างแบบ cassette ที่สามารถดันช่องหน้าต่างด้านบนขึ้นไปเก็บแนบกับฝ้าเพดาน ทำให้สเปซภายในกลายเป็นเหมือนระเบียงที่เชื่อมต่อกับภายนอกทันที (หรือกล่าวอีกนับก็คือ ซึ่งหน้าต่างแบบพับขึ้นติดเพดาน สามารถทำให้พื้นที่ภายในทั้งหมดเป็นระเบียงได้ ไม่แน่ใจว่าผู้ออกแบบได้พิจารณาแรงลมไว้ด้วยหรือเปล่า ว่าจะสามารถเปิดหน้าได้จริงหรือไม่)
โครงการนี้ออกแบบโดยออฟฟิศออกแบบระดับโลกจากเนเธอแลนด์ Office for Metropolitan Architecture หรือ OMA
แต่สถาปนิกงานนี้เป็นสถาปนิกเยอรมัน เป็นหุ้นส่วนของออฟฟิศ Ole Scheeren (โอเล)เป็นผู้ออกแบบอาคาร CCTV หนึ่งในอาคารที่เด่นสุดๆตอนโอลิมปิค 2008 นั่นเอง ส่วนคอนเซปต์การออกแบบก็คือ เป็นอาคารที่มีความเป็นเมือง (Metropolis) แบบสุดๆเลยขึ้นมาเป็นแท่งเดี่ยวตั้งเด่แบบโมเดิร์นสุดๆ แล้วค่อยทลายความเพอร์เฟกต์ลงเหมือนไวรัสคอมพิวเตอร์ที่กินรูปภาพแบบ pixel (pixilated) สร้างความเป็นดิจิตอลและคว้านรอบแมสรอบอาคารออกเป็นเกลียวม้วนขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด
ด้วยความสูงใหญ่ของอาคาร ผู้ออกแบบเลยลดทอนความใหญ่ยักษ์ลงมา ด้วยการสร้างกลิตเตอร์จากแสงไฟเล็กๆ และมีการยื่น หดตัวผิวหน้าของอาคาร ที่เป็นส่วนพักอาศัยทำให้เกิด terrace และประโยชน์ใช้สอย outdoor ต่าง ๆ ขึ้น ทั้งนี้ยังสร้างแพทเทิร์นแบบที่ไม่สมำเสมอ ( irregularity ) ให้กับพื้นผิวอาคาร
"มหานคร" อยู่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี มูลค่าโครงการ 18,000 ล้านบาทเป็นของไทยและนักลงทุนอิสราเอล (บริหารโดย Ritz-Carlton ราคาขายออกมาแล้ว ตร.ม.ละ 250,000 บาท)
ผมว่าเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ต้องสวยงานมากนะครับ และอาจเป็นอาคารที่เป็นสัญญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครก็ได้ แล้วเจอกันใหม่นะครับ ....
Subscribe to:
Posts (Atom)