20 แม่ไม้สำคัญ...ในการเลือกซื้อ บ้านประหยัดพลังงาน
ผมว่าเรื่องนี้เป็นคำแนะนำครับ หากสามารถปฏิบัติได้จะเป็นการดีอย่างมาก แต่หากไม่ใด้ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องฝืนมากครับ เดี๋ยวเราจะเป็นทุกข์เสียเอง มาดูกันเลยนะครับ
แม่ไม้ที่ 1 หันหน้าบ้านให้ถูกทิศ (ลม แดด ฝน จิตใจแจ่มใส)
แม่ไม้ที่ 2 มีครัวไทย ต้องไม่เชื่อมติดตัวบ้าน
แม่ไม้ที่ 3 ประตู หน้าต่างต้องมีลมเข้า-ออก
แม่ไม้ที่ 4 ผังเฟอร์นิเจอร์ต้องเตรียมไว้ก่อนไม่ร้อนและประหยัดพลังงาน
แม่ไม้ที่ 5 ต้องใส่ "ฉนวน" ที่หลังคาเสมอส่วนการใส่ "ฉนวน" ที่ผนังจะพิจารณาเฉพาะส่วนที่ได้รับแสงตรงจากดวงอาทิตย์มากเท่านั้น
แม่ไม้ที่ 6 กันแสงแดดดีต้องมีชายคา
แม่ไม้ที่ 7 ทาสีผนังให้ใช้สีอ่อน ไม่ร้อนดีแต่ถ้าเปลี่ยนสี (เข้ม) ต้องมีฉนวน
แม่ไม้ที่ 8 รับแสงเหนือเพื่อประหยัดแสงไฟ
แม่ไม้ที่ 9 อย่าใส่แหล่งความร้อน (ลานคอนกรีต)ในบ้าน
แม่ไม้ที่ 10 รั้วบ้าน ต้องโล่ง โปร่ง สบาย
แม่ไม้ที่ 11 อย่าลืมต้นไม้ให้ร่มเงา
แม่ไม้ที่ 12 ก่อสร้าง อย่าลืม พื้นชั้นล่างปูแผ่นพลาสติก
แม่ไม้ที่ 13 อย่ามีบ่อน้ำ หรือน้ำพุในห้องปรับอากาศ
แม่ไม้ที่ 14 บานเกล็ด บานเปิด บานเลื่อน ต้องใช้ให้เหมาะสม
แม่ไม้ที่ 15 ห้องติดเครื่องปรับอากาศต้องมีบังใบประตู หน้าต่าง
แม่ไม้ที่ 16 ห้องไหนๆ ติดเครื่องปรับอากาศอย่าลืมติดฉนวน
แม่ไม้ที่ 17 ห้องน้ำดี ต้องมีแสง
แม่ไม้ที่ 18 คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศอย่าลืมติดฉนวน
แม่ไม้ที่ 19 ไม่ใช้หลอดไส้ หลอดร้อน หลากสี ชีวีเป็นสุข
แม่ไม้ที่ 20 ต่อท่อน้ำระบบ By Pass
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน
Custom Search
March 15, 2010
March 14, 2010
บ้านอนุรักษ์พลังงาน เทรนด์ใหม่ของการอยู่อาศัยวันนี้ (ตอนที่ 3)
@ เนรมิตบรรยากาศบ้านให้อยู่สบาย >>>ง่ายกว่าที่คิด @
สำหรับผู้ที่คิดจะปรับปรุงบ้านให้มีบรรยากาศที่เย็นสบายและประหยัดพลังงาน ก็ไม่ต้องคิดหนักแล้ว การปรับปรุงบ้านหลังเดิมให้กลายเป็นบ้านประหยัดพลังงานนั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเพราะมีหลากหลายวิธีให้เลือกสรรตามความพอใจของเจ้าของบ้านเริ่มจากการจัดวางผังบริเวณพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน ให้มีประตูและหน้าต่าง ที่สามารถเปิดช่องให้มีลมและอากาศไหลเวียนภายในบ้านได้ดี เพื่อลดความร้อนสะสมและเป็นการถ่ายเทความร้อนให้ออกไปจากตัวบ้าน การปลูกต้นไม้รอบบริเวณบ้าน หรือแบ่งพื้นที่บางส่วนของบริเวณบ้านเป็นสนามหญ้า ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณรอบๆ บ้านลงได้แล้ว การปลูกต้นไม้ยังช่วยสร้างร่มเงา ทำให้เกิดการดูดซับความร้อนและแผ่นความร้อนได้ดี
อีกหนึ่งวิธีที่พบเห็นได้ทั่วไปและได้ผล ก็คือ การปลูกไม้เถาเลื้อย เพื่อบังแดดที่เปลือกอาคาร วิธีนี้นอกจากจะทำให้บ้านสวยงามแล้ว ยังทำให้บ้านร่มรื่นอีกด้วย หรือว่าจะหาอุปกรณ์บังแดด เพื่อป้องกันไม่ให้แดดส่องเข้าสู่ตัวบ้านได้โดยตรง ทำให้บ้านมีอุณหภูมิลดลง ผู้อยู่อาศัยก็จะรู้สึกสบายไปด้วย
ปรับพฤติกรรมใช้แอร์ >>> ประหยัดพลังงานเห็นๆ @
หลายคนอาจคิดว่าการสร้างสภาวะให้เย็นสบายจะต้องพึ่งพาแอร์คอนดิชัน ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว สภาพแวดล้อมที่มีความเป็นธรรมชาติ มีอากาศถ่ายเทที่ดี มีลมพัดเอื่อยๆ อย่างสมำเสมอ ก็เป็นสภาวะที่ทำให้คนเรารู้สึกสบายผ่อนคลายได้ดีกว่าที่จะอยู่ในห้องที่ปรับอุณหภูมิให้สบายด้วยแอร์คอนดิชันด้วยซ้ำ เนื่องจากเป็นอากาศที่บริสุทธิ์แท้ๆ จากธรรมชาติ
สำหรับคนที่ชื่นชอบความเย็นฉ่ำของแอร์คอนดิชันและเคยชินกับการนอนหลับโดยซุกตัวลงในผ้าห่ม ก็ช่วยชาติประหยัดพลังงานได้ โดยปรับอุณหภูมิแอร์คอนดิชันไว้ที่ประมาณ 27-28 องศาเซลเซียส พร้อมๆ กับเปิดพัดลมตัวเล็กเบาๆ ส่ายไปมาในห้องก็สามารถสร้างบรรยากาศที่เย็นสบายน่านอนได้ วิธีการนี้จะช่วยประหยัดพลังงานของแอร์คอนดิชันให้ลดลงได้ถึงร้อยละ 15-20 เพราะพัดลมใช้พลัง
งานไฟฟ้าน้อยกว่า รวมทั้งทำความสะอาดและบำรุงรักษาแอร์คอนดิชันอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้เช่นเดียวกัน และทำให้อายุการใช้งานของแอร์คอนดิชันยาวนานอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นบ้านอนุรักษ์พลังงานหลังใหม่ หรือบ้านประหยัดพลังงานหลังเก่าที่ได้ปรับปรุงให้ใช้พลังงานน้อย ซึ่งแม้ว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5-10 เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านทั่วๆ ไป แต่ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นนั้นจะยังประโยชน์ให้แก่เจ้าของบ้าน ผู้อยู่อาศัยอย่างคุ้มค่าในระยะยาว เพราะนอกจากจะทำให้เจ้าของบ้านและผู้พักอาศัยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ยังส่งผลให้ภาพรวมการใช้พลังงานในภาคที่อยู่อาศัยลดลง ที่สำคัญเจ้าของบ้านก็ได้สุนทรีย์กับบรรยากาศที่ร่มรื่น เย็นสบายอารมณ์แจ่มใสเบิกบาน สมกับบทเพลงที่ว่า "บ้านเป็นวิมานของเราอย่างแท้จริง
ยังมีอีกตอนนะครับ สุดท้ายแล้ว
สำหรับผู้ที่คิดจะปรับปรุงบ้านให้มีบรรยากาศที่เย็นสบายและประหยัดพลังงาน ก็ไม่ต้องคิดหนักแล้ว การปรับปรุงบ้านหลังเดิมให้กลายเป็นบ้านประหยัดพลังงานนั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเพราะมีหลากหลายวิธีให้เลือกสรรตามความพอใจของเจ้าของบ้านเริ่มจากการจัดวางผังบริเวณพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน ให้มีประตูและหน้าต่าง ที่สามารถเปิดช่องให้มีลมและอากาศไหลเวียนภายในบ้านได้ดี เพื่อลดความร้อนสะสมและเป็นการถ่ายเทความร้อนให้ออกไปจากตัวบ้าน การปลูกต้นไม้รอบบริเวณบ้าน หรือแบ่งพื้นที่บางส่วนของบริเวณบ้านเป็นสนามหญ้า ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณรอบๆ บ้านลงได้แล้ว การปลูกต้นไม้ยังช่วยสร้างร่มเงา ทำให้เกิดการดูดซับความร้อนและแผ่นความร้อนได้ดี
อีกหนึ่งวิธีที่พบเห็นได้ทั่วไปและได้ผล ก็คือ การปลูกไม้เถาเลื้อย เพื่อบังแดดที่เปลือกอาคาร วิธีนี้นอกจากจะทำให้บ้านสวยงามแล้ว ยังทำให้บ้านร่มรื่นอีกด้วย หรือว่าจะหาอุปกรณ์บังแดด เพื่อป้องกันไม่ให้แดดส่องเข้าสู่ตัวบ้านได้โดยตรง ทำให้บ้านมีอุณหภูมิลดลง ผู้อยู่อาศัยก็จะรู้สึกสบายไปด้วย
ปรับพฤติกรรมใช้แอร์ >>> ประหยัดพลังงานเห็นๆ @
หลายคนอาจคิดว่าการสร้างสภาวะให้เย็นสบายจะต้องพึ่งพาแอร์คอนดิชัน ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว สภาพแวดล้อมที่มีความเป็นธรรมชาติ มีอากาศถ่ายเทที่ดี มีลมพัดเอื่อยๆ อย่างสมำเสมอ ก็เป็นสภาวะที่ทำให้คนเรารู้สึกสบายผ่อนคลายได้ดีกว่าที่จะอยู่ในห้องที่ปรับอุณหภูมิให้สบายด้วยแอร์คอนดิชันด้วยซ้ำ เนื่องจากเป็นอากาศที่บริสุทธิ์แท้ๆ จากธรรมชาติ
สำหรับคนที่ชื่นชอบความเย็นฉ่ำของแอร์คอนดิชันและเคยชินกับการนอนหลับโดยซุกตัวลงในผ้าห่ม ก็ช่วยชาติประหยัดพลังงานได้ โดยปรับอุณหภูมิแอร์คอนดิชันไว้ที่ประมาณ 27-28 องศาเซลเซียส พร้อมๆ กับเปิดพัดลมตัวเล็กเบาๆ ส่ายไปมาในห้องก็สามารถสร้างบรรยากาศที่เย็นสบายน่านอนได้ วิธีการนี้จะช่วยประหยัดพลังงานของแอร์คอนดิชันให้ลดลงได้ถึงร้อยละ 15-20 เพราะพัดลมใช้พลัง
งานไฟฟ้าน้อยกว่า รวมทั้งทำความสะอาดและบำรุงรักษาแอร์คอนดิชันอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้เช่นเดียวกัน และทำให้อายุการใช้งานของแอร์คอนดิชันยาวนานอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นบ้านอนุรักษ์พลังงานหลังใหม่ หรือบ้านประหยัดพลังงานหลังเก่าที่ได้ปรับปรุงให้ใช้พลังงานน้อย ซึ่งแม้ว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5-10 เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านทั่วๆ ไป แต่ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นนั้นจะยังประโยชน์ให้แก่เจ้าของบ้าน ผู้อยู่อาศัยอย่างคุ้มค่าในระยะยาว เพราะนอกจากจะทำให้เจ้าของบ้านและผู้พักอาศัยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ยังส่งผลให้ภาพรวมการใช้พลังงานในภาคที่อยู่อาศัยลดลง ที่สำคัญเจ้าของบ้านก็ได้สุนทรีย์กับบรรยากาศที่ร่มรื่น เย็นสบายอารมณ์แจ่มใสเบิกบาน สมกับบทเพลงที่ว่า "บ้านเป็นวิมานของเราอย่างแท้จริง
ยังมีอีกตอนนะครับ สุดท้ายแล้ว
บ้านอนุรักษ์พลังงาน เทรนด์ใหม่ของการอยู่อาศัยวันนี้ (ตอนที่ 2)
@ ชูนวัตกรรมลดโลกร้อน + ประหยัดพลังงานสูงสุดร้อยละ 30 @
ผลพวงจากกระแสโลกร้อนซึ่งกำลังเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงานเกิดขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านที่พักอาศัย ที่เจ้าของบ้านและผู้ออกแบบต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม เพื่อให้บ้านอยู่สบายและประหยัดพลังงาน โดยไม่ลืมที่จะนำประโยชน์จากธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบอย่างลงตัว
ล่าสุด พบว่านวัตกรรมเพื่อลดโลกร้อนที่ดูจะโดดเด่น และได้รับความนิยมนำไปประยุกต์ใช้ในโครงการที่อยู่อาศัยหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะในอาคารพักอาศัยที่สร้างใหม่ นั่นคือ การนำ Photo Cell และระบบ Smart Control มาใช้กับระบบไฟฟ้าในอาคารระบบควบคุมอัตโนมัติของไฟฟ้าแสงสว่าง พร้อมติดตั้งฉนวนผนังและหลังคา รวมทั้งระบบปรับอากาศที่ใช้น้ำยาปรับอากาศเป็นสื่อความเย็น หรือ ระบบ VRV (Variable Refrigerant Volume) มาใช้กับอาคารที่มีพื้นที่ที่ต้องใช้แอร์คอนดิชันค่อนข้างมาก ช่วยประหยัดพลังงานโดยรวมลงได้สูงสุดถึงร้อยละ 30
@ บ้านหลังเก่า ก็ประหยัดพลังงานได้ @
สำหรับเจ้าของบ้านหลังเก่าที่พักอาศัยมานานแต่มีแนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อม ต้องการให้บ้านที่อยู่อาศัยมีบรรยากาศที่อยู่สบาย และใช้พลังงานน้อย ก็สามารถปรับเปลี่ยนบ้านให้อนุรักษ์พลังงานได้โดยไม่ต้องรื้อบ้านเพื่อสร้างใหม่แต่อย่างใด เพียงแค่จัดวางผังบริเวณภายในบ้าน หรือการต่อเติมบางส่วนของบ้าน ให้มีสภาพที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้ดี ซึ่งนอกจากจะทำให้บ้านที่อยู่อาศัยมีสภาวะน่าอยู่ น่าสบายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าแล้ว ยังประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในส่วนที่ไม่จำเป็นหรือสิ้นเปลืองได้อีกด้วย ขณะเดียวกันการลดพลังงานที่ไม่จำเป็นหรือลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองลงได้ ก็ทำให้เรามีพลังงานเหลือใช้ในวันข้างหน้าได้มากขึ้น และช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง เท่ากับเป็นการยิงกระสุนนัดเดียว แต่ได้นก 3-4 ตัวเลยก็ว่าได้
พอแค่นี้ก่อนอย่าลืมอ่านต่อตอนที่ 3 นะครับ
บ้านอนุรักษ์พลังงาน เทรนด์ใหม่ของการอยู่อาศัยวันนี้ (ตอนที่ 1)
สวัสดีเพื่อนๆ ช่วงนี้รู้สึกว่าที่ไหน เขาก็พูดถึงแต่เรื่องพลังงาน ว่าแล้วช่วงนี้ก็เลยอินเทรนกับเขาบ้างเพื่อ ไม่ให้ Blog ของนายช่างเอ ตกเทรนกับชาวบ้าน จากบทความที่แล้วผมได้นำบทความเกี่ยวกับเมืองและการประหยักพลังงาน มาครั้งนี้ผมก็เลยนำบทความที่ไกล้ตัวหน่อย พอจับจ้องได้มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน ซึ่งบทความนี้ผมได้นำมาจากคอลัมน์ Green Living ของกองบรรณาธิการ ต้องขอขอบพระคุณ ณ โอกาศนี้นะครับ
"รู้หรือไม่ว่า ภาคที่อยู่อาศัยทุกวันนี้ใช้พลังงานสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากการใช้พลังงานในภาคคมนาคมขนส่งและภาคอุตสาหกรรม จากข้อมูลสำรวจการใช้พลังงานในปี พ.ศ.2550 พบว่าภาคที่อยู่อาศัยมีการใช้พลังงานมากถึงร้อยละ 20 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าใน "ระบบปรับอากาศ" (กรุงเทพฯ ถ้าไม่เปิดแอร์ร้อนได้ใจจริงๆ) ดังนั้น จึงมีการรณรงค์ให้เกิดความมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัยอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อให้ปริมาณการใช้พลังงานในภาคที่อยู่อาศัยลดลง
เทรนด์ของที่พักอาศัย ในวันนี้ จึงต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และนวัตกรรมใหม่ๆ ในการออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน "บ้านอนุรักษ์พลังงาน" จึงดูจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่กำลังต้องการหาซื้อที่พักอาศัยเป็นของตนเอง โดยพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ และการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ (คำนี้ก็ได้ยินบ่อยๆ ครับ) เพื่อสร้างบรรยากาศที่รื่นรมย์ สบาย น่าอยู่ควบคู่กับการประหยัดพลังงาน
@ ออกแบบบ้านหลังใหม่อย่างไร? ให้ประหยัดพลังงาน @
บ้านประหยัดพลังงานที่ดีต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงานแบบองค์รวม มีการนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ควบคู่ไปกับการออกแบบอาคาร และการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ทั้งวัสดุจากธรรมชาติและวัสดุที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนสูง เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในการปรับอากาศลง ทั้งยังต้องคำนึงถึงการวางผังบริเวณการจัดการสภาพแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการโครงการที่ดีเพื่อประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมด้วย
ดังนั้น หากคิดจะสร้างบ้านที่พักอาศัยหลังใหม่ให้ประหยัดพลังงาน จะต้องออกแบบโดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบหลักๆ ในเรื่องของการวางผังบริเวณงานภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของการอยู่อาศัยโดยตรง มีการเลือกใช้ระบบเปลือกอาคารและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ คือ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและสิ้นเปลืองพลังงานให้น้อยที่สุด
หากสนใจอย่าลืมอ่านต่อตอนที่ 2 นะครับ บาย....
March 13, 2010
ปรากฏการณ์เมืองสีเขียว (ECO-CITY PHENOMENA) (ตอนที่ 3)
Tianjin Eco-City, CHINA
โครงการต่อมาอยู่ในเอเชียอีกเช่นกันคราวนี้อยู่ในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่าประเทศจีน เมืองใหม่แห่งนี้มีชื่อว่า Tianjin Eco-City หรือชื่อเต็มๆ ว่า Sino-Singapore Tianjin Eco-City ซึ่งดูจากชื่อก็น่าจะพอเดากันได้ ว่าโครงการนี้เป็นผลผลิตจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลของสองประเทศพี่เบิ้มทางด้านเศรษฐกิจของเอเชียอย่างจีนและสิงคโปร์ และได้รับการพัฒนาโดย Tianjin Institute of Urban Planning and Design ของจีนร่วมกับ Urban Redevelopment Authority (URA) จากสิงคโปร์ ที่ร่วมกันพัฒนาพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ที่มีสภาพดินเค็มไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ตัวโครงการ Tianjin Eco-City จะอยู่ห่างจากศูนย์กลางของเมือง Tianjin เดิมประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากกรุงปักกิ่งประมาณ 150 กิโลเมตร เมืองใหม่ที่สร้างขึ้นนี้จะมีขนาดประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร สำหรับรองรับประชากรได้ถึง 350,000 คน ภายในเมืองประกอบด้วยที่อยู่อาศัยแหล่งงาน และแหล่งธุรกิจใจกลางเมืองที่เรียกว่า Eco-Business Park
โครงการนี้ได้ใช้โครงการเมืองใหม่ตงถาน (Dongtan) เป็นต้นแบบในการสร้างให้เมืองเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งยวดพลังงานที่ใช้ในเมืองจะมาจากหลายแหล่งทั้งพลังงานจากลม แสงอาทิตย์ และความร้อนจากดิน (Geothermal) ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานสะอาดทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีระบบหมุนเวียนน้ำที่มีประสิทธิภาพกว่า 60% ของน้ำที่ใช้สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ น้ำที่ใช้ในโครงการจะมาจากทั้งน้ำฝนและการทำน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด อาคารทุกๆ หลังภายในเมืองนี้จะได้รับการออกแบบให้มีการประหยัดพลังงาน มีการใช้กระจกสองชั้นรวมทั้งใช้วัสดุที่ช่วยประหยัดพลังงานและไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม ภายในเมืองจะถูกแบ่งออกเป็นชุมชนย่อยๆ โดยที่ในแต่ละชุมชนนั้นจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอย่างครบครัน ทั้งร้านค้า โรงเรียน คลีนิก รวมทั้งสวนสาธารณะและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งทั้งหมดถูกออกแบบให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยการเดินเท้าและทางจักรยาน เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ระบบขนส่งมวลชนหลักของเมืองนี้จะเป็นในรูปแบบของรถไฟฟ้าแบบ Light Rail Transit (LRT) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยการเดินเท้าจากทุกจุดในเมือง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์ G-GREEN WORLD โดยคุณจักรสิน น้อยไร่ภูมิ
จากหนังสือ GREEN NETWORK, DECEMBER 2009
โครงการต่อมาอยู่ในเอเชียอีกเช่นกันคราวนี้อยู่ในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่าประเทศจีน เมืองใหม่แห่งนี้มีชื่อว่า Tianjin Eco-City หรือชื่อเต็มๆ ว่า Sino-Singapore Tianjin Eco-City ซึ่งดูจากชื่อก็น่าจะพอเดากันได้ ว่าโครงการนี้เป็นผลผลิตจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลของสองประเทศพี่เบิ้มทางด้านเศรษฐกิจของเอเชียอย่างจีนและสิงคโปร์ และได้รับการพัฒนาโดย Tianjin Institute of Urban Planning and Design ของจีนร่วมกับ Urban Redevelopment Authority (URA) จากสิงคโปร์ ที่ร่วมกันพัฒนาพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ที่มีสภาพดินเค็มไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ตัวโครงการ Tianjin Eco-City จะอยู่ห่างจากศูนย์กลางของเมือง Tianjin เดิมประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากกรุงปักกิ่งประมาณ 150 กิโลเมตร เมืองใหม่ที่สร้างขึ้นนี้จะมีขนาดประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร สำหรับรองรับประชากรได้ถึง 350,000 คน ภายในเมืองประกอบด้วยที่อยู่อาศัยแหล่งงาน และแหล่งธุรกิจใจกลางเมืองที่เรียกว่า Eco-Business Park
โครงการนี้ได้ใช้โครงการเมืองใหม่ตงถาน (Dongtan) เป็นต้นแบบในการสร้างให้เมืองเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งยวดพลังงานที่ใช้ในเมืองจะมาจากหลายแหล่งทั้งพลังงานจากลม แสงอาทิตย์ และความร้อนจากดิน (Geothermal) ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานสะอาดทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีระบบหมุนเวียนน้ำที่มีประสิทธิภาพกว่า 60% ของน้ำที่ใช้สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ น้ำที่ใช้ในโครงการจะมาจากทั้งน้ำฝนและการทำน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด อาคารทุกๆ หลังภายในเมืองนี้จะได้รับการออกแบบให้มีการประหยัดพลังงาน มีการใช้กระจกสองชั้นรวมทั้งใช้วัสดุที่ช่วยประหยัดพลังงานและไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม ภายในเมืองจะถูกแบ่งออกเป็นชุมชนย่อยๆ โดยที่ในแต่ละชุมชนนั้นจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอย่างครบครัน ทั้งร้านค้า โรงเรียน คลีนิก รวมทั้งสวนสาธารณะและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งทั้งหมดถูกออกแบบให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยการเดินเท้าและทางจักรยาน เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ระบบขนส่งมวลชนหลักของเมืองนี้จะเป็นในรูปแบบของรถไฟฟ้าแบบ Light Rail Transit (LRT) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยการเดินเท้าจากทุกจุดในเมือง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์ G-GREEN WORLD โดยคุณจักรสิน น้อยไร่ภูมิ
จากหนังสือ GREEN NETWORK, DECEMBER 2009
ปรากฏการณ์เมืองสีเขียว (ECO-CITY PHENOMENA) (ตอนที่ 2)
Masdar City, UAE
Eco-City โครงการแรกที่อยากจะหยิบมานำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นโครงการที่มีชื่อว่า Masdar City ตั้งอยู่ ณ กรุงอาบูดาบี เมืองหลวงชองสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) โครงการนี้ที่ได้รับการออกแบบโดยบริษัทสถาปนิกนามกระเดื่องแห่งสหราชอาณาจักร Foster+Partners ร่วมกับ Arup บริษัทผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานวิศวกรรมและงานเทคนิค ที่ร่วมกันเนรมิตผืนทรายอันเวิ้งว้างบนพื้นที่ราว 6 ตารางกิโลเมตร ให้กลายเป็นเมืองใหม่สำหรับรองรับประชากรราว 45,000-50,00 คน ภายในเมืองจะประกอบด้วยที่พักอาศัย แหล่งงาน แหล่งธุรกิจ และสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันที่ชื่อ "มาสดาร์" ที่จะเป็นศูนย์กลางของการศึกษา การวิจัย และการค้นคิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสิ่งแวดล้อม
ด้วยแนวคิดการออกแบบและวางผังที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นที่ถิ่น ทำให้รูปแบบอาคารต่างๆ ในเมืองเป็นแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ไม่มีอาคารสูงๆ เหมือนเมืองน้องอย่างดูไบ นอกจากรูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ได้หยิบยืมมาแล้ว ผู้ออกแบบยังนำเทคนิคการประหยัดพลังงานของบ้านอาหรับโบราณมาประยุกต์ ด้วยการวางอาคารให้ชิดและเกาะกลุ่มกันเพื่อให้เงาตกกระทบของอาคารข้างเคียงช่วยกันแดด นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้แผงบังแดดเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับแสงอาทิตย์โดยตรง
จุดเด่นที่ทำให้เมืองนี้ได้รับความสนใจไปทั่วโลก คือ การเป็นเมืองที่ไม่ใช้พลังงานจากคาร์บอนใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็น The World's First Carbon-Neutral, Zero-Waste City ให้ได้ ทำให้เมืองไม่มีการปล่อยของเสียและสารเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมเลย นอกจากนี้ในการก่อสร้างยังใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ขยะเกือบทั้งหมดในเมืองนี้จะถูกหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ น้ำเสียจะผ่านกระบวนการบำบัดเป็นอย่างดีบางส่วนถูกนำกลับมาใช้ใหม่และบางส่วนถูกนำไปใช้ในการปลูกพืชพลังงาน ภายในเมืองนี้จะไม่อนุญาตให้นำรถยนต์เข้ามาผู้คนในเมืองจะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าขนาดเล็กเป็นหลัก ซึ่งจะวิ่งตามจุดต่างๆ ที่สำคัญๆ อย่างครอบคลุมทั่วทั้งเมือง การใช้ไฟฟ้าในเมืองนี้จะใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ (Solar Photorvoltaic Plant) เกือบทั้งหมด นอกนั้นอาคารหรือบ้านแต่ละหลังจะติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยตนเอง
อยากให้มีที่เมืองไทยบ้างจัง คงจะดี แต่ว่าค่าห้องแพงน่าดูเลย อย่าลืมติดตามว่าเมืองต่อไปคือที่ไหนนะครับ ใบ้ให้นิดหนึ่งคืออยู่ใน Asia เรานี่เองครับ ที่ไหนเอ่ย ????
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์ G-GREEN WORLD โดยคุณจักรสิน น้อยไร่ภูมิ
จากหนังสือ GREEN NETWORK, DECEMBER 2009
Eco-City โครงการแรกที่อยากจะหยิบมานำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นโครงการที่มีชื่อว่า Masdar City ตั้งอยู่ ณ กรุงอาบูดาบี เมืองหลวงชองสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) โครงการนี้ที่ได้รับการออกแบบโดยบริษัทสถาปนิกนามกระเดื่องแห่งสหราชอาณาจักร Foster+Partners ร่วมกับ Arup บริษัทผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานวิศวกรรมและงานเทคนิค ที่ร่วมกันเนรมิตผืนทรายอันเวิ้งว้างบนพื้นที่ราว 6 ตารางกิโลเมตร ให้กลายเป็นเมืองใหม่สำหรับรองรับประชากรราว 45,000-50,00 คน ภายในเมืองจะประกอบด้วยที่พักอาศัย แหล่งงาน แหล่งธุรกิจ และสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันที่ชื่อ "มาสดาร์" ที่จะเป็นศูนย์กลางของการศึกษา การวิจัย และการค้นคิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสิ่งแวดล้อม
ด้วยแนวคิดการออกแบบและวางผังที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นที่ถิ่น ทำให้รูปแบบอาคารต่างๆ ในเมืองเป็นแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ไม่มีอาคารสูงๆ เหมือนเมืองน้องอย่างดูไบ นอกจากรูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ได้หยิบยืมมาแล้ว ผู้ออกแบบยังนำเทคนิคการประหยัดพลังงานของบ้านอาหรับโบราณมาประยุกต์ ด้วยการวางอาคารให้ชิดและเกาะกลุ่มกันเพื่อให้เงาตกกระทบของอาคารข้างเคียงช่วยกันแดด นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้แผงบังแดดเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับแสงอาทิตย์โดยตรง
จุดเด่นที่ทำให้เมืองนี้ได้รับความสนใจไปทั่วโลก คือ การเป็นเมืองที่ไม่ใช้พลังงานจากคาร์บอนใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็น The World's First Carbon-Neutral, Zero-Waste City ให้ได้ ทำให้เมืองไม่มีการปล่อยของเสียและสารเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมเลย นอกจากนี้ในการก่อสร้างยังใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ขยะเกือบทั้งหมดในเมืองนี้จะถูกหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ น้ำเสียจะผ่านกระบวนการบำบัดเป็นอย่างดีบางส่วนถูกนำกลับมาใช้ใหม่และบางส่วนถูกนำไปใช้ในการปลูกพืชพลังงาน ภายในเมืองนี้จะไม่อนุญาตให้นำรถยนต์เข้ามาผู้คนในเมืองจะเดินทางด้วยรถไฟฟ้าขนาดเล็กเป็นหลัก ซึ่งจะวิ่งตามจุดต่างๆ ที่สำคัญๆ อย่างครอบคลุมทั่วทั้งเมือง การใช้ไฟฟ้าในเมืองนี้จะใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ (Solar Photorvoltaic Plant) เกือบทั้งหมด นอกนั้นอาคารหรือบ้านแต่ละหลังจะติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยตนเอง
อยากให้มีที่เมืองไทยบ้างจัง คงจะดี แต่ว่าค่าห้องแพงน่าดูเลย อย่าลืมติดตามว่าเมืองต่อไปคือที่ไหนนะครับ ใบ้ให้นิดหนึ่งคืออยู่ใน Asia เรานี่เองครับ ที่ไหนเอ่ย ????
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์ G-GREEN WORLD โดยคุณจักรสิน น้อยไร่ภูมิ
จากหนังสือ GREEN NETWORK, DECEMBER 2009
ปรากฏการณ์เมืองสีเขียว (ECO-CITY PHENOMENA) (ตอนที่ 1)
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมก็ไปอ่านเจอบทความนี้คิดว่าน่าสนใจมากจึงนำมาเล่าสู่เพื่อนๆ ได้อ่านกันจะได้ไม่ตกเทรนกัน
หากจะกล่าวว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังประสบกันอยู่ในทุกวันนี้นั้น มีต้นเหตุสำคัญมาจากเมือง และการบริโภคของเมืองก็คงจะไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงไปมากนัก เนื่องจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจที่อิงกับอุตสาหกรรมเป็นหลักโดยมีเมืองเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ ทำให้ภายหลังจากยุคปฏิบัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา ชุมชนเมืองได้มีการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นฐานรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม และภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วอายุคนชุมชนเมืองได้กลายเป็นศูนย์รวมของปัญหาต่างๆ มากมาย (โดยส่วนตัวแล้วผมว่าใช่แน่นอนครั) และกลายเป็นตัวการสำคัญในการสร้างความเสียหายให้แก่สภาพแวดล้อมอย่างมหาศาลทั้งจากการบริโภคพลังงานอย่างเกินพอดีของคนในเมือง การรุกล้ำพื้นที่ธรรมชาติและทำลายระบบนิเวศทางธรรมชาติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้สถานการณ์ยิ่วเลวร้ายขึ้นทุกขณะ ดังนั้น "เมือง" จึงเปรียบเสมือนศูนย์กลางของการสร้างปัญหา ดังนั้น หากจะแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่สาเหตุและต้นตอของปัญหาที่แท้จริงหนทางที่ตรงประเด็นที่สุดเห็นจะเป็นการจัดการกับเมืองและการบริโภคของเมือง
จากรูปการณ์ดังกล่าว ทำให้เมืองทั่วโลกต่างพากันนำแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการพัฒนาเมืองในหลายมิติโดยเฉพาะในการสร้างชุมชนเมืองขนาดใหญ่ จนเกิดเป็น "ปรากฏการณ์เมืองสีเขียว" ขึ้นในทั่วทุกมุมโลก ซึ่งจะสังเกตได้ว่าโครงการสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ทั่วโลก นับตั้งแต่เรื่องภาวะโลกร้อนกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แทบทุกโครงการจะต้องมีการกล่าวอ้างถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมกันจนอาจิณ Green Network ฉบับนี้เราจึงอยากที่จะนำพาทุกท่านไปเยี่ยมชมโครงการเมืองใหม่ที่มีแนวคิดทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือที่นิยมเรียกกันจนติดปากกว่า Eco-City จากทั่วทุกมุมโลก ของใครดี ของใครเจ๋ง เชิญติดตามบทความต่อไปเลยนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์ G-GREEN WORLD โดยคุณจักรสิน น้อยไร่ภูมิ
จากหนังสือ GREEN NETWORK, DECEMBER 2009
คอนกรีตแข็งตัวเร็ว (CPAC Super Fast Setting Concrete)
สวัสดีเพื่อนๆ ทุกท่านครับ ช่วงนี้ผมหายหน้าหายตัวไปนานมากครับ แต่ว่ากลับมาแต่ละครั้งก็ไม่พลาดที่จะนำความรู้ใหม่ที่หลายๆ ท่านอาจยังไม่ทราบ มาเล่าสู่กันอ่าน แต่หากท่านไหนที่ทราบแล้วและมีรายละเอียดจะเพิ่มเติมบอกกล่าวผมก็ยินดีครับ วันนี้ก็มาถึงเรื่อง "คอนกรีตแข็งตัวเร็ว (CPAC Super Fast Setting Concrete)"
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมส่วนมากจะเป็นงานซ่อมผิวจราจรคอนกรีตคืนสภาพเดิม ข้อกำหนดเกี่ยวกับคอนกรีตแข็งตัวเร็วจะกำหนดไว้ในเงื่อนไขเฉพาะของงาน และจะกำหนดเป็นความหนาของคอนกรีตที่จะเท และระยะเวลาเปิดใช้งาน ตัวอย่างเช่น ผิวจราจรคอนกรีตหนา 25 ซม. (8 ชม.) จะหมายความว่าคอนกรีตที่จะต้องเทมีความหนา 25 ซม. และหลังจากเทไปแล้วไม่เกิน 8 ชม. คอนกรีตต้องแข็งตัวและได้กำลังอัดตามที่กำหนดไว้ สามารถเปิดการจราจรได้ในตอนเช้า (ไม่อย่างนั้นหูชาแน่นอน เพราะจะโดนชาวบ้านด่า 555...) ส่วนมากจะเทตอนกลางคืนไม่ควรเทไม่เกินตีหนึ่ง หากเกินจากเวลานี้อาจทำให้คอนกรีตที่เทพัฒนากำลังอัดไม่ทัน ส่วนรายละเอียดเพิ่มนี้ผมได้มาจากของ CPAC เพื่อนๆ ลองอ่านดูนะครับ
ทุกท่านคงเคยมีประสบการณ์กับปัญหาการจราจรที่ติดขัดอย่างมากในกรุงเทพฯ ยิ่ง ถ้าถนนเส้นไหนที่ติดขัดอยู่แล้ว มีการปิดช่องจราจรบางช่องเพื่อซ่อมแซมผิวถนนด้วยละก็ ปัญหาก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำลายทั้งสุขภาพจิตของประชาชน และทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไปอย่างน่าเสียดาย ซีแพคมีความภูมิใจที่ในอดีตได้มีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหาจราจรบางส่วนด้วยการจัดส่งคอนกรีตแข็งตัวเร็วที่สามารถเปิดใช้งานได้ภายใน 24 ชม. และ 8 ชม. ตามลำดับ แต่ซีแพคมิได้หยุดนิ่งแต่เพียงแค่นั้น จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาคอนกรีตแข็งตัวเร็วอย่างต่อเนื่องจนในที่สุดได้พัฒนา CPAC Super Fast Setting Concrete ที่มีประสิทธิภาพในการให้กำลังอัดได้เร็วยิ่งขึ้น
CPAC Super Fast Setting Concrete คืออะไร
CPAC Super Fast Setting Concrete คือ คอนกรีตที่ให้กำลังอัดทรงลูกบาศก์สูงได้อย่างรวดเร็วเกิน 240 กก./ตร.ซม. ภายในเวลาเพียง 6 ชม. เหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานซ่อมแซมผิวจราจรแบบเร่งด่วนมาก หรืองานก่อสร้างถนนงานสะพานที่ต้องการเปิดใช้งานอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ
ซีแพคทำให้คอนกรีตรับกำลังอัดภายใน 6 ชม. ได้อย่างไร
ด้วยข้อจำกัดขององค์ประกอบทางเคมีในปูนซีเมนต์ Type 1 ทำให้คอนกรีตโดยทั่วไปไม่สามารถรับกำลังได้ภายใน 6 ชม. แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพยายามเอาชนะข้อจำกัดดังกล่าวซีแพคจึงได้ทุ่มเทเวลา และทรัพยากรต่างๆ ในการคิดค้น และวิจัยปูนซีเมนต์ชนิดพิเศษขึ้น จึงทำให้ CPAC Super Fast Setting Concrete สามารถพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นได้อย่างรวดเร็ว และนอกจากนั้นการออกแบบสัดส่วนผสมที่พอเหมาะทำให้ CPAC Super Fast Setting Concrete มีความสามารถเทได้สูงกว่าคอนกรีตแข็งตัวเร็วทั่วไปอีกด้วย
ประโยชน์เพิ่มเติมจากการใช้ CPAC Super Fast Setting Concrete
นอกจากสามารถให้กำลังตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วแล้ว CPAC Super Fast Setting Concrete ยังมีประโยชน์เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น1.) เพิ่มความรวดเร็ว และสะดวกในการเทเนื่องจากคอนกรีตมีค่ายุบตัวที่มากถึง 15-20 ซม. และมีค่า Slump Loss ที่นานกว่าคอนกรีตแข็งตัวเร็วทั่วไป จึงมีเวลาทำงานได้นานถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง นับจากเริ่มเท 2.)หมดปัญหาการเกิด Plastic Shrinkage Cracks การที่คอนกรีตมี Initial Setting Time แตกต่างจาก Final Setting Time เพียง 5-10 นาที ปัญหา Plastic Shrinkage Cracks เนื่องจากการสูญเสียน้ำในช่วงที่เริ่มก่อตัวจนถึงจุดที่แข็งตัวจึงหมดไป 3.)ลดเวลาการก่อสร้าง และประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่รวดเร็วขึ้น ทำให้ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดลดลง สามารถรับงานได้มากขึ้นในระยะเวลาเดียวกัน
CAPC Super Fast Setting Concrete เป็นอีกผลงานหนึ่งที่ซีแพคภาคภูมิใจที่ได้ใช้ความพยายามในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อเอาชนะข้อจำกัดทางด้านเวลา และขีดจำกัดของวัตถุดิบทำให้การก่อสร้าง หรือซ่อมแซมสามารถเสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก cpac ครับ
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมส่วนมากจะเป็นงานซ่อมผิวจราจรคอนกรีตคืนสภาพเดิม ข้อกำหนดเกี่ยวกับคอนกรีตแข็งตัวเร็วจะกำหนดไว้ในเงื่อนไขเฉพาะของงาน และจะกำหนดเป็นความหนาของคอนกรีตที่จะเท และระยะเวลาเปิดใช้งาน ตัวอย่างเช่น ผิวจราจรคอนกรีตหนา 25 ซม. (8 ชม.) จะหมายความว่าคอนกรีตที่จะต้องเทมีความหนา 25 ซม. และหลังจากเทไปแล้วไม่เกิน 8 ชม. คอนกรีตต้องแข็งตัวและได้กำลังอัดตามที่กำหนดไว้ สามารถเปิดการจราจรได้ในตอนเช้า (ไม่อย่างนั้นหูชาแน่นอน เพราะจะโดนชาวบ้านด่า 555...) ส่วนมากจะเทตอนกลางคืนไม่ควรเทไม่เกินตีหนึ่ง หากเกินจากเวลานี้อาจทำให้คอนกรีตที่เทพัฒนากำลังอัดไม่ทัน ส่วนรายละเอียดเพิ่มนี้ผมได้มาจากของ CPAC เพื่อนๆ ลองอ่านดูนะครับ
ทุกท่านคงเคยมีประสบการณ์กับปัญหาการจราจรที่ติดขัดอย่างมากในกรุงเทพฯ ยิ่ง ถ้าถนนเส้นไหนที่ติดขัดอยู่แล้ว มีการปิดช่องจราจรบางช่องเพื่อซ่อมแซมผิวถนนด้วยละก็ ปัญหาก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำลายทั้งสุขภาพจิตของประชาชน และทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไปอย่างน่าเสียดาย ซีแพคมีความภูมิใจที่ในอดีตได้มีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหาจราจรบางส่วนด้วยการจัดส่งคอนกรีตแข็งตัวเร็วที่สามารถเปิดใช้งานได้ภายใน 24 ชม. และ 8 ชม. ตามลำดับ แต่ซีแพคมิได้หยุดนิ่งแต่เพียงแค่นั้น จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาคอนกรีตแข็งตัวเร็วอย่างต่อเนื่องจนในที่สุดได้พัฒนา CPAC Super Fast Setting Concrete ที่มีประสิทธิภาพในการให้กำลังอัดได้เร็วยิ่งขึ้น
CPAC Super Fast Setting Concrete คืออะไร
CPAC Super Fast Setting Concrete คือ คอนกรีตที่ให้กำลังอัดทรงลูกบาศก์สูงได้อย่างรวดเร็วเกิน 240 กก./ตร.ซม. ภายในเวลาเพียง 6 ชม. เหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานซ่อมแซมผิวจราจรแบบเร่งด่วนมาก หรืองานก่อสร้างถนนงานสะพานที่ต้องการเปิดใช้งานอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ
ซีแพคทำให้คอนกรีตรับกำลังอัดภายใน 6 ชม. ได้อย่างไร
ด้วยข้อจำกัดขององค์ประกอบทางเคมีในปูนซีเมนต์ Type 1 ทำให้คอนกรีตโดยทั่วไปไม่สามารถรับกำลังได้ภายใน 6 ชม. แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพยายามเอาชนะข้อจำกัดดังกล่าวซีแพคจึงได้ทุ่มเทเวลา และทรัพยากรต่างๆ ในการคิดค้น และวิจัยปูนซีเมนต์ชนิดพิเศษขึ้น จึงทำให้ CPAC Super Fast Setting Concrete สามารถพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นได้อย่างรวดเร็ว และนอกจากนั้นการออกแบบสัดส่วนผสมที่พอเหมาะทำให้ CPAC Super Fast Setting Concrete มีความสามารถเทได้สูงกว่าคอนกรีตแข็งตัวเร็วทั่วไปอีกด้วย
ประโยชน์เพิ่มเติมจากการใช้ CPAC Super Fast Setting Concrete
นอกจากสามารถให้กำลังตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วแล้ว CPAC Super Fast Setting Concrete ยังมีประโยชน์เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น1.) เพิ่มความรวดเร็ว และสะดวกในการเทเนื่องจากคอนกรีตมีค่ายุบตัวที่มากถึง 15-20 ซม. และมีค่า Slump Loss ที่นานกว่าคอนกรีตแข็งตัวเร็วทั่วไป จึงมีเวลาทำงานได้นานถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง นับจากเริ่มเท 2.)หมดปัญหาการเกิด Plastic Shrinkage Cracks การที่คอนกรีตมี Initial Setting Time แตกต่างจาก Final Setting Time เพียง 5-10 นาที ปัญหา Plastic Shrinkage Cracks เนื่องจากการสูญเสียน้ำในช่วงที่เริ่มก่อตัวจนถึงจุดที่แข็งตัวจึงหมดไป 3.)ลดเวลาการก่อสร้าง และประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่รวดเร็วขึ้น ทำให้ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดลดลง สามารถรับงานได้มากขึ้นในระยะเวลาเดียวกัน
CAPC Super Fast Setting Concrete เป็นอีกผลงานหนึ่งที่ซีแพคภาคภูมิใจที่ได้ใช้ความพยายามในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อเอาชนะข้อจำกัดทางด้านเวลา และขีดจำกัดของวัตถุดิบทำให้การก่อสร้าง หรือซ่อมแซมสามารถเสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก cpac ครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)