Custom Search

January 7, 2011

Cold-Applied Tape Coating ตอนที่ 4 (ตอนสุดท้าย) (ขั้นตอนการซ่อม Monotape หากเกิดความเสียหาย (Coating Repair))

เมื่อเกิดความเสียหายกับผิวท่อที่ได้รับการพันด้วย Monotape แล้วและจำเป็นต้องแก้ไข เนื่องจากไม่ผ่านการตรวจสอบด้วย Holiday Test จะต้องแก้ไขบริเวณที่ได้รับความเสียหายและต้องทำความสะอาดผิวใหม่พร้อมทั้งทา Primer ลงบนบริเวณที่ทำความสะอาดจากนั้นจึงพัน Monotape ลงบนบริเวณที่ได้รับความเสียหายรอบทั้งท่อและให้ทับแนวที่ไม่ได้รับความเสียหายออกไปข้างละประมาณ 2-4 นิ้ว เป็นอย่างน้อย ความหนาของเทปที่ใช้คือ 40 mils (1 มิลลิเมตร) จากนั้นจึงตรวจสอบด้วยการทำ Holiday Test อีกครั้ง (ทำไม่ดีก็ต้องแก้ไขและทำใหม่อีกครั้งเป็นเรื่องธรรมดา)

การป้องกันการกัดกร่อนวิธนี้จะใช้กับบริเวณตัวท่อ ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้งานที่มากกว่าวิธีอื่น คือ สามารถใช้ได้ทั้งที่โรงงานหรือจะใช้ที่หน้างานก็ได้และสามารถใช้งานแทนแบบเดิม คือ AWWA C 203 ได้ ซึ่งวิธี AWWA C 214 (Tape coating system for the exterior of steel water pipelines) จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

1. Primer เป็นของเหลวมีส่วนผสมหลัก Resins และ Rubber โดยมี Heptane และ Toluene ทำหน้าที่เป็นตัวละลาย Primer เป็นสารรองพื้น มีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างผิวเหล็กกับเนื้อ Wrapping Tape และป้องกันการเกิดสนิมของเนื้อเหล็ก

2. Inner Tape เป็น Tape ที่มีคุณสมบัติป้องกันการกัดกร่อนซึมซับน้ำต่ำ มีการยึดติดของเนื้อเทปกับผิวท่อสูง โดย Inner Tape ที่ใช้งานจะมีความหนา 20 mils (0.5 มิลลิเมตร) โดยส่วนมากจะเป็นเทปสีดำ

3. Outer Tape เป็น Tape ที่มีคุณสมบัติป้องกันแรงภายนอกที่มากระทำ ซึมซับน้ำต่ำ มีการยึดติดระหว่างเนื้อเทปสูง โดย Outer Tape ที่ใช้งานจะมีความหนา 30 mils (0.75 มิลลิเมตร) โดยส่วนมากจะเป็นเทปสีขาว

คุณสมบัติทั้ง Inner Tape และ Outer Tape จะต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของ AWWA จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้เช่นกัน

การใช้งาน (Coating Application)
1. การเตรียมผิว (Surface Preparation)
2. การทารองพื้น (Priming)
ทั้ง 2 ขั้นตอนนี้จะเหมือนกับมาตรฐาน AWWA C 209 ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
3. การพันเทปหุ้ม (Coating and Wroppping) เนื่องจากท่อเหล็กที่นำมาใช้งานจะมีตะเข็บแนวเชื่อมที่เกิดจากการขึ้นรูปของแผ่นเหล็ก นำมาม้วนเป็นตัวท่อและแนวตะเข็บนี้จะมี 2 แบบ คือ แบบตะเข็บตามแนวยาวของตัวท่อ (Longitudinal) และแบบตะเข็บเกลียว (Coil Splice Welds) ซึ่งจะต้องทารองพื้น (Primer) และติดแถบ Inner Tape หน้ากว้าง 4-6 นิ้ว ตามแนบตะเข็บเชื่อมนี้ก่อนแล้วจึงพันตัวท่อที่ได้ทา Primer แล้วโดยใช้เครื่องมือเพื่อการพัน Tape โดยเฉพาะกัน Inner Tape ซึ่งแรงดึงและรอยทางโค้งของแนว Tape จะสม่ำเสมอ และพันให้ทับแนวเดิมของ Inner Tape อย่างน้อย 1 นิ้ว (Overlap 1 นิ้ว) ไปจนตลอดหมดความยาวของท่อที่ต้องการพันเทป จากนั้นจึงใช้ Outer Tape พันทับบน Inner Tape โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นของ Inner Tape ใช้ใช้เครื่องมือเพื่อการพัน Tape โดยเฉพาะพันให้แรงดึงและรอยทางโค้งของแนวเทปสม่ำเสมอและพันให้ทับแนวเดิมของ Outer Tape อย่างน้อย 1 นิ้ว (Over Lap 1 นิ้ว) เช่นกัน พันไปจนตลอดความยาวของท่อตามที่ต้องการ ในกรณีที่เทปหมดม้วนแต่การพันยังไม่สิ้นสุดให้เริ่มม้วนใหม่ โดยทับส่วนปลายสุดของเทปเดิม 6 นิ้ว แล้วจึงพันต่อให้เสร็จตามแนวเดิม Inner Tape หนา 20 mils (0.5 มิลลิเมตร) Outer Tape หนา 30 mils (0.75 มิลลิเมตร) ซึ่งในปัจจุบันได้มีเครื่อง Wrapping Machine เพื่อใช้ในการพัน Inner Tape และ Outer Tape พร้อมกัน จึงสะดวกและเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก

ส่วนในกรณีของการตรวจสอบและการซ่อมผิวจะเหมือนกับมาตรฐาน AWWA C 209 ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว



รูปแสดงการใช้ Cold-Applied Tape Coating จริงในสนาม

หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยลองสอบถามจากโรงงานผู้ผลิตดูนะครับ มีหลายเจ้าด้วยกันบาย คลิกที่ Link ด้านล่างเลยครับ
Siam Steel Works Co., Ltd.

January 6, 2011

Cold-Applied Tape Coating ตอนที่ 3 (การตรวจสอบและทดสอบ (Inspeciton and Testing))

หลังจากพัน Monotape เสร็จแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ก่อนการใช้งานจริงเพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยวิธีที่เรียกว่า Holiday Test เป็นการทดสอบโดยใช้ความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า (High Voltage) ตรวจสอบหลังจากที่ได้ผ่านการพันตามวิธีที่ถูกต้องมาแล้ว ในกรณีที่ทำ Holiday Test แล้วเกิดการ Spark ของกระแสไฟฟ้าลงบนบริเวณผิวท่อแสดงว่าบริเวณนั้นไม่สามารถป้องกันการกัดกร่อนได้ (ความหนาของ Monotape หนาไม่พอหรือเกิดความบกพร่องขึ้น) และโดยทั่วไปท่อที่ฝังใต้ดินจะต้องผ่านการตรวจสอบโดยใช้ Holiday Test 100% เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสามารถป้องกันการกัดกร่อนได้ เพราะการซ่อมแซมท่อหลังจากที่ได้ใช้งานไปแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น สำหรับบริเวณที่ผ่าน Holiday Test แล้วมีการ Spark จะต้องซ่อมแซมใหม่ตามวิธีการซ่อมและทำ Holiday Test อีกครั้งจนกระทั่งไม่มีการ Spark จึงจะใช้ได้แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการทดสอบสามารถหาได้จากสูตรดังนี้

โดยการใช้ความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า ของเครื่อง Holiday Test ใช้สมการหาค่าดังต่อไปนี้
>>> V = 1250 t <<<
เมื่อ
V = Voltage ในการทดสอบ (โวลต์)
t = ความหนาของ Monotape (mil)



รูปแสดงการใช้ Holiday Test ตรวจสอบท่อปากระฆัง Dia 1000 mm ที่พันด้วย Monotape

ติดตาม "ขั้นตอนการซ่อม Monotape หากเกิดความเสียหาย (Coating Repair)" ในตอนที่ 4 นะครับ

Cold-Applied Tape Coating ตอนที่ 2 (การใช้งาน Coating Application)

ต่อกันเลยนะครับ สำหรับการใช้งาน Coating Application ในสนาม ต้องเตรียมอะไรบ้าง เพื่อให้การซ่อมรอยเชื่อมมีประสิทธิภาพสูงสุด

1. การเตรียมผิว (Surface Preparation) ท่อเหล็กที่นำมาใช้งานโดยมากมักจะมีคราบน้ำมัน แว๊กส์ และคราบสกปรกอย่างอื่น จึงต้องผ่านการทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกต่างๆ ออกก่อน โดยใช้การพ่นทราย แปรงลวดไฟฟ้าทำความสะอาดนอกจากนี้ในส่วนของแนวเชื่อมท่อ รอยต่อระหว่างท่อจะต้องไม่มี Slag ซึ่งต้องตรวจสอบก่อนทา Primer

รูปแสดงการเตรียมพื้นผิวให้สะอาดก่อนที่จะทารองพื้น

2. การทารองพื้น (Primming) โดยปกติ Primer จะสามารถใช้ได้โดยวิธีการทาลงบนผิวท่อหรือพ่นสเปร์ย์ได้ แต่จะต้องทำหลังจากได้ทำความสะอาดผิวท่อดีแล้ว ซึ่งในพื้นที่ 1 ตารางเมตรจะใช้ Primer ประมาณ 0.1-0.22 Litre และควรทาให้เลยเข้าไปในแนวเคลือบทั้งด้านซ้ายและขวาข้างละประมาณ 2-4 นิ้ว หลังจากที่ได้ทา Primer แล้วสามารถพันเทปทับได้ทันที

รูปแสดงการทา Primer บริเวณ Welded Joint ซึ่งต้องทาเลยแนวเคลือบผิว

3. การพันเทปหุ้ม (Coating and Wrapping) การพันท่อบริเวณ Welded Joint ด้วย Monotape จะพันลงบนผิวที่ได้ผ่านขั้นตอนที่ 1 และ 2 มาเรียบร้อยแล้ว โดยพันให้แรงดังและรอยทางโค้งของแนว Monotape สม่ำเสมอ พันให้ครอบคลุมบริเวณผิวด้านนอกทั้งหมดที่เป็นเนื้อเหล็ก นอกจากนี้ต้องพันให้เลยแนว Welede Joint ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาออกไปข้างละประมาณ 2-4 นิ้ว และขณะใช้งานถ้า Monotape หมดม้วนแต่การพันยังไม่สิ้นสุดให้ขึ้นม้วนใหม่ โดยทับส่วนปลายสุดของ Monotape ม้วนเดิมประมาณ 4-6 นิ้ว เป็นอย่างน้อยแล้วจึงพันต่อให้เสร็จตามแนวเดิม ซึ่ง Monotape ที่ใช้จะมีความหนาไม่ต่ำกว่า 40 mils (1 มิลลิเมตร) หรือบางครั้งจะใช้ Wrapping Maching ในการพัน Inner Outer Tape นะครับ เพื่อความรวดเร็ว
ลองอ่าน "วิธีการพันโมโนเทป (Monotape wrapping)" เพิ่มเติมนะครับ

รูปแสดงการเริ่มใช้ Monotape พันท่อปากระฆัง Dia 1000 mm

5 ท่อปากระฆัง Dia 1000 mm ที่พัน Monotape เรียบร้อย

ติดตาม "การตรวจสอบและทดสอบ (Inspeciton and Testing) Coating Application" ในตอนที่ 3 นะครับ

Cold-Applied Tape Coating ตอนที่ 1 (มารู้จักการเคลือบผิวท่อด้วย Cold-Applied Tape Coating กันเถอะ)

จากบทความที่ผ่านมาได้นำความรู้เกี่ยวกับ วิธีการพันโมโนเทป (Monotape wrapping) มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน วันนี้จะขอเล่าเกี่ยว "การเคลือบผิวท่อด้วย Cold-Applied Tape Coating" สำหรับงานวางท่อเหล็กใต้ดิน ตามมาตรฐาน AWWA ให้ได้ทราบกัน รายละเอียดเป็นอย่างไร ลองติดตามกันนะครับ

การใช้งานท่อเหล็กเพื่อการส่งน้ำจำเป็นต้องมีการป้องกันการกัดกร่อน เนื่องจากท่อเหล็กจะเกิดสนิมและผุกร่อนได้ง่ายเนื่องจากต้องสำผัสกับน้ำและและของเหลวงอื่นตลอดเวลที่ใช้งาน สำหรับงานวางท่อเหล็กอาจแบ่งได้ 2 ประเภทกว้างๆ คือ 1.) งานวางท่อเหล็กบนดิน (ผิวท่อจะสัมผัสกับอากาศเป็นส่วนใหญ่ นอกเหนือจากเวลาฝนตกและน้ำค้างลง)และ 2.) งานวางท่อเหล็กใต้ดิน กรณีงานวางท่อเหล็กบนดิน โดยทั่วไปจะใช้ Liquid Epoxy ทาบนตัวท่อเพื่อป้องกันสนิมและการถูกกรัดกร่อน ส่วนกรณีงานวางท่อเหล็กใต้ดินจะมีวิธีป้องกันการกัดกร่อนที่หลากหลายกว่า เช่น การใช้ Coal Tar Enamel ตามมาตรฐาน AWWA C 203 (AWWA : American Waterworks Association ได้รับรองมาตรฐานนี้เมื่อปี 2483) การใช้ Cold Applied Tape Coating AWWA C 214 (AWWA รับรองมาตรฐาน C 214 ปี 2526)

ซึ่งการใช้ Pastic Tape เกิดขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีพลาสติกโพลิเมอร์ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นนั่นเองเหล่านี้เป็นวิธีการเคลือบผิวนอกบริเวณตัวท่อ แต่ในการใช้งานจริงจะไม่สามารถเคลือบผิวนอกของตัวท่อได้ทั้งหมด เนื่องจากท่อที่นำมาใช้งานจะต้องมีการเชื่อมต่อกันของแต่ละท่อน ดังนั้น จึงต้องเหลือบริเวณส่วนปลายสุดของแต่ละด้าน (Cut Back) ไว้ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อท่อแต่ละท่อนได้ และในบริเวณของการเชื่อมต่อท่อนี้ (Welede Joint) สามารถใช้ Coal Tar Enamel AWWA C 203 ตามเดิม หรือใช้ Cold-Applied Tape Coating ตาม AWWA C 209 ได้ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงวิธี Cold-Applied Tape Coating ทั้ง 2 แบบ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายในการใช้งานไม่มีมลภาวะการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพทำได้ดีกว่า


รูปแสดงท่อน้ำที่เคลือบผิวด้วยวิธี Cold-Applied Tape Coating จะเห็นว่าด้านซ้ายและขวา จะมีเว้นระยะ Cut Back ไว้

การป้องกันการกัดกร่อนด้วยวิธีนี้ จะใช้กับบริเวณ Welded Joint Fitting และชิ้นส่วนพิเศษอื่นๆ ที่อยู่ใต้ดินโดยการใช้ Monotape พันให้ครอบคลุมทั้งหมดบริเวณผิวด้านนอกของชิ้นส่วนที่เป็นโลหะและสามารถใช้งานร่วมกับท่อที่เคลือบผิวด้านนอกด้วยวิธี Coal-Tar Enamel ทั้งในกรณีใช้งานใหม่และงานซ่อมแซมผิวรวมทั้งยังมีข้อดีกว่าหลายด้าน เช่น ไม่ต้องเตรียมวัตถุดิบ (การใช้ AWWA C 203 Coal-Tar Enamel ต้องเตรียมวัตถุดิบหลายขั้นตอน) ใช้เวลาหน้างานเพื่อเคลือบผิวลดลงครึ่งหนึ่งจากเดิม ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะกลิ่นฉุน และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งประชาชนในบริเวณใกล้เคียง การเคลือบท่อด้วยวิธี AWWA C209 (Cold-Applied Tape Coatings For the exterior of special sections, connection, and fittings for steel water pipelines) ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ

1. Primer เป็นของเหลวมีส่วนผสมหลัก Resins และ Rubber โดยมี Heptane และ Toluene ทำหน้าที่เป็นตัวละลาย Primer เป็นสารรองพื้น มีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดระหว่างผิวเหล็กกับเนื้อ Monotape และป้องกันการเกิดสนิมของเนื้อเหล็ก
2. Monotape จะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.)ส่วนผิวหน้า (Backing) เป็นอนุพันธ์ของ Polyolefin และ 2.)ส่วนของชั้นกาว (Adhesive Synthetic Resins) โดย Monotape ที่ใช้จะมีความหนา 40 mols (1 มิลลิเมตร) ซึ่ง Tape ที่ดีจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันการกัดกร่อน ซึมซับน้ำต่ำ ต้านทานแรงกระแทกมีการยึดติดของเนื้อเทปกับผิวท่อสูง คุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ต้องผ่านการทดสอบตามาตรฐานของ AWWA จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้

ติดตาม "การใช้งาน Coating Application" ในตอนที่ 2 นะครับ