Custom Search

December 24, 2010

การดัดแปลงทำท่อโค้งในงานตัดบรรท่อประปา ตอนที่ 3 (สุดท้าย)

และแล้วก็มาถึงบทสุดท้ายแล้วนะครับ ซึ่งหากเพื่อนๆ ได้อ่านต้นฉบับในตอนที่ 2 แล้วจะพบว่าหัวใจสำคัญคือการทำโค้งดัดแปลงนั่นเอง ความสำคัญอยู่ที่การสำรวจแนวศูนย์กลางท่อที่วางใหม่และท่อเดิมที่ทำการตัดบรรจบ รวมทั้งการพิจารณาแนวท่อที่จะเชื่อมต่อท่อทั้งสอง ดังนั้นจึงควรต้องใช้ความละเอียดมากในการสำรวจและวัดค่าต่างๆ ในสนามให้ถูกต้อง แม่นยำ ซึ่งจะมีผลทำให้การทำโค้งดัดแปลงสำหรับงานตัดบรรจบมีขนาดถูกต้องสอดคล้องกับแนวท่อที่จะเชื่อมต่อกัน

โดยทั่วไปแล้วการพิจารณาออกแนวท่อจะต้องพยายามออกแบบให้แนวมีค่ามุมเบี่ยงเบนน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามอาจพบกรณีที่มุมเบี่ยงเบนของแนวและ/หรือระดับต่อมีค่ามากได้ เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างจำกัดไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะท่อจ่ายน้ำขนาดเล็ก

นอกเหนือจากงานตัดบรรจบท่อประปาแล้ว ยังสามารถนำวิธีการทำโค้งดัดแปลงไปใช้กับงานวางท่อประปาทั่วไป เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคต่างๆ ที่กีดขวางแนว และ/หรือระดับท่อได้ และยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานวางท่อข้ามคลองเกี่ยวกับการหาตำแหน่งศูนย์กลางท่อโค้งใต้ดิน ซึ่งทราบมุมเบี่ยงเบนจากขนาดโค้งมาตรฐานแล้ว ก็สามารถกำหนดจุดกึ่งกลาง Anchorage ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับงานตอกเข็ม (ตำแหน่งของเสาเข็ม) ได้ ทำให้การดำเนินงานก่อสร้างต่อเนื่องกล่าวคืองานตอกเสาเข็มสำหรับ Anchorage ก็สามารถดำเนินการไปพร้อมกับงานตอกเสาเข็ม Abutment และงานวางท่อใต้ดินบริเวณใกล้งานวางท่อข้ามคลองได้

เพื่อนๆ สามารถ Download ต้นฉบับได้จาก "การดัดแปลงทำท่อโค้งในงานตัดบรรท่อประปา ตอนที่ 2" ครับ

การดัดแปลงทำท่อโค้งในงานตัดบรรท่อประปา ตอนที่ 2

จากบทความ "การดัดแปลงทำท่อโค้งในงานตัดบรรท่อประปา ตอนที่ 1" ที่กล่าวไว้แล้วนั้น ข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่เป็นองค์ประกอบจะมีด้วยกันทั้งหมด 5 บทด้วยกัน คือ

บทที่ 1 เทคนิคและวิธีการตัดบรรจบท่อประปา ประกอบด้วย การเตรียมงานตัดบรรจบทั่วไป, โค้งดัดแปลงสำหรับงานตัดบรรจบ

บทที่ 2 ลักษณะรูปแบบต่างๆ ของงานตัดบรรจบ แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน
รูปแบบที่ 1 ท่อประปาที่วางใหม่และท่อประปาเดิมอยู่ในแนวเดียวกัน แต่ไม่อยู่ในระดับเดียวกัน
รูปแบบที่ 2 ท่อประปาที่วางใหม่และท่อประปาเดิมอยู่ในระดับเดียวกัน แต่ไม่อยู่แนวเดียวกัน
รูปแบบที่ 3 ท่อประปาที่วางใหม่และท่อประปาเดิมไม่อยู่ในแนวและระดับเดียวกัน แต่อยู่ในระนาบเดียวกัน
รูปแบบที่ 4 ท่อประปาที่วางใหม่และท่อประปาเดิมไม่อยู่ในแนวและระดับเดียวกัน และไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน

บทที่ 3 หลักการออกแบบโค้งดัดแปลงขนาดต่างๆ เพื่อใช้ในแนวบรรจบท่อ ประกอบด้วย Geometry of the circular curve, Descriptive Geometry, การเขียนภาพ Development of a Truncated right Circular Cylinder

บทที่ 4 การเก็บข้อมูลในสนามเพื่อออกแบบโค้งดัดแปลง แบ่งออกตามรูปแบบในบทที่ 2

บทที่ 5 ตัวอย่างการออกแบบโค้งดัดแปลงเพื่อใช้งานบรรจบท่อ แบ่งออกเป็น 4 ตัวอย่างคือ การทำโค้งดัดแปลงสำหรับรูปแบบที่ 1-4

เพื่อนๆ สามารถ download ต้นฉบับจาก link ด้านล่างนะครับ
เอกสารส่วนที่ 1/4
เอกสารส่วนที่ 2/4
เอกสารส่วนที่ 3/4
เอกสารส่วนที่ 4/4

การดัดแปลงทำท่อโค้งในงานตัดบรรท่อประปา ตอนที่ 1

ดีครับเพื่อนๆ บทความนี้ถือว่ามีประโยชน์มากและตั้งใจว่าจะโพสนานแล้ว แต่ว่าไม่รู้ติดอะไรถึงยังไม่คลอดเสียที ที่ไปที่มาของบทความนี้มาจากผมได้ฟังบรรยายเกี่ยวกับ "เทคนิคการคลี่ท่อประปา" เพื่อทำโค้งในงานตัดบรรจบ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาแนวท่อที่วางใหม่และแนวท่อประเดิมที่ท่อไม่ตรงกัน (ก็ไม่ตรงกันทุกครั้งอยู่แล้วครับ) ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์และเป็นข้อมูลที่เผยแพร่ได้ จึงได้ขออนุญาตเจ้าของคือ "คุณวิสุทธิ์ ธีรพงษ์ ปัจจุบัน (2553) ท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนก่อสร้าง1 กองก่อสร้างระบบจ่ายน้ำสำนักงานประปาสาขาพญาไท,สำนักงานประปาสาขาลาดพร้าว ฝ่ายก่อสร้างระบบจ่ายน้ำภาค 1,2 การประปานครหลวง (หน.สกจ.1 กกจ.(สสญ,สสล.) ฝกจ.1,2)" หรือที่ทุกคนจะเรียกว่า "พี่วิสุทธิ์" ซึ่งก็ไม่ใด้ขัดข้องอะไรที่จะให้เผยแพร่ ซึ่งนายช่างเอจะขอสรุปเกี่ยวกับความเป็นมาของคู่มือเล่มนี้เพื่อให้เข้าใจกันก่อนนะครับ ส่วนที่เป็นต้นฉบับ ได้ทำเป็น File PDF ให้แล้ว สามารถ Download ได้

ความเป็นมา
เนื่องจากงานก่อสร้างวางท่อประปาขนาดใหญ่ (ท่อประธาน) ในเขตพื้นที่เมืองที่มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาก่อสร้าง ในขณะที่งานก่อสร้างวางท่อประปาเป็นงานที่อยู่ใต้ดิน ที่ไม่สามารถเห็นอุปสรรคของงานก่อสร้างล่วงหน้าได้ ซึ่งมักจะพบอุปสรรคของระบบสาธารณูปโภคที่เป็นส่วนของถนนด้วย เช่น มีแนวท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินกีดขวางแนววางท่อ หรือมีแนวท่อระบายน้ำข้ามถนนกีดขวางแนววางท่อ หรือแม้กระทั่งงานก่อสร้างวางท่อประปาที่ดำเนินการพร้อมกับงานก่อสร้างปรังปรุงถนนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) กรมทางหลวง หรือหน่วยงานอื่นบางหน่วย บางจุดแทบไม่มีพื้นที่ให้วางท่อประปาได้เพียงพอ เช่นบริเวณสะพานข้ามคลองต่างๆ ดังนั้นจึงเห็นว่าควรมีการเตรียมงานทางด้านเทคนิคงานวางท่อประปาให้พร้อมมากที่สุด

ซึ่งจากการทำงานเกี่ยวกับงานท่อมาเป็นเวลานานของ "พี่วิสุทธิ์" พบว่างานตัดบรรจบท่อประปาที่วางใหม่เข้ากับระบบท่อประปาเดิมเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด และมีผลกระทบต่อผุ้ใช้น้ำมากที่สุด เนื่องจากต้องมีการปิดประตูน้ำขนาดใหญ่เพื่อดำเนินการ และใช้เครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากดำเนินการตัดบรรจบดังกล่าวไม่แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด ส่วนมากมีระยะการทำงานจริงประมาณ 6 ชั่วโมงในเวลากลางคืน ก็จะทำให้ไม่สามารถเปิดประตูน้ำเพื่อจ่ายน้ำได้ ซึ่งจะมีผลทำให้ประชาชนขาดแคลนน้ำ รวมทั้งปัญหาการจราจรที่ติดขัดในช่วงเวลาเช้าของวันทำงานในบริเวณพื้นที่ของงานตัดบรรจบ ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อเนื่องไปที่บริเวณอื่นเป็นลูกโซ่ไปด้วย

ด้วยเหตุที่เห็นปัญหาความยุ่งยากที่เกิดขึ้น เนื่องจากงานตัดบรรจบท่อประปานั้น "พี่วิสุทธิ์" จึงได้เรียบเรียงเรื่องเทคนิคและวิธีการตัดบรรจบท่อประปา เพื่อหวังว่าจะสามารถทำให้งานตัดบรรจบท่อประปาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้น้ำและผู้ใช้ถนนน้อยที่สุด รวมทั้งสามารถนำเทคนิคการทำโค้งดัดแปลงไปใช้แก้ใขปัญหางานวางท่อที่พบอุปสรรคกีดขวาง หรือระดับท่อประปาที่จะวางอันเป็นผลดีต่อระบบท่อประปาต่อไปด้วย

ในตอนนี้ผมขอจบไว้แค่นี้ก่อน อย่าลืมติดตาม "การดัดแปลงทำท่อโค้งในงานตัดบรรท่อประปา ตอนที่ 2" นะครับ

December 19, 2010

สามทางผ่าสำหรับท่อเหล็กเหนียว (Tapping Sleeve Stell Pipe)

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ นายช่างเอ จะนำความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานตัดบรรจบท่อประปาเดิมโดยวิธีใช้สามทางผ่าสำหรับท่อเหล็กเหนียว (Tapping Sleeve Stell Pipe) มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันเนื่องจากวิธีนี้เป็นหนึ่งในงานตัดบรรจบที่ในช่วงหลังมานี้จะใช้มากขึ้น เนื่องมาจากหลายๆ สาเหตุซึ่ง นายช่างเอ จะไม่กล่าวถึงในส่วนนี้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันแบบง่ายๆ ก่อนนะว่า "สามทางผ่าสำหรับท่อเหล็กเหนียว" คืออะไร สามทางผ่าสำหรับท่อเหล็กเหนียว ประกอบด้วยสามทางเหล็กเหนียว 2 ชิ้น ซึ่งจะตัดแบ่งกันในระนาบแนวดิ่ง (จากบนลงล่าง) โดยมีการซ่อมสีและวัสดุเคลือบให้ใด้มาตรฐานตามที่กำหนดทุกอย่าง การใช้งานจะนำ 2 ชิ้นส่วนประกอบเข้าด้วยกันให้แนบ ติดกับท่อประปาเดิมจากนั้นจะเชื่อมทุกจุดที่เป็นขอบระหว่างสามทางผ่าฯ และท่อประปาเดิม หลังจากเชื่อมเสร็จ จะซ่อมผิวรอยเชื่อมตามข้อกำหนด ในวันที่ตัดบรรจบจริง เพียงแต่ใช้แก็สเป่าผิวท่อเดิม ในช่องท่อแยกที่ต่อออก เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยไม่ต้องรอสูบน้ำให้แห้งก่อน เพราะส่วนมากอุปกรณ์ที่ประกอบต่อจากสามทางผ่าจะเป็นประตูน้ำ (Gate Valve) และต่อด้วยหน้าจาน (Flange) หากเพื่อนๆ ยังสงสัยก็ดูภาพ และ Drawing ประกอบนะครับ ส่วนสภาพการทำงานจริงในสนาม ก็ดูคลิปแล้วกันว่า น่าจะลำบากขนาดใหน จากข้างต้นหากทุกอย่างราบอื่นจะถือว่าเป็นวิธีตัดบรรจบที่ดี แต่หากว่าทุกอย่างก็ต้องมีข้อด้อยในตัวเองจริงใหม เท่าที่นายช่างเอ สังเกตเห็นจากงานที่ควบคุมมา 2-3 งานพอจะสรุปข้อด้อยได้ดังนี้ (เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ) 1. คนที่เป่าแก็สตัดผิวท่อเดิมต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์มาก่อนค่อนข้าง เพราะต้องเจอกับน้ำจากท่อที่ฉีดออกมาตลอดเวลา เพราะการเลื่อนหัวแก็สจากจุดที่เป่าได้ต้องแน่ใจว่าผิวท่อได้ขาดดีแล้ว หากไม่ขาดปัญหาตามมาแน่ ข้อนี้สำคัญมากมาก ใช่ว่าจะต้องที่ไหนมาก็ได้ 2. เครื่องสูบน้ำต้องมีอย่างมากพอ (ต้องมากพอจริงๆ ถ้าเกินยิ่งดี) เพราะต้องสูบน้ำขึ้นจากบ่อเพื่อระบายให้ทัน ไม่ให้น้ำท่วมบ่อตัดบรรจบ 3. หากเป็นงานที่ต้องทำกลางคืนจำเป็นอย่างยิ่ง แก็สและลม ต้องเตรียมให้พอและเผื่อไว้ด้วย เพราะหากหมดกลางคันคงดูไม่จืดแน่ ลองชมสภาพการทำงานในสนามจาก วีดีโอ ดูนะครับ หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ติดต่อมาทางเมลล์ ได้นะนะครับที่ Adisak.khumbunruang@gmail.com หรือ adisak.kh@hotmail.com สำหรับวันนี้ก็ บาย :)

December 16, 2010

Tapping With COSMO Work Under Pressure and COSMO Inserting

ดีครับเพื่อนทุกคน จริงๆ แล้วบทความนี้ นายช่างเอตั้งใจจะนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ทราบนานแล้ว แต่อย่างว่าเพิ่งจะคลอดได้ (มัวทำหลายอย่างอยู่) ที่มาของบทความนี้ก็คือ เนื่องจากงานก่อสร้างทุกสัญญา ของที่ทำงานนายช่างเอจำเป็นต้องต่อท่อที่วางใหม่เข้ากับท่อที่วางเก่า (หรือที่เรียกอีกอย่างว่า "งานตัดบรรจบ") และนั่นคือที่มาของปัญหาทุกครั้งซึ่งปัญหาใหญ่สุดคือต้องหยุดจ่ายน้ำเป็นการชั่วคราว ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก หากต่อเนื่องจากปัญหาดังกล่าวได้มีผู้พยายามหลายเจ้าที่จะพยายามเอาชนะปัญหานี้ กล่าวคือหาวิธีที่ทำให้งานตัดบรรจบ ไม่ต้องหยุดจ่ายน้ำ 555. หากทำได้จะวิเศษเป็นอย่างยิ่ง แล้วค่าใช้จ่ายละคุ้มค่ากันหรือเปล่า แต่วันนี้จะยังไม่กล่าวถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะนำเสนอให้ทราบเท่านั้นว่ามีวิธีอะไรบ้าง อาจจำเป็นต้องมี 2-3 บทความนะครับแล้วแต่ความเหมาะสม

"งานตัดบรรจบโดยไม่ต้องหยุดระบบต่างๆ ภายในท่อ" มีชื่อเรียกหลากหลายครับ เช่น Hot tapping, Wet tapping, Pressure tapping ซึ่งแต่ละคำจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่รวมๆ แล้วก็คืออย่างเดียวกันครับ โดยวันนี้ นายช่างเอ จะนำเสนอวิธีของ Cosmo-Koki ซึ่งเป็นบริษัทที่มาจากญี่ปุ่น และเป็นอันดับต้นๆ ที่เป็นผู้นำในวิทยาการด้านนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก cosmo-koki มากครับ ผมจะนำข้อมูลที่ได้จากการเข้ารับการสัมมนามาลงให้เพื่อนๆ เลยนะครับเพื่อป้องการคลาดเคลื่อน เพื่อนๆ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
cosmo-koki