วันนี้ นายช่างเอ จะขอเล่าเรื่องที่ได้ไปเยี่ยมชมบริษัท สยามคาสท์ไออ้อนเวอร์คส์ จำกัด (SCI) ในส่วนที่ตั้งของโรงงาน ที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งทราบความคร่าวๆ ว่าโรงงานแห่งนี้เป็นที่ผลิตประตูน้ำชั้นนำที่ใช้ในงานประปาทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงที่ทำงานของนายช่างเอก็ใช้อุปกรณ์จากที่นี่ด้วย แล้ว..เกี่ยวกันยังไงกับการซ่อมประตูน้ำลิ้นปีกผีเสื้อ (BV) สงสันกันแล้วใช่ใหมละ จะขออธิบายให้ทราบคร่าวๆ ดังนี้
เนื่องจากการประปานครหลวงมีโครงการเปลี่ยนประตูน้ำลิ้นปีกผีเสื้อ (BV) หลายแห่ง ที่ไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่ และเมื่อเปลี่ยนแล้ว ของเก่าที่ยกขึ้นมาก็ต้องมีการตรวจสอบเพื่อประเมินว่าสามารถที่จะซ่อมเพื่อนำกลับมาใช้งานได้หรือไม่ จึงเป็นที่มาของการไปดูงานครั้งนี้ ถือว่าเป้นประโยชน์อย่างมากได้เห็น BV เก่าที่ผ่านการใช้งานมานานว่ามีสภาพยังไง ฺBV ใหม่ที่กำลังจะประกอบ และที่ประกอบแล้วเสร็จเพื่อเตรียมส่งมอบให้ลูกค้า เลยแอบเก็บภาพมาฝากเพื่อนๆ ด้วยครับ
ที่นี่เองทำให้ นายช่างเอ เพิ่งทราบว่าประตูน้ำที่ใช้กันในปัจจุบันมีหลากหลายชนิดสรุปได้ว่าจำแนกได้ดังนี้
1. Gate Valve (GV)มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยต่างกันเช่น ประตูน้ำลิ้นชัก ประตูน้ำลิ้นเกต เป็นประตูน้ำทั่วไปที่ใช้กันเพราะใช้งานง่าย การบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก
2. Butterfly valves (BV) มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยคือ ประตูน้ำลิ้นปีกผีเสื้อ มีกลไกลการทำงานเพิ่มขึ้นจาก GV มีจำนวนรอบในการเปิด-ปิด มาก บางแห่งจึงมีการใส่เกียร์เพื่อทดเฟือง เพื่อให้จำนวนรอบน้อยลง
3. Check Valves (CV) เป็นประตูน้ำที่ให้น้ำไหลผ่านทางเดียว มีลิ้นป้องกันน้ำไหลย้อนกลับเพื่อป้องกัน "ฆ้อนน้ำ" (Water Hammer) ส่วนมากจะติดตั้งใกล้กันกับปั้มน้ำหรือตำแหน่งที่มีอุปกรณ์สำคัญ (ส่วนตำแหน่งอื่นไม่แน่ใจ)
4. AIR VALVES (AV) มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยคือ ประตูระบายอากาศ เนื่องในท่อเป็นระบบปิด บางครั้งหากมีอากาศเกิดขึ้น อากาศจะไหลออกทาง AV นี้เอง
5. Knife Gate Valves ทำงานเหมือน Gate Valve (GV) ในข้อ 1 แต่ต่างกันตรงที่ลิ้นปิด-เปิดจะเป็นอลูมีเนียมแทน เหมาะสำหรับการติดตั้งบนดิน
6. Sluice Gate Valves/Penstock อันนี้ นายช่างเอ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเขาใช้ยังไง กับอะไร (ลืมถาม) หากใครทราบบอกด้วยนะครับ
ยังมีอุปกรณ์ต่างๆ อีกมากมาย หากเพื่อนๆ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่
บริษัท สยามคาสท์ไออ้อนเวอร์คส์ จำกัด (SCI Valve) โรงงาน โทร.66-034-829-200
หรือที่ http://www.scivalve.com/
ภาพ Gear Box ของประตูน้ำลิ้นปีกผีเสื้อที่รื้อขึ้นมา (สภาพหลังการใช้งาน)
ภาพ Gate Valve ชนิดที่มี Bypass ส่วนมากใช้ที่ต่างประเทศ
ภาพ Gate Valve ชนิดที่มีชิ้นชักเป็นโลหะ
ภาพ Gate Valve ชนิดที่มีชิ้นชักเป็นยาง
Custom Search
August 22, 2010
August 21, 2010
สะพานคนเดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สกายวอล์ค)
"ฝนตกดู๋ เป็นจังได๋แน่น้อ" นายช่างเอขอกล่าวสวัสดีทุกท่านนะครับ วันนี้มีเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับคนกรุงเทพฯ (ของคนเมืองบางกอก เขาดอก) คือ กทม. เขามีโครงการ และเห็นว่ามีมาตั้งนานแล้วนะ เพิ่งจะนำมาปัดผุ่นกันใหม่อีกครั้ง ก็คือโครงการ "สะพานคนเดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา หรือ สกายวอล์ค" แต่ว่านายช่างเอ เห็นบางคนเขาเรียกว่า “แบงคอก อาย์ โรยัล ริงค์” (Bangkok Eye Royal Ring :BERR) ไม่แน่ใจว่าเป็นโครงการเดียวกันหรือเปล่า หากใครมีข้อมูลมากกว่านี้บอกด้วยแล้วกันนะ
โดยทาง กทม. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ ให้ข้อมูลในเบื้องต้นว่า "สะพานคนเดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา หรือ สกายวอล์ค" แนวความคิดโครงการสร้างทางเดินลอยฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาศิริราช ซึ่งจะเป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2554 ที่ กทม.จะจัดทำเป็นโครงการขึ้น ว่า บริเวณที่ กทม.จะใช้ก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าดังกล่าวจึงอยู่ที่ท่าเรือข้ามฟากวังหลัง (ศิริราช)-ท่าพระจันทร์ เนื่องจากท่าเรือดังกล่าวมีผู้ใช้บริการเรือข้ามฟากจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 50,000-60,000 คนต่อวัน ซึ่งการใช้บริการเรือข้ามฟากยังคงมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอยู่ เช่น ฝนตกหนัก พายุเข้า บางครั้งจอดเรือไม่สนิทโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนที่คนใช้บริการเกินจำนวน ก็อาจทำโป๊ะล้มเหมือนในอดีตได้ ดังนั้น จึงมีแนวความคิดในการสร้างทางเดินลอยฟ้าดังกล่าวขึ้นโดยมีความยาว 300 เมตร กว้าง 10 เมตร สูงจากแม่น้ำเจ้าพระยาในระดับมาตรฐานของการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำทั่วไป คือ 5.50 เมตรหรือสูงประมาณตึกชั้น 2 มีรูปแบบเป็นทางเดินไฟฟ้าแบบเลื่อนได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ได้เป็นตัวเลือกใช้ในการเดินทางรวมถึงใช้ในการพักผ่อนอีกด้วยโดยทางเลื่อนไฟฟ้าจะอยู่ตรงกลางมีทางเดินสำหรับบุคคลทั่วไปอยู่ทั้ง 2 ข้างรวมถึงมีเลนจักรยานให้อีกด้วยซึ่งเป็นการสานต่อแนวความคิดของผู้ว่าฯ กทม.ในการสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน และที่สำคัญ เป็นการสนองพระราชดำรัสในการสร้างกรุงเทพฯเป็นเมืองสวรรค์อีกด้วย
สำหรับตัวทางเดินลอยฟ้าจะไม่มีการสร้างบดบัดทัศนียภาพของเกาะรัตนโกสินทร์ โดยจะออกแบบให้สอดคล้องกับตัวเมืองเก่า ทั้งนี้ สำนักการโยธา (สนย.) จะศึกษาระบบต่างๆ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์ของประชาชนในพื้นที่ ผู้ใช้บริการเรือข้ามฟาก ซึ่งโครงการนี้จะไม่มีการเวนคืนที่ดิน โดยคาดว่า จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 800-1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม โครงนี้จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อทัศนียภาพ และคิดว่า คณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์จะเห็นชอบในโครงการนี้เพราะกทม.ได้ทำประโยชน์ให้กับประชาชน ซึ่งเป็น 1 ใน 16 โครงการขนาดใหญ่เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา วันที่ 5 ธ.ค. 2554
รออีกหน่อยนะครับเพื่อนๆ หากก่อสร้างเสร็จ นายช่างเอ ต้องขอไปเดินผ่านให้ได้ แล้วจะมาเล่าให้ฟังอีก
Subscribe to:
Posts (Atom)