Custom Search
March 14, 2010
บ้านอนุรักษ์พลังงาน เทรนด์ใหม่ของการอยู่อาศัยวันนี้ (ตอนที่ 1)
สวัสดีเพื่อนๆ ช่วงนี้รู้สึกว่าที่ไหน เขาก็พูดถึงแต่เรื่องพลังงาน ว่าแล้วช่วงนี้ก็เลยอินเทรนกับเขาบ้างเพื่อ ไม่ให้ Blog ของนายช่างเอ ตกเทรนกับชาวบ้าน จากบทความที่แล้วผมได้นำบทความเกี่ยวกับเมืองและการประหยักพลังงาน มาครั้งนี้ผมก็เลยนำบทความที่ไกล้ตัวหน่อย พอจับจ้องได้มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน ซึ่งบทความนี้ผมได้นำมาจากคอลัมน์ Green Living ของกองบรรณาธิการ ต้องขอขอบพระคุณ ณ โอกาศนี้นะครับ
"รู้หรือไม่ว่า ภาคที่อยู่อาศัยทุกวันนี้ใช้พลังงานสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากการใช้พลังงานในภาคคมนาคมขนส่งและภาคอุตสาหกรรม จากข้อมูลสำรวจการใช้พลังงานในปี พ.ศ.2550 พบว่าภาคที่อยู่อาศัยมีการใช้พลังงานมากถึงร้อยละ 20 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าใน "ระบบปรับอากาศ" (กรุงเทพฯ ถ้าไม่เปิดแอร์ร้อนได้ใจจริงๆ) ดังนั้น จึงมีการรณรงค์ให้เกิดความมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัยอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อให้ปริมาณการใช้พลังงานในภาคที่อยู่อาศัยลดลง
เทรนด์ของที่พักอาศัย ในวันนี้ จึงต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และนวัตกรรมใหม่ๆ ในการออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน "บ้านอนุรักษ์พลังงาน" จึงดูจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่กำลังต้องการหาซื้อที่พักอาศัยเป็นของตนเอง โดยพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ (คำนี้ก็ได้ยินบ่อยๆ ครับ) เพื่อสร้างบรรยากาศที่รื่นรมย์ สบาย น่าอยู่ควบคู่กับการประหยัดพลังงาน
@ ออกแบบบ้านหลังใหม่อย่างไร? ให้ประหยัดพลังงาน @
บ้านประหยัดพลังงานที่ดีต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงานแบบองค์รวม มีการนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ควบคู่ไปกับการออกแบบอาคาร และการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ทั้งวัสดุจากธรรมชาติและวัสดุที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนสูง เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในการปรับอากาศลง ทั้งยังต้องคำนึงถึงการวางผังบริเวณการจัดการสภาพแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการโครงการที่ดีเพื่อประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมด้วย
ดังนั้น หากคิดจะสร้างบ้านที่พักอาศัยหลังใหม่ให้ประหยัดพลังงาน จะต้องออกแบบโดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบหลักๆ ในเรื่องของการวางผังบริเวณงานภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของการอยู่อาศัยโดยตรง มีการเลือกใช้ระบบเปลือกอาคารและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ คือ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและสิ้นเปลืองพลังงานให้น้อยที่สุด
หากสนใจอย่าลืมอ่านต่อตอนที่ 2 นะครับ บาย....
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment